Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17637
Title: ผลของยาอีนาลาพิลและโลซาทานต่อการชะลอความเสื่อมของผนังเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง
Other Titles: The effect of enalapril and losartan on peritoneal membrane in continuous ambulatory peritoneal dialysis patients
Authors: วรรษวรรน์ วรรธนทวาทศ
Advisors: เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
พิสุทธิ์ กตเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Talerngsak.K@Chula.ac.th
Pisut.K@chula.ac.th
Subjects: การล้างไตทางช่องท้อง
เยื่อบุช่องท้อง
Peritoneal dialysis
Peritoneum
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา การกระตุ้นระบบเรนินแองจิโอเทนซินซิสเตมเฉพาะที่ในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเยื่อบุผนังช่องท้อง ปัจจุบันยังไม่มีบทสรุปของการใช้ยายับยั้งระบบเรนินแองจิโอเทนซินซิสเตมต่อการชะลอความเสื่อมของเยื่อบุผนังช่องท้องที่ชัดเจน วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองจำนวน 93 รายที่มีความดันโลหิตสูง ได้ถูกสุ่มแบ่งให้รับยาอีนาลาพิล 24 ราย, อีนาลาพิล ร่วมกับยาโลซาทาน 23 ราย และกลุ่มควบคุม 22 ราย ติดตามการศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน โดยมีเป้าหมายในการควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท เมื่อเริ่มเข้าสู่การศึกษาและสิ้นสุดการศึกษาผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการทดสอบประสิทธิภาพเยื่อบุผนังช่องท้อง, ตรวจความพอเพียงของการล้างไตและตรวจระดับซีเอ 125 ในน้ำยาล้างไตที่ค้างท้องไว้ช่วงกลางคืน ผลการศึกษา ผู้ป่วย 69 รายเข้าร่วมการศึกษาจนครบ 6 เดือน ไม่พบความแตกต่างของลักษณะพื้นฐานและค่าเฉลี่ยของระดับความดันหลอดเลือดแดงตลอดระยะเวลาการศึกษาระหว่างผู้ป่วยทั้งสามกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษาพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของค่าอัตราส่วนน้ำตาลกลูโคสในน้ำยาล้างไตที่เวลา 4 ชั่วโมงต่อน้ำตาลกลูโคสในน้ำยาล้างไตที่เวลาเริ่มต้นของการทดสอบ (0.33?0.1 / 0.46?0.2, p<0.01), มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารน้ำที่ถูกขจัดทางผนังช่องท้องต่อวัน (839.4?64.3 / 995.3?64.3 มิลลิลิตรต่อวัน, p=0.03) และมีการเพิ่มขึ้นของระดับอัลบูมินในซีรั่ม (3.52?0.1 / 3.75?0.1 กรัมต่อเดซิลิตร, p<0.01) ร่วมกับมีการลดลงของปริมาณโปรตีนในน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง (5.11?0.3 / 3.9?0.3 กรัมต่อวัน, p<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผลจากการใช้ยาอีนาลาพิลร่วมกับยาโลซาทานเทียบกับการใช้ยาอีนาลาพิลเพียงอย่างเดียวพบว่า สามารถเพิ่มปริมาณสารน้ำที่ถูกขจัดทางผนังช่องท้องต่อวัน, เพิ่มระดับอัลบูมินในซีรั่มและเพิ่มค่าการปรากฏของระดับซีเอ 125 ในน้ำยาล้างไตที่ค้างท้องไว้ช่วงกลางคืน โดยไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยาดังกล่าวตลอดระยะเวลาการศึกษา สรุปผลการศึกษา การใช้ยับยั้งระบบเรนินแองจิโอเทนซินซิสเตมสามารถชะลอความเสื่อมของเยื่อบุผนังช่องท้องในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
Other Abstract: Background: Long term exposure with PD solution causes local renin-angiotensin-aldosterone system (RAAS) activation and peritoneal membrane failure. Therefore, the protective effect of RAAS blockades over peritoneal membrane dysfunction were investigated in 93 patients. Methods: A randomized controlled study was conducted in 93 adult hypertensive and na?ve PD patients. There were three patients groups who received one of the followings: enalapril 40 mg/day (N=24), enalapril 40 mg+losartan 50 mg/day (N=23), and placebo (N=22) for 6 months. Hydralazine was added if the target blood pressure (BP) was not achieved below 130/80 mmHg. Modified peritoneal equilibration test, adequacy, and dialysate CA125 were examined at the beginning and 6-month periods. Results: Sixty-nine patients had completed the study. Half of the patients in all groups had diabetes. No statistically significant differences were observed regarding to baseline characteristics. The mean arterial BP were not different among groups and throughout the study period. There were significant increases in net ultrafiltration (839.4?64.3 vs. 995.3?64.3 mL/day, p=0.03), serum albumin (3.52?0.1 vs. 3.75?0.1 gm/dl, p<0.01), and D/D0 glucose (0.33?0.1 vs. 0.46?0.2, p<0.01), together with significant reductions in 24-hour dialysate protein loss (5.11?0.3 vs. 3.9?0.3 g/day, p<0.01) between baseline and 6 months in RAAS blockades. Adding losartan to enalapril showed significant increments in net ultrafiltration, dialysate CA125 appearance rate, serum albumin, but less 24-hour dialysate protein loss compared to treatment with enalapril alone. Treatment with RAAS blockades did not yield in serious adverse effects. Conclusions: Blocking of RAAS significantly increased ultrafiltration and preserved peritoneal membrane function in CAPD patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17637
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.379
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.379
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wassawon_Wo.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.