Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17542
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ญพักตร์ อุทิศ | - |
dc.contributor.author | นันทนา สุขสมนิรันดร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-09T15:08:45Z | - |
dc.date.available | 2012-03-09T15:08:45Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17542 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)ศึกษาคุณภาพชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรได้แก่ เพศ อายุที่เริ่มป่วยครั้งแรก ระยะเวลาการเจ็บป่วย จำนวนครั้งของการป่วยในระยะซึมเศร้า จำนวนครั้งของการป่วยในระยะแมเนีย ประเภทของโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว การใช้สารเสพติด อาการซึมเศร้า และอาการแมเนียกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 140 คน ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ ตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดอาการซึมเศร้า 3) แบบวัดอาการแมเนีย และ 4) แบบวัดคุณภาพชีวิต เครื่องมือทุกชุดได้ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และเครื่องมือ 3 ชุดหลังมีค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73, .79 และ .81 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ([ค่าเฉลี่ย] = 89.04) และมีคุณภาพชีวิตรายด้านทุกองค์ประกอบย่อยในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านร่างกาย ([ค่าเฉลี่ย] = 24.12) ด้านจิตใจ ([ค่าเฉลี่ย] = 20.34) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ([ค่าเฉลี่ย] = 10.87) และด้านสิ่งแวดล้อม ([ค่าเฉลี่ย] = 28.19) 2. เพศ อายุที่เริ่มป่วยครั้งแรก ระยะเวลาการเจ็บป่วย จำนวนครั้งของการป่วยในระยะซึมเศร้า จำนวนครั้งของการป่วยในระยะแมเนีย ประเภทของโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว และการใช้สารเสพติด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. อาการซึมเศร้าและอาการแมเนีย มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = -.62 และ .37 ตามลำดับ) | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this descriptive research were to study: 1) quality of life of patient with bipolar disorder and 2) the relationships between selected factors including gender, age of onset, duration of illness, number of depressive episode, number of manic episode, type of patient with bipolar disorder, substance abuse, depressive symptoms and manic symptoms with quality of life. A total of 140 subjects, who met the inclusion criteria, was accidentally sampled from patients with bipolar disorder who sought treatment at outpatient department of Psychiatry in Sritanya and Ramathibodi hospital. The research instruments were demographic questionnaires, Montgomery Asberg Depression Rating Scale (MADRS), Thai Mania Rating Scale (TMRS) and WHOQOL - BRIEF - THAI. All instruments were tested for content validity and reliability. The Cronbach’s alpha coefficient reliability of the three latter instruments were .73, .79 and .81 respectively. Statistic technique utilized in data analysis were frequency, percentage, standard deviation, mean, Point biserial correlation and Pearson’s product moment correlation Major findings of this study were as follows : 1. Bipolar patients had score on overall quality of life in the moderate level ( [X-bar] = 89.04). In addition, all subscales of quality of life including physical domain, psychological domain, social relation domain and environmental domain were in the moderate level ([X-bar] = 24.12, [X-bar] = 20.34, [X-bar] = 10.87 and [X-bar] = 28.19, respectively). 2. Gender, age of onset, duration of illness, number of depressive episode, number of manic episode, type of bipolar disorder and substance abuse were not significantly related to quality of life of patient with bipolar disorder. 3. Depressive symptoms and manic symptoms were significantly related to quality of life of patient with bipolar disorder (r = - .62 and .37, respectively, p = 0.05) | en |
dc.format.extent | 1841438 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.993 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้ป่วย -- คุณภาพชีวิต | en |
dc.subject | ความซึมเศร้า | en |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเวช | en |
dc.title | ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว | en |
dc.title.alternative | Factors related to quality of life patient with bipolar disorder | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Penpaktr.U@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.993 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nantana_Su.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.