Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17472
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยชน โลว์เจริญกูล-
dc.contributor.advisorสมพงษ์ สุวรรณวลัยกร-
dc.contributor.authorณัฐนิช ลิมปิสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-07T10:54:54Z-
dc.date.available2012-03-07T10:54:54Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17472-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractที่มา ปัจจุบันนี้มีข้อมูลมากขึ้นที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคลมชักมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนมากกว่าคนปกติ ซึ่งเป็นความเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสกระดูกหักมากขึ้น และยังมีข้อมูลจากต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้ยากันชักชนิดต่างๆ ว่าอาจทำให้มวลกระดูกลดลง แต่ข้อมูลในประเทศไทยยังมีจำกัด วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในผู้ป่วยโรคลมชักไทยทั้งหมด 351 ราย ที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยหาความชุกของการเกิดภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน โดยการวัดมวลกระดูก โดยวิธี dual-energy X-ray absorbtiometry (DXA) ที่ตำแหน่งกระดูกสันหลัง กระดูกต้นขา และกระดูกสะโพก และวัดระดับแคลเซียม, ฟอสเฟต, อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส, พาราธัยรอยด์ฮอร์โมน และวิตามินดีในเลือด ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นเพศชายอายุน้อยกว่า 50 ปี และเพศหญิงก่อนหมดประจำเดือน จำนวน 316 ราย(เพศชาย 149 ราย, เพศหญิง 167 ราย มีอายุระหว่าง 15-54 ปี และผู้ป่วยเพศชายอายุตั้งแต่ 50 ปีและเพศหญิงหลังหมดประจำเดือน จำนวน 35 ราย (เพศชาย 12 ราย, เพศหญิง 23 ราย) มีอายุระหว่าง 39-76 ปี พบความชุกของการมีความหนาแน่นของกระดูกต่ำในผู้ป่วยเพศชายอายุน้อย และเพศหญิงก่อนหมดประจำเดือน 11.7% โดยที่ดัชนีมวลกาย การมีอายุที่เริ่มชักน้อยกว่า 20 ปี ระดับพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน และระดับวิตามินดี เป็นปัจจัยพยากรณ์ของมวลกระดูกที่น้อยที่สุดของผู้ป่วย ในกลุ่มผู้ป่วยเพศชายอายุมาก และเพศหญิงหลังหมดประจำเดือนมีความชุกของการเกิดกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนเท่ากับ 62.9% และ 17.1% ตามลำดับ โดยมีดัชนีมวลกายและอายุของผู้ป่วยเป็นปัจจัยพยากรณ์ของมวลกระดูกที่ต่ำที่สุด สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคลมชักในประเทศไทยก็พบว่ามีการผลข้างเคียงต่อกระดูก ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักตั้งแต่อายุน้อยกว่า 20 ปี รวมทั้งผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอายุมาก ควรได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคกระดูกพรุนen
dc.description.abstractalternativeBackground – Currently, there are substantial evidence that show the higher prevalence of osteopenia and osteoporosis in epileptic patients. Osteoporosis increases the risk of fracture in these patients. Also, there is more evidence of antiepileptic drugs which associated with bone mass reduction from Western and some Asian countries. However, the information is limited in Thai epileptic patients. Methods – This study was a cross-sectional descriptive study which included 351 ambulatory epileptic patients. The prevalence of osteopenia and osteoporosis was evaluated by bone mineral density (BMD) measurement using the dual-energy X-ray absorbtiometry (DXA) of the lumbar spine, femoral neck and total hip. Blood chemistry was obtained for calcium, phosphate, alkaline phosphatase, intact parathyroid hormone (iPTH) and 25-OHD measurement. Results – Subjects were 316 young adults (149/316 males <50 years and 167/316 premenopausal females) age 15-54 years, and 35 males >50 years (12/35) and postmenopausal females (23/35) age 39-76 years. The prevalence of lower than expected BMD in young adult was 11.7%. The patient’s BMI, age at the onset of epilepsy younger than 20 years, iPTH level and 25-OHD level were the predictors of the minimal Z-score. The prevalence of osteopenia and osteoporosis were 62.9% and 17.1% in males > 50 years and postmenopausal females, respectively. The patient’s BMI and their age were the predictors of the minimal T-score in this group. Conclusion - Thai epileptic patients also carry higher risk for adverse effect on bone. The high risk patients especially ones with younger age at the onset as well as elderly patients should be screened for osteoporosisen
dc.format.extent2769821 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.343-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectลมบ้าหมูen
dc.subjectกระดูกพรุนen
dc.titleการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้ป่วยโรคลมชักไทยที่กินยากันชักระยะยาวen
dc.title.alternativeOsteoporosis in Thai epileptic patients with long term antiepileptic drugs therapyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfmedcle@md2.md.chula.ac.th-
dc.email.advisorsuwansp@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.343-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattanit_li.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.