Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17612
Title: การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบริการห้องสมุดประชาชนระดับจังหวัด สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในภาคใต้ของประเทศไทย
Other Titles: survey of public opinion towards the services of the provincial public libraries under the Ministry of Education in Southern Thailand
Authors: พัชรินทร์ ชันทอง
Advisors: ประคอง กรรณสูต
กานต์มณี ศักดิ์เจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ห้องสมุดประชาชน -- ไทย (ภาคใต้)
ห้องสมุด -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อสำรวจความสนใจ ความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนต่อบริการห้องสมุดประชาชนระดับจังหวัด สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับห้องสมุดประชาชนในการจัดบริการเหล่านั้นต่อไป ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เป็นคำตอบแบบสอบถามของประชาชนผู้เข้าใช้ห้องสมุดในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์รวมทั้งสิ้น 880 ฉบับ ผู้วิจัยได้แบ่งตัวอย่างประชากรออกเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับอายุ คือ ระดับอายุ 9 ถึง 18 ปี ระดับอายุ 19 ถึง 25 ปี ระดับอายุ 26 ถึง 39 ปี และระดับอายุ 40 ปีขึ้นไป ข้อมูลจากแบบสอบถามได้นำมาวิเคราะห์และเสนอในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประชาชนที่มาใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ร้อยละ 51.6 อยู่ในระดับอายุ 9 ถึง 18 ปี และส่วนใหญ่ร้อยละ 59.6 เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.7 ร้อยละ 56.4 ร้อยละ 50.8 และร้อยละ 41.9 ของทุกระดับอายุมาใช้ห้องสมุดมากกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แรงจูงใจที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.0 ร้อยละ 51.3 ร้อยละ 59.2 และร้อยละ 71.0 ของทุกระดับอายุมาใช้ห้องสมุด คือ เพราะสนใจบริการและกิจกรรมของห้องสมุดประชาชน และโดยเฉลี่ยแล้ว ประชาชนทุกระดับอายุเห็นว่า ส่วนใหญ่ของสภาพของห้องสมุด วัสดุครุภัณฑ์ หนังสือ สิ่งพิมพ์ ตลอดจนบริการและกิจกรรมของห้องสมุดมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง และต้องการให้ห้องสมุดจัดบริการและกิจกรรมส่วนใหญ่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ กองการศึกษาผู้ใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงบประมาณ ควรร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาของห้องสมุดประชาชน โดยเพิ่มงบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ หนังสือ และบุคลากรแก่ห้องสมุดประชาชนให้มากขึ้นและให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนสร้างและซ่อมแซมอาคารห้องสมุดประชาชนเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการก็ควรยกฐานะงานห้องสมุดประชาชนขึ้นเป็นสำนักงานห้องสมุดประชาชนขึ้นตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการ และควรแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานห้องสมุดประชาชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำขึ้นเมื่อพ.ศ. 2508 โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านบริการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
Other Abstract: The main purposes of this thesis were to survey the interests, opinions and the needs of people towards the services of the provincial public libraries under the Ministry of Education in Southern Thailand and to obtain some suggestions to be used as a guideline for library service improvement. The data-gathering instrument was a questionnaire prepared especially for this survey. These questionnaires were completed by 880 people who used the libraries during the period of time from November 5 to November 20, 1975. To analyze the responses, the subjects surveyed were divided into four age groups: (1) 9 to 18 years, (2) 19 to 25 years, (3) 26 to 39 years, and (4) 40 years and up. The data was analyzed and presented in percentage form and by Mean and Standard Deviation. The results indicated that the majority of library users (51.6%) were people in the age group 9 to 18 years and the highest number of library users (59.6%) were students. The highest percentage of each of the respective age groups, (i.e. 46.7%, 56.4%, 50.8%, 41.9%) indicated that they used the libraries more than once a week and most of them (46.0%, 51.3%, 59.2%, 71.0% respectively) used the libraries because of their interests in library services and activities. People of all age groups felt that most of the library facilities such as building, materials, equipment, books as well as library services and activities were moderately satisfactory and they expected the libraries to provide most of the services and activities at the moderate level. It is recommended that first, there should be more cooperation between the Adult Education Division, Department of General Education, Ministry of Education, Office of the Budget Bureau and the Civil Service Commission in providing every library with sufficient fundings, materials, equipment, books and personnel. Moreover, construction of library buildings should be standardized in order to render better services and activities. Secondly, there should be more efficient administration, the Office of Public Libraries which is at present under the Adult Education Division should be reorganized and raised to departmental level and be administered directly by the Ministry of Education. In addition, the standard set up for public libraries by the Ministry of Education in 1965 should be revised with special emphasis placed on the improvement of public library services.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17612
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pacharin_Ch_front.pdf499.95 kBAdobe PDFView/Open
Pacharin_Ch_ch1.pdf458.77 kBAdobe PDFView/Open
Pacharin_Ch_ch2.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Pacharin_Ch_ch3.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Pacharin_Ch_ch4.pdf836.58 kBAdobe PDFView/Open
Pacharin_Ch_back.pdf915.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.