Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17475
Title: การตายของเด็กในประเทศไทย
Other Titles: Child mortality in Thailand
Authors: พัชรี บุญแก้ว
Advisors: สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เด็ก -- การตาย
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ -- ไทย
ไทย -- สถิติชีพ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และอนามัย กับการตายของเด็ก โดยข้อมูลจากโครงการสำรวจภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะการตาย และการวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 ดำเนินการวิจัยโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการหาค่าสัดส่วนการตายของเด็กตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี, 3 ปีและ 5 ปีตามลำดับ ด้วยวิธีการคำนวณซึ่งคิดค้นโดย Professor William Brass แต่เพื่อให้การวิเคราะห์สัดส่วนการตายของเด็กตามลักษณะเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และอนามัยมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงเสนอเฉพาะค่าสัดส่วนการตายของเด็กโดยเฉลี่ยในช่วงอายุตั้งแต่เกิดจนถึง 3 ปี (0-3 ปี) ซึ่งผลของการศึกษามีดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า เด็กในเขตชนบทที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีคะแนนสินค้าบริโภคประเภทถาวรสูงกว่า มีสัดส่วนการตายต่ำกว่าเด็กที่อยู่ในครัวเรือน ซึ่งมีคะแนนสินค้าบริโภคประเภทถาวรต่ำกว่า ในขณะเดียวกันเด็กที่มีบิดาซึ่งมิได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีสัดส่วนการตายต่ำกว่าเด็กที่มีบิดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนั้นพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างกรรมสิทธิ์ของที่ดินและสัดส่วนการตายของเด็กไม่ได้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ บิดาที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเลยมีสัดส่วนการตายของเด็กต่ำที่สุด สำหรับในเขตเมืองพบว่าเด็กที่มีบิดาซึ่งทำงานใช้วิชาชีพ หรือ ทำการค้าขาย มีสัดส่วนการตายน้อยกว่าเด็กที่มีบิดาซึ่งประกอบอาชีพใช้แรงงาน ปัจจัยด้านสังคม ในเขตชนบททั้งบิดา และมารดาที่มีการศึกษาระดับป. 4 ขึ้นไปมีเด็กตายในสัดส่วนที่ต่ำกว่าบิดาและมารดาที่มีการศึกษาต่ำกว่าป. 4 อย่างเด่นชัด สำหรับมารดาที่ไม่ต้องทำงานทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองมีเด็กตายในสัดส่วนต่ำกว่ามารดาที่ต้องทำงาน ปัจจัยด้านประชากร สำหรับมารดาในเขตเมืองที่ให้บุตรดื่มนมมีเด็กตายในสัดส่วนที่ต่ำกว่ามารดาที่ไม่ให้บุตรดื่มนม แต่การศึกษาครั้งนี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าระยะเวลาที่ให้นมบุตรจะมีผลกระทบต่อสัดส่วนการตายของเด็ก ปัจจัยด้านอนามัย ในเขตชนบทครัวเรือนที่ใช้ส้วมแบบปัจจุบันและมารดาที่มีแบบแผนการคลอดแบบปัจจุบัน จะมีสัดส่วนการตายของเด็กต่ำกว่าครัวเรือนที่ใช้ส้วมแบบดั้งเดิมหรือมารดาที่มีแบบแผนการคลอดแบบดั้งเดิม ส่วนแบบแผนการใช้น้ำดื่มนั้นพบว่า เด็กที่อยู่ในครัวเรือน ซึ่งใช้น้ำดื่มแบบปัจจุบันมีสัดส่วนการตายสูงกว่าเด็กที่ใช้น้ำดื่มแบบดั้งเดิม
Other Abstract: The purpose of this study is to examine the association between socio-economic, demographic and sanitary factors and child mortality. The data used in this analysis was obtained from “The National Survey of Fertility, Mortality and Family Planning in Thailand 1979” carried out by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University. The Brass technique was used to obtain child mortality rates. However, 3q0 values presented in this study are the average values of 2q0, 3q0 and 5q0. The results of the analysis are as follows. As far as economic factors are concerned, it was found that in rural areas children belonged to fathers who had higher scores for the ownership of consumer durable goods and who were not agricultural workers experienced lower child mortality. However, the relationship between land ownership and child mortality indicated an erratic pattern i.e. fathers who did not own any land had lowest child mortality, whereas those who owned 1-15 rai of land had higher child mortality than those who owned 16 rai or more of land. In urban areas, fathers who were professional workers or engaged in sales had lower child mortality than those who were skilled and unskilled manual workers. With respect to social determinants, father’s and mother’s education exert an influence on child mortality, i.e. fathers and mothers in rural areas who finished 4 years or more of schooling had lower child mortality than those who attained less than 4 years of education. The results also revealed that children of non-working mothers had higher chances of survival than children of working mothers in both rural and urban areas. For demographic factors, it was found that urban mothers who had breast – fed their children had lower child mortality than those who did not. Nevertheless, the data did not show that duration of breast feeding had an impact on child mortality. It was also found that households having flush or water seal type of latrines and mothers who had their children be delivered by medical personnel experienced lower child mortality. However, types of drinking water did not show an effect on the survival of children.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17475
ISBN: 9745669679
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_Bo_front.pdf358.28 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Bo_ch1.pdf421.52 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Bo_ch2.pdf467.43 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Bo_ch3.pdf527.24 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Bo_ch4.pdf264.68 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Bo_back.pdf501.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.