Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17584
Title: การรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากการเพิ่มโทษกับเหตุฉกรรจ์ในคดีอาญา
Other Titles: More serious penal sanction due to increased sentences and certain grave offences in criminal law
Authors: นรินทร์ ไทรฟัก
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การลงโทษ -- ไทย
กฎหมายอาญา -- ไทย
ความรับผิดทางอาญา -- ไทย
ทัณฑกรรม
กฎหมายอาญา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากการเพิ่มโทษกับเหตุฉกรรจ์ในคดีอาญา เป็นมาตรการที่ทำให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษสูงกว่าอัตราโทษตามปกติที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยรัฐมุ่งที่จะใช้อัตราโทษที่รุนแรงขึ้น เป็นเครื่องยับยั้งหรือกำราบปราบปรามอาชญากรรมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์มาตรการรับโทษหนักขึ้นในสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกได้แก่การรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิดอีกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 และมาตรา 93 ส่วนที่ 2 ได้แก่ การรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากเหตุฉกรรจ์ในคดีอาญา ในส่วนแรกผู้วิจัยมุ่งศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎีและวัตถุประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังมาตรการการรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิดอีก พบว่ามาตรการดังกล่าวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ผู้กระทำความผิดได้รับการลงโทษให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำลง โดยมุ่งที่จะใช้โทษเป็นการแก้แค้นทดแทนการกระทำความผิดและเพื่อเป็นการข่มขู่หรือป้องกันอาชญากรรม ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าแนวความคิดและวัตถุประสงค์ดังกล่าว น่าจะไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สอดคล้องกับแนวความคิดและวัตถุประสงค์ของการลงโทษในปัจจุบัน ที่ยอมรับกันว่าโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น จะต้องเหมาะสมแก่ตัวผู้กระทำความผิดโดยมุ่งถึงการแก้ไข ที่จะให้ผู้กระทำความผิดกลับตัวเป็นคนดีได้ด้วย ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์การเพิ่มโทษเนื่องจากการกระทำความผิดอีกที่ใช้ในกฎหมายอื่นที่มีลักษณะโทษทางอาญา พบว่าการเพิ่มโทษเนื่องจากการกระทำความผิดอีกที่ใช้อยู่ในกฎหมายอื่นที่มีลักษณะโทษทางอาญานั้น มีหลักเกณฑ์และวิธีการบางประการแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์และวิธีการการเพิ่มโทษ เนื่องจากการกระทำความผิดอีกที่ใช้อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ทั้งๆที่กฎหมายดังกล่าวต่างก็มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้โทษที่หนักขึ้นเป็นเครื่องกำราบปราบปรามผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากเหตุฉกรรจ์ในคดีอาญา ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎีและวัตถุประสงค์ ที่อยู่เบื้องหลังการรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากเหตุฉกรรจ์พบว่ามาตรการดังกล่าวมีแนวความคิดในการลงโทษที่ต้องการให้ผู้กระทำความผิด ได้รับการลงโทษให้สาสมกับการกระทำความผิดที่ได้กระทำลง ตามแนวความคิดของสำนักอาชญาวิทยาคลาสสิค ซึ่งยึดถือหลักในการลงโทษว่าการลงโทษควรให้เหมาะสมกับอาชญากรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่าการบัญญัติเหตุฉกรรจ์ในกฎหมายอาญาของไทยในบางลักษณะได้ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายหลายประการ เช่น ปัญหาที่เกิดจากการบัญญัติเหตุฉกรรจ์บางลักษณะซ้ำซ้อนกัน เป็นเหตุให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นเกินความจำเป็น และในประการสุดท้ายผู้วิจัยได้เปรียบเทียบให้เห็นถึงผลของการกระทำความผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศกับการบัญญัติเพิ่มเติมอัตราโทษ และการบัญญัติเหตุฉกรรจ์เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การที่รัฐมุ่งที่จะใช้อัตราโทษที่รุนแรงขึ้นเพื่อจะให้มีผลต่อการกำราบปราบปรามการกระทำความผิดนั้น มิได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการทำให้การกระทำความผิดลดลง
Other Abstract: More serious penal sanction due to increased sentences and certain grave offences in criminal law is a measurement to make the offenders undergo more severe punishment than usual in the term of imprisonment. The government intends to apply more serious penal sanction in order to counteract or intimidate crimes more efficiently. Two parts of more serious penal sanction were analyzed in this thesis, they were: 1.More serious penal sanction due to recidive under Penal Code such as section 92 and section 93. 2. More serious penal sanction due to grave offences in criminal law. In the first part, the concepts, theories and the purposes of the measurement of more intense penal sanction due to recidive were studied and found that the purposes of this measurement are to make the offenders undergo the punishment which is suitable for the offences. According to the research, the ideas and the purposes of the punishment as retribution and deterrence seem improper and not concur with the present concepts and the purposes of punishment. It is now believed that the punishment must be suitable for the offenders and must also serve as a method of corrections. Criteria of the increased sentences due to a recidivist under other criminal statutes were studied and found that more serious penal sanction due to recidivism under other statutes has different criteria and some characteristics from the Penal Code's, even though both of them have the same purpose, that is, to increase the punishment in order to intimidate offenders. In the second part, the ideas, the theories and the purposes of more serious penal sanction due to grave offences in criminal law were studied and found that the ideas of punishment in order to make the punishment suitable for the offences are consistent with the thoughts of Classical School of Criminology that the punishment should fit the crime. The study also found that Thai Penal Code of grave offences in some cases causes several problems in the enforcement of the law. The redundancy in some of the grave offences classification causes an offender to be excessively punished. In the last part of this thesis, the researcher displayed the statistics of the penal offences in Thailand in comparison with the provisions which were enacted increasingly for more extended terms and more grave offences which showed that the government's ideas of more serious penal sanction for intimidation or counteraction had not successfully lessened the offences.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17584
ISBN: 9745663808
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narin_Sa_front.pdf325.96 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Sa_ch1.pdf320.21 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Sa_ch2.pdf439.45 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Sa_ch3.pdf919.12 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Sa_ch4.pdf899.22 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Sa_ch5.pdf373.25 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Sa_back.pdf627.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.