Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17467
Title: การผลิตก๊าซชีวภาพจากกากตะกอนน้ำเสียโรงงานผลิตกระดาษกล่องขาวเคลือบมัน
Other Titles: Biogas production from wastewater sludge of coated duplex board factory
Authors: กนิษฐา วิมลรัตน์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: orathai.c@chula.ac.th
Subjects: กากตะกอนน้ำเสีย
น้ำเสีย -- การบำบัด
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
พลังงานทดแทน
ก๊าซชีวภาพ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับสภาพเบื้องต้นกากตะกอนน้ำเสียโรงงานผลิตกระดาษกล่องขาวเคลือบมันต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยระบบถังกวนสมบูรณ์ที่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้ออกซิเจนปริมาณร้อยละ 40 ของปริมาตรถังหมัก ทั้งนี้กำหนดให้มีค่าปริมาณของแข็งทั้งหมดร้อยละ 4 ปรับสภาพเบื้องต้นกากตะกอนเยื่อกระดาษด้วยการให้ความร้อน การใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และการผสมกับขยะเศษอาหารในอัตราส่วนต่างๆ จากผลการทดลองพบว่ากากตะกอนเยื่อกระดาษที่ไม่ผ่านการปรับสภาพเบื้องต้นผลิตก๊าซชีวภาพสะสมได้ 0.091 ลิตร/กรัมของแข็งระเหยทั้งหมด และเมื่อนำกากตะกอนเยื่อกระดาษมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 125 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 30 นาที แช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้นร้อยละ 2 ระยะเวลา 48 ชั่วโมง และทั้งปรับด้วยการให้ความร้อนและแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์พบว่ากากตะกอนเยื่อกระดาษที่ปรับสภาพด้วยความร้อนและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์สามารถผลิตก๊าซชีวภาพสะสมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.87 คิดเป็นอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพสะสมเท่ากับ 0.181 ลิตร/กรัมของแข็งระเหยทั้งหมด แต่พบว่า ก๊าซชีวภาพที่ได้มีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนเพียงร้อยละ 39.37 การทดลองแปรผันอัตราส่วนกากตะกอนเยื่อกระดาษต่อขยะเศษอาหารตั้งแต่ 1:1 ถึง 1:4 พบว่าที่อัตราส่วนเท่ากับ 1:1 สามารถผลิตก๊าซชีวภาพสะสมเท่ากับ 0.121 ลิตร/กรัมของแข็งระเหยง่ายทั้งหมด ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนมากขึ้นเท่ากับร้อยละ 69.99 นอกจากนี้การใช้กากตะกอน เยื่อกระดาษที่ปรับสภาพด้วยความร้อนและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์พร้อมผสมกับขยะเศษอาหาร ในอัตราส่วนกากตะกอนเยื่อกระดาษต่อขยะเศษอาหารเท่ากับ 1:1 พบว่าสามารถผลิตก๊าซชีวภาพสะสมมากขึ้น 0.186 ลิตร/กรัมของแข็งระเหยทั้งหมด ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนมากที่สุด ร้อยละ 63.33
Other Abstract: This research aimed to the study efficiency of biogas generation from Wastewater Sludge of Coated Duplex Board Factory which was mixed in batch rector-Continuous Stirred Tank Reactor (CSTR). The chosen ratio of seed from anaerobic wastewater treatment was 40% by volume of reactor. Then final concentration of total solid of mixture which was pretreated with heat was adjusted to 4%. To achieve this study, the investigation was planned into 4 experiments. Experiment 1, studied efficiency of biogas generation from only Wastewater Sludge. The results showed that the maximum biogas production was 0.091 L/gTVS. Experiment 2, studied fining state at the beginning Wastewater Sludge by heating at 125๐C (30 minutes) and fined the state at the beginning with NaOH 2% of concentration (48 hours) before experience. The results of Wastewater Sludge that change fining state with NaOH and heat showed that high biogas production of 0.181 L/gTVS. However, Wastewater Sludge that changed fining state with NaOH increased methane to 45.23%. Experiment 3, ratio of mixture between wastewater sludge and food of Wastewater Sludge were varied from 1:1 to 1:4 (by weight). The results showed that the optimum ratio of wastewater sludge : food waste was 1:1 and produced high biogas, the value was 0.121 L/gTVS and increased methane to 69.99%. Last experiment, compared with condition which was appropriate in biogas generation from Wastewater Sludge by changing fining state with heat and NaOH and mixed food waste at 1:1. The results showed that the maximum biogas production was achieved at 0.186 L/gTVS and increased methane to 63.33%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17467
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.816
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.816
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanittha_wi.pdf19.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.