Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17555
Title: การเดินทางของคลื่นแรงเฉือนระหว่างการวิบัติของดินทรายในการทดสอบแรงอัดสามแกน
Other Titles: Shear wave propagation during failure of sand in triaxial test
Authors: มนตรี มัสกุล
Advisors: สุพจน์ เตชวรสินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: tsupot@chula.ac.th
Subjects: แรงเฉือน (กลศาสตร์)
แรงเฉือนของดิน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กลไกเคลื่อนตัวของคลื่นแรงเฉือนในการตรวจวัดความไม่สม่ำเสมอของตัวอย่างดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เกิด Localization ในการทดสอบโดยเครื่องมือแบบแรงอัดสามแกน (Triaxial) ในการทดสอบขั้นต้นจะใช้เครื่องมือทดสอบที่พัฒนาขึ้นเอง โดยสามารถสร้างตัวอย่างดินที่มีความหนาแน่นไม่สม่ำเสมอ ที่มีความหนาแน่นที่กำหนดได้ โดยติดตั้งแผ่น Bender element ไว้ที่ฐานและด้านบนของอุปกรณ์ ตัวอย่างดินทรายที่ใช้ในการทดสอบจะมีชั้นทรายที่มีความหนาแน่นแตกต่างจากส่วนอื่นๆของตัวอย่างดินแทรกอยู่ระหว่างกลางของตัวอย่างทดสอบ โดยที่ชั้นแทรกจะมีความหนา 1 เซนติเมตร และ 2 เซนติเมตร แล้วแต่กรณี ในการทดสอบในเครื่องทดสอบแบบสามแกนจะใช้ตัวอย่างดินทรายที่มีขนาดคละแคบ (Uniform sand) โดยใช้ดินทราย 3 ประเภทคือ ทรายหยาบ (D50 = 1.180 mm.) ทรายละเอียด (D50 = 0.425 mm.) และทรายเม็ดกลม (Ottawa sand) ในการทดสอบทั้ง 2 แบบจะทำการตรวจวัดความเร็วคลื่นเฉือน ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดการทดสอบ โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของความเร็วคลื่นแรงเฉือน ที่เวลาต่างๆกัน จากผลการทดสอบพบว่าค่าความแตกต่างของความเร็วคลื่นแรงเฉือนที่ได้จากการตรวจวัดและจากการคำนวณในอุปกรณ์ทดสอบความไม่สม่ำเสมอของดิน ให้ผลของค่าความเร็วคลื่นแรงเฉือนที่ใกล้เคียงกัน โดยค่าความแตกต่างอยู่ระหว่าง 0.84 % – 6.49 % จากผลที่ได้พบว่าค่าที่ได้จากการคำนวณให้ค่าที่ใกล้เคียงกับผลที่ตรวจวัดได้จากตัวอย่างจริง ในส่วนของการทดสอบในเครื่องมือทดสอบแรงอัดสามแกนพบว่าค่าความเร็วคลื่นแรงเฉือนในบริเวณที่เกิด Localization มีค่าที่ลดลงอยู่ระหว่าง40% - 66% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าความเร็วคลื่นแรงเฉือนในบริเวณที่ไม่เกิด Localization ซึ่งแนวโน้มของการลดลงของค่าความเร็วคลื่นแรงเฉือนในบริเวณที่เกิด Localization ในทรายที่มีเม็ดละเอียดให้ค่าความเร็วที่ลดลงมากว่าทรายที่มีเม็ดหยาบกว่า
Other Abstract: The present study aimed to explore the possibility of using the propagation of shear wave velocity in detecting the non-uniformity caused by localization induced in sandy sample. The tested was conducted in triaxial compression apparatus. The reliability of the propagation of shear wave was calibrated using the developed square odeometer at which sample with known non-uniformity can be built and tested. The shear wave then was generated from the bender element installed at the top platen of the equipment. Three types of poorly graded sands with different average diameters were used. From the odeometer, it was found that the propagation of shear wave was highly influenced by the thin layer of non-uniform density. By careful analysis, the global shear wave velocity can be predicted. The different between the measured and computed shar wave velocity was almost the same. In triaxial equipment, drained triaxial compression test was imposed in order to eliminate the influence of stress states before and after initialization of localization. At a specific stress conditions, it was found that the shear wave velocities of sandy sample before and after failure were very much different. At similar stress state, shear wave velocity after failure was much lower than that before failure. Decreasing in shear wave velocity due to localization could be as high as 60%. Furthermore, finer sand resulted in greater reduction in shear wave velocity than that of coarse sand
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17555
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.900
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.900
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montree_Ma.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.