Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17617
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปัญญา สมบูรณ์ศิลป์ | - |
dc.contributor.author | พัชรา กาญจนารัณย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-10T02:42:38Z | - |
dc.date.available | 2012-03-10T02:42:38Z | - |
dc.date.issued | 2517 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17617 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพของโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพในโรงเรียนของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนของกรุงเทพมหานครและโรงเรียนราษฎร์ (3) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารการศึกษาได้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพในโรงเรียนให้เหมาะสมถูกสุขลักษณะ วิธีทำการวิจัย ประชากรที่ใช้ทำการวิจัยครั้งนี้เป็นโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 ประเภทที่ตั้งอยู่ในเขตต่างๆของกรุงเทพมหานคร จำนวน 791 โรง ผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างประชากรโดยแบ่งเป็นพวก (Stratified Random Sampling) ได้โรงเรียนที่เป็นตัวแทนของตัวอย่างประชากรทั้งหมด 98 โรง ซึ่งแบ่งออกเป็นโรงเรียนของกรมสามัญศึกษา 24 โรง โรงเรียนของกรุงเทพมหานคร 38 โรง และโรงเรียนราษฎร์ 36 โรง แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งครูใหญ่เป็นผู้ตอบและนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ผลการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) โดยทั่วไปโรงเรียนของกรมสามัญศึกษาเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และโดยเฉลี่ยแล้ว มีนักเรียนมากกว่าโรงเรียนของกรุงเทพมหานครและโรงเรียนราษฎร์ นอกจากนี้โรงเรียนของกรมสามัญศึกษายังมีจำนวนนักเรียนในห้องมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และยังพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วโรงเรียนของกรุงเทพมหานครมีครูไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน สำหรับโรงเรียนราษฎร์นั้นโดยเฉลี่ยแล้วมีเนื้อที่ตั้งของโรงเรียนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด (2) สภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนประถมศึกษา 2.1 โรงเรียนของกรมสามัญศึกษาและโรงเรียนของกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในที่ลุ่มและอยู่ในวัดหรือสุเหร่า โรงเรียนดังกล่าวมีสนามและบริเวณโรงเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน นอกจากนี้ในบริเวณโรงเรียนของกรุงเทพมหานครยังมีต้นไม้ที่ใช้อาศัยร่มเงาน้อย 2.2 โรงเรียนของกรุงเทพมหานครร้อยละ 42 และโรงเรียนของกรมสามัญศึกษาร้อยละ 25 มีห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ภายในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 ประเภทร้อยละ 60 มีแสงสว่างเพียงพอ และห้องเรียนภายในโรงเรียนร้อยละ 90 มีช่องลมระบายอากาศ 2.3 โรงเรียนทั้ง 3 ประเภทร้อยละ 83 มีโต๊ะเรียนและม้านั่งเพียงพอ และโรงเรียนร้อยละ 95 มีกระดานดำเพียงพอ 2.4 การจัดน้ำดื่มน้ำใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 ประเภทยังไม่ถูกสุขลักษณะและมีไม่เพียงพอ 2.5 ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 ประเภทมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนและยังมีโรงเรียนราษฎร์บางโรงไม่มีส้วมสำหรับนักเรียน 2.6 การกำจัดขยะมูลฝอยในโรงเรียนทั้ง 3 ประเภทส่วนใหญ่ใช้วิธีเผาและมีรถมารับไปกำจัด ส่วนการกำจัดน้ำโสโครกภายในโรงเรียนส่วนใหญ่นั้นมีท่อระบายน้ำโสโครกที่สามารถกำจัดได้ 2.7 อุบัติเหตุและเหตุรำคาญทางสุขภาพต่างๆในโรงเรียนทั้ง 3 ประเภทส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและโรงเรียนดังกล่าวได้รับเหตุรำคาญต่างๆน้อย 2.8 โรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 ประเภทส่วนใหญ่มีโรงอาหารและมีรั้วของโรงเรียน โรงเรียนดังกล่าวมีภารโรงประจำ (3) สภาพแวดล้อมทางจิตใจในโรงเรียนประถมศึกษาพบว่าบรรยากาศทางสังคมในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 ประเภทดีพอสมควร ครู โรงเรียนและบ้านมีความสัมพันธ์กันดี และโรงเรียนส่วนใหญ่จัดกิจกรรมสันทนาการขึ้นภายในโรงเรียน | - |
dc.description.abstractalternative | Purpose of the Study (1) To study health environment of Elementary schools in Bangkok Metropolis. (2) To compare health environment among elementary schools of the Department of General Education, Ministry of Education, and elementary schools of Bangkok Metropolis and private elementary schools. (3) To help educational administrators to improve health environment in their schools. Method of Study Ninety-Eight schools were chosen from 791 elementary schools in Bangkok Metropolis by a stratified random sampling method. Among those schools were 24 schools of the Department of General Education, 38 schools of Bangkok Metropolis and 36 private elementary schools. The writer sent questionnaires to the principals of those schools to be filled-out and returned to him. Then response percentages for each item were calculated and presented in tables. Major Findings The results of this study are the following:- (1) Generally, the elementary schools of the Department of General Education are fairly large, and they have more students, on the average, than the schools of Bangkok Metropolis and the private elementary schools. In addition there are more students per class-rooms in the elementary schools of the Department of General Education than in the other two types of schools; the ratio of which is higher than the standard set forth by the Department itself. There are insufficient teachers in Bangkok Metropolis schools. The school area of the elementary private schools does not meet the standard of the Ministry of Education. (2) Physical environment in elementary schools. 2.1 Most of the elementary schools of the Department of General Education and the Bangkok Metropolis schools are situated in low and wetland and also on temple and mosque grounds. Consequently, these schools do not have sufficient playground space for their students; also there are few shade trees. 2.2 About 42% of Bangkok Metropolis schools and 25% of the elementary schools of the Department of General Education do not have enough classrooms to accommodate their student populations. Of the 3 types of Elementary schools, 60% have sufficient light and 90% have ventilation. 2.3 Of the 3 types of elementary schools, 83% have enough desks and 90% have chalkboards. 2.4 Water supplies in the 3 types of elementary schools are unhygienic and inadequate. 2.5 Toilet fixtures the 3 types of elementary schools are inadequate and there are none in some private elementary schools. 2.6 Refuse disposal in most schools is done by burning and being carried away by dump trucks. Sewage is disposed by draining. 2.7 There are few accidents and health nuisances in the 3 types of elementary schools. 2.8 All 3 types of elementary schools have dining halls, school fences, and school custodians. (3) Mental environment in elementary schools. It was found that the social atmosphere in the schools is pleasant. There are good relationships among teachers, schools, and home. Most schools provide recreational activities for students. | - |
dc.format.extent | 380391 bytes | - |
dc.format.extent | 360887 bytes | - |
dc.format.extent | 516280 bytes | - |
dc.format.extent | 272596 bytes | - |
dc.format.extent | 1012343 bytes | - |
dc.format.extent | 336452 bytes | - |
dc.format.extent | 527116 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน | en |
dc.title | สิ่งแวดล้อมทางสุขภาพของโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Health environment in elementary schools in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patchara_Ka_front.pdf | 371.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patchara_Ka_ch1.pdf | 352.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patchara_Ka_ch2.pdf | 504.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patchara_Ka_ch3.pdf | 266.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patchara_Ka_ch4.pdf | 988.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patchara_Ka_ch5.pdf | 328.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patchara_Ka_back.pdf | 514.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.