Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17579
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัมพร จุณณานนท์-
dc.contributor.authorนรินทร์ฤทธิ์ มหารักขกะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-10-
dc.date.available2012-03-10-
dc.date.issued2521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17579-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractระบบเงินทดแทนหรือการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงาน หรือจากโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะ หรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานนั้น เป็นการให้การสงเคราะห์แก่บุคคลผู้ใช้แรงงาน หรือผู้อยู่ในอุปการะในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศ สหรัฐอเมริกา ถือว่าเงินทดแทนเป็นระบบการประกันสังคมเบื้องต้นที่มีอยู่ในโครงการประกันสังคม ซึ่งผู้ใช้แรงงานทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการดูแล รักษาพยาบาลการเจ็บป่วย และได้รับค่าทดแทนเมื่อต้องออกจากงานเพราะทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากอุบัติเหตุในการทำงาน สำหรับประเทศไทยนั้น แม้จะเคยมีกฎหมายประกันสังคม สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในช่วงระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ประสบกับความล้มเหลวตลอดมา งานด้านสังคมสงเคราะห์มิได้พิจารณาถึงการจ่ายเงินทดแทนให้แก่คนงานเลย แต่เป็นหน้าที่ของกรมแรงงาน ที่จะรับผิดชอบเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานโดยตรง วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จะได้กล่าวถึง หลักการความเป็นมา การบังคับใช้ของกฎหมายเกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านวัตถุอย่างสูงสุดว่าได้ให้บริการทางสังคมแก่พลเมืองของประเทศตนอย่างไรบ้าง โดยจะกล่าวถึงหลักการทั่วๆไป ในการให้ความช่วยเหลือ และเกี่ยวโยงมาถึงเรื่องเงินทดแทน ที่เป็นหัวข้อใจความสำคัญ ในฐานะที่เป็นระบบของการประกันสังคม ซึ่งมีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ความมุ่งหมายของการจ่ายเงินทดแทนก็เพื่อกำหนด ค่ารักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายทุพพลภาพ หรือจ่ายให้แก่ทายาทในกรณีที่ตายโดยไม่พิจาณาว่าเป็นความผิดของผู้ใด การศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ นอกจากจะศึกษาทางประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ได้ศึกษาประเทศสิงคโปร์อีกด้วย ในฐานะที่สิงคโปร์มีความเจริญก้าวหน้า ในการจ่ายเงินทดแทนแก่ผู้ใช้แรงงาน และมีการบัญญัติกฎหมายไว้อย่างชัดเจน โดยอาศัยความช่วยเหลือ จากเจ้าหน้าที่องค์กรแรงงานระหว่างประเทศในประเทศไทย วิธีการศึกษาจะกระทำโดยเปรียบเทียบกับการจ่ายเงินทดแทนของไทย ซึ่งมีการแบ่งการบริหารงานออกเป็น 2 ขอบเขต คือ เข้าประกันการจ่ายเงินทดแทนกับกองทุนเงินทดแทนและนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินทดแทนเอง โดยอธิบายเปรียบเทียบถึงผลดีผลเสียของการจ่ายเงินทดแทนทั้ง 2 วิธีดังกล่าวมารวมทั้งข้อบกพร่องของกฎหมายไทยเพื่อชี้ให้เห็นหลักประกันความมั่นคงทางสังคมในด้านเงินทดแทน และการบริหารงานเงินทดแทนของต่างประเทศว่ากระทำในรูปใด แตกต่างกับของไทยอย่างไร และเงินทดแทนจะมีบทบาทแค่ไหน เพียงไร มิใช่จะมีเพียงแต่แก้ปัญหาให้กับผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเท่านั้น ประเทศไทยสมควรจะเริ่มการประกันสังคม เพื่อเป็นหลักประกันการชราภาพ, การว่างงานหรืออื่นๆ ได้แล้วหรือยัง ตลอดจนเสนอแนะความคิดเห็นที่คิดว่ามีประโยชน์ในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์บางประการของไทยว่า ควรจะกระทำอย่างไรจึงจะสนองประโยชน์ต่อวงงานอุตสาหกรรมได้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ในการเรียบเรียงวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จะได้ศึกษาจากตัวบทกฎหมายทางด้านสังคมสงเคราะห์, เงินทดแทน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักการวิธีการและการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ ลักษณะเป็น Exploratory Research จึงไม่มีสมมติฐาน-
dc.description.abstractalternativeThe compensation system, legally known as “Workmen's compensation”, is a system of insurance designed to provide reasonable protection for the safety of the worker. It is a kind of payment program the aim of which is to assume prompt medical aid, rehabilitation, and cash benefit to the injured worker and his dependents, and death benefit to his survivors. In foreign countries, particularly the United Sates, the workmen's compensation is taken as the fundamental social insurance policy. Under such policy, workers are entitled to medical treatment and/or compensation upon cessation of their employment by cause of death or incapacity occurred during the course of employment. As for Thailand, the law relating, to social insurance was first enacted during the administration of Field Marshall Pibulsongkram and was in force for a fairly brief duration. In 1973, By virtue of the National Executive Council Announcement No.103, Workmen's Compensation was made part of the Labour Protective Act. And the Labour Department has since been the sole agency administering the said law under the present system of social welfare. For a comparative purpose, the principles, development and public welfare of the United States was discussed at some length. Through the assistance of a number of ILO's officers in Thailand, a study of the prevailing conditions of the workmen's compensation system in Singapore was also made. It was an effort to search for a model which could be used as a standard for gauging the adequacy of the Thai system. As the workmen's compensation system in Thailand is divided into 2 categories, namely, payment by the Workmen's compensation Fund and payment by employers, it seems desirable to assess the pros and cons of both categories. A comparative study of the effectiveness and practicality of the relevant laws in the selected countries was also included. This thesis also suggested that the workmen's compensation alone may not be adequate to cope with the rising need for social welfare. The growing industry and commerce have brought about more complicated grievance with which the existing social work practice fails to keep pace. Serious consideration should be given to the finding of ways and means to cope with the problems of old age, pension plan and unemployment. This thesis is an exploratory research of the laws and facts relating to public social insurance and welfare policies. No specific hypothesis has been formulated to guide the collection of data and information.-
dc.format.extent442856 bytes-
dc.format.extent472198 bytes-
dc.format.extent406110 bytes-
dc.format.extent826280 bytes-
dc.format.extent1136844 bytes-
dc.format.extent933786 bytes-
dc.format.extent661592 bytes-
dc.format.extent391159 bytes-
dc.format.extent822206 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectค่าทดแทนen
dc.subjectสังคมสงเคราะห์en
dc.titleการจ่ายเงินทดแทนแก่คนงาน : การศึกษาในหลักการ ขบวนการ และวิธีการปฏิบัติในการสังคมสงเคราะห์en
dc.title.alternativeWorkmen's compensation : a study of principles, procedures and practice in social worken
dc.typeThesises
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narinrith_Ma_front.pdf432.48 kBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_intro.pdf461.13 kBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_ch1.pdf396.59 kBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_ch2.pdf806.91 kBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_ch3.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_ch4.pdf911.9 kBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_ch5.pdf646.09 kBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_ch6.pdf381.99 kBAdobe PDFView/Open
Narinrith_Ma_back.pdf802.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.