Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17639
Title: การเปรียบเทียบคุณค่าในด้านการศึกษาและคุณค่าในด้านการเลือกอาชีพ ระหว่างประชากรพุทธกับคาทอลิก
Other Titles: A comparative study of the differences in educational values and occupational values in Buddhists and Catholics
Authors: เลิศพร ภาระสกุล
Advisors: พัทยา สายหู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความสนใจทางอาชีพ
ประชากร
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้เพื่อที่จะศึกษาว่าคุณค่าในด้านการศึกษาและคุณค่าในด้านการเลือกอาชีพของประชากรพุทธและคาทอลิกเป็นอย่างไร เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนกลุ่มพุทธจำนวน 204 ครัวเรือน กลุ่มคาทอลิก 200 ครัวเรือน กลุ่มคาทอลิกที่ศึกษาเป็นตัวอย่างประชากรในตำบลท่าข้ามมีอาชีพหลักคืออาชีพเลี้ยงสุกร สำหรับกลุ่มพุทธทำการศึกษาในตำบล 5 แห่ง คือตำบลไร่ขิง บางกระทึก บางเตย ทรงคนอง และหอมเกร็ด อาชีพหลักคือทำสวน จากคำตอบเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในความจำเป็นของการศึกษาและจากเหตุผลที่ยึดถือในการกำหนดระดับการศึกษาที่อยากให้บุตรได้รับ พบว่าทั้งกลุ่มพุทธและคาทอลิกมีความเห็นที่คล้ายกันว่า การมีการศึกษาจะทำให้เด็กได้มีความรู้สามารถหางานทำเลี้ยงตัวรอด ฉลาดมีไหวพริบดีในภายหลัง และโดยทั่วไปพบว่าทั้งสองกลุ่มศาสนาจะสนับสนุนให้บุตรทั้งชายทั้งหญิงได้รับการศึกษาสูงขึ้นอย่างน้อย ม.ศ.3 ขึ้นไปจนถึงชั้นมหาวิทยาลัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่เห็นว่าการเรียนเพียงแค่ภาคบังคับ ป.4-ป.7 นั้นไม่เป็นการเพียงพอ ทั้งกลุ่มพุทธและคาทอลิกเห็นว่าการศึกษาชั้นมหาวิทยาลัยนั้นมีความจำเป็นและเป็นระดับการศึกษาที่นิยมให้บุตรชายได้ศึกษาถึงมากกว่าระดับอื่นๆ ทั้งหมด เหตุผลก็คือทำให้มีความรู้หางานทำเลี้ยงตัวได้ ก้าวหน้าอนาคตดี ทางด้านบุตรหญิงทั้งกลุ่มพุทธโดยทั่วไปจะส่งเสริมให้เรียนสูงขึ้นตั้งแต่ ม.ศ. 3 ขึ้นไปจนถึงชั้นมหาวิทยาลัย แต่เมื่อพิจารณาความมุ่งหวังเป็นระดับๆ ไป พบว่าระดับภาคบังคับ ป.4-ป.7 มีผู้ตอบมากที่สุดทั้งในกลุ่มพุทธและคาทอลิก เหตุผลก็คือไม่แน่ใจในความสามารถ สติปัญญาและปัญหาเกี่ยวกับทุนเป็นสำคัญ ในด้านการเลือกอาชีพสำหรับบุตรชาย ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างกลุ่มพุทธและคาทอลิก ในกลุ่มพุทธนิยมให้บุตรชายทำอาชีพรับราชการมากที่สุดเพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่มั่นคงสบายในบั้นปลาย รองลงมาคืออาชีพทหารตำรวจ โดยให้เหตุผลว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีหน้ามีตา ในขณะที่กลุ่มคาทอลิกนิยมให้บุตรชายทำอาชีพช่างฝีมือมากที่สุด รองลงมาคืออาชีพแพทย์ โดยมีเหตุผลว่าอาชีพทั้งสองให้รายได้ดี สำหรับบุตรหญิงนั้นทั้งกลุ่มพุทธและคาทอลิกมีความมุ่งหวังไม่แตกต่างกันเลยกล่าวคือ อาชีพครูเป็นอาชีพที่ทั้งสองกลุ่มเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุดสำหรับบุตรหญิง นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา รายได้ และเพศของผู้ให้สัมภาษณ์ก็ปรากฏว่า ไม่แตกต่างกันในด้านความมุ่งหวังในทั้งสองกลุ่มศาสนาเลย เหตุผลที่ทั้งสองกลุ่มยึดถือร่วมกันข้อหนึ่งคือ เห็นว่าเป็นอาชีพที่บุตรหญิงได้อยู่ใกล้บ้านไม่ต้องเป็นห่วง แต่เหตุผลที่ แตกต่างกันคือกลุ่มพุทธยังมีความเห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่เปิดโอกาสให้ได้ช่วยเหลือคนอื่น งานเบาใช้แต่สมอง ส่วนกลุ่มคาทอลิกเห็นว่าเหมาะสมกับสติปัญญาและบุคลิกของบุตรหญิง
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study what the educational and occupational values among the Buddhists and Catholics in upcountry are like and to examine whether there are differences and similarities in those values between these two religious groups. A sample of 204 households was drawn from five Buddhist districts, Tambon Balking, Bang Kratuek, Bang Toey, Song Kanong and Hom Bred. 2000 households were drawn drawn from one Catholic district, Tambon thakam. All six districts are in Amphur Sampran, Nakorn Pathom. The data were collected by interviewing the head of each household with the use of questionnaires. The result shows that the Buddhists and Catho lies have the same educational attitude toward eeation; they believe that education is important to enable ones to have good jobs and good earnings. They tend to encourage their children to study higher that the compulsory level, Prathom 4-Prathom 7. Both religious group prefer their kids to study at least from M.S. 3 up to university level. Most of them agree that universtiy education is important, as a result they tend to encourage their sons to reach this level. The reasons for choosing this level are a good opportunity to get a good job and a bright future. Buddhist girls and Catholic girls on the whole are encouraged to study higher than M.S. 3 up to univer¬sity level. The percentage of those who chose the compulsion level for girls is greatest when it is compared with percentage of those who chose other levels. There is a marked difference in occupational choice for their sons between Buddhists and Catholics. The Buddhists prefer their Sons to choose government service and the reasons given are that such an occupation provides stable, secure future and pensions. The other occupation chosen nearly as much as the former is either military officer or policemen as this occupation provides prestige. The Catholics prefer their sons to become skilled workers (mechanics, carppenters etc.) The second choice is medicine« They believe that these occupations provide good income. There is no difference in occupational choice for girls between Buddhists and Catholics. Teaching career is the occupation most chosen by both religious groups. How¬ever the reasons given by both groups in choosing this occupation are slightly different The consensus between them is that being a teacher the girl need not be away from home. Other reasons significant to the Buddhists are an opportunity to be helpful to others, an opportunity to use brain, and that it is light work. The other reason given by the Catholics is suitability for girls' character. Teaching career is the most favourite for girls' of both the Buddhists and Catholics. of every age group, educational level, income level and both sex groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17639
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lertporn_Pa_front.pdf397.08 kBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_ch1.pdf538.71 kBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_ch2.pdf440.53 kBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_ch4.pdf416.52 kBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_ch5.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_ch6.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_ch7.pdf592.69 kBAdobe PDFView/Open
Lertporn_Pa_back.pdf305.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.