Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17706
Title: วิวัฒนาการความคิดเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบในปรัชญาของซารตร์
Other Titles: Development of the problem of freedom and responsibility in Sartre's Philosophy
Authors: ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
Advisors: กีรติ บุญเจือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ซารตร์, ชอง ปอล, 1905-
ปรัชญา
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะของเสรีภาพและความรับผิดชอบที่ซารตร์ได้กล่าวไว้ในผลงานทางปรัชญาเล่มแรกคือ สัต และศูนยตา (Being and Nothingness)โดยเปรียบเทียบกับงานในช่วงหลัง เพื่อศึกษาว่าความคิดในเรื่องนี้ของซารตร์คลี่คลายไปอย่างไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์แก่ชีวิตจริงได้หรือไม่ และเขาสามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากการเสนอความคิดเรื่องเสรีภาพได้หรือไม่ การวิจัยครั้งนี้ได้พบว่า ซารตร์ได้กล่าวถึงเสรีภาพและความรับผิดชอบตามทัศนะของอัตถิภาวนิยม ที่มีทัศนะว่า อัตถิภาวะของมนุษย์มาก่อนสารัตถะ (Existence precedes Essence) เสรีและความรับผิดชอบคือคุณสมบัติที่ไม่สามารถแยกออกได้จากมนุษย์ จนกระทั่งกล่าวได้ว่ามนุษย์ถูกสาปให้มีเสรีภาพ เสรีภาพนี้เป็นเสรีภาพในการเลือก เพราะมนุษย์อยู่ในสภาพที่ต้องตัดสินใจเลือกอยู่ตลอดเวลาและต้องเลือกในฐานะเป็นตัวของตัวเอง ทั้งนี้เพราะไม่มีอำนาจใดหรือระเบียบเกณฑ์ใดมีอำนาจอยู่เหนือความเป็นมนุษย์ได้ มนุษย์ในทัศนะของซารตร์คือมนุษย์ที่อยู่ในฐานะปัจเจกบุคคล ทัศนะในช่วงหลังของซารตร์เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากได้ยอมรับความคิดเห็นของลัทธิมาร์กซิสม์ ซึ่งอธิบายความเป็นไปของประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการปฏิพัฒนาการแบบวัตถุนิยม (Dialectical materialism) ซารตร์ยอมรับจุดมุ่งหมายของลัทธิมาร์กซิสม์ที่มุ่งไปสู่สังคมเสรีภาพอย่างสมบูรณ์แบบ แต่เขาไม่เห็นด้วยกับวิธีการปฏิวัติด้วยการใช้กำลังรุนแรงเข้าทำลายล้างระบบชนชั้น เนื่องจากการใช้กำลังรุนแรงเข้าประหัตประหารกันนั้นเป็นการเริ่มต้นด้วยการจำกัดเสรีภาพ และทำลายความเป็นมนุษย์ลง วิธีการเช่นนี้ไม่สามารถดำเนินไปสู่เสรีภาพอันเป็นจุดมุ่งหมายได้ ความคิดดังกล่าวจะพบได้เป็นต้น ในหนังสือ อัตถิภาวนิยมและมนุษยนิยม (Existentialism and Humanism) การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า เหตุที่ซารตร์เปลี่ยนแปลงแนวความคิดไป เพราะซารตร์ต้องการให้มนุษย์ได้ตะหนักว่าตนเองมีเสรีภาพอยู่ในตัวเอง และเสรีภาพนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคือ เสรีภาพจากสภาพแวดล้อมที่ครอบงำความสำนึกของมนุษย์ลักษณะหนึ่ง กับเสรีภาพที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ซึ่งตนเองเห็นว่าดีอีกลักษณะหนึ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยการดำรงชีวิตของมนุษย์ อยู่ภายใต้การจัดการของมนุษย์ ซารตร์จึงสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู้ความคิดใหม่ ระเบียบแบบแผนใหม่ ถึงแม้ว่าโดยความเป็นจริงแล้วจะไม่มีใครยืนยันได้ว่าในสภาพใหม่นั้น สังคมจะเป็นเช่นไร แต่สิ่งต่างๆ มันจะเกิดขึ้นภายใต้ความรับผิดชอบของมนุษย์ผู้สร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาวิจัยต่อไปคือ อาจศึกษาปัญหาเรื่องศรัทธาเลว (bad faith) ในเชิงจิตวิเคราะห์หรือในเชิงสังคม การเมือง นอกจากนี้อาจศึกษาความคิดเรื่องมนุษย์นิยมของอัตถิภาวนิยม เปรียบเทียบกับปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่ออัตถิภาวะของมนุษย์ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาอากาศเป็นพิษ ปัญหาสงคราม เป็นต้น
Other Abstract: The purpose of this research is to study Sartre's viewpoint about the freedom and responsibility as appear in Being and Nethingness, his first philosophical work. In order to investigate the development and the application of his idea, together with his ability in solving the problems derived from his concept, later works, such as, Existentialism and Humanism, Search for a Method, are compared to the first one. This research confirms that Sartre's freedom and responsibility are said in term of Existentialism which means "The Existences precedes Essence". It can be concluded that human being is condemned to be free and responsibility, since they can't be separated from man. The mentioned freedom is considered to be the freedom of choices since man has to make up his decision all the time by his self. No ether authorities or regulations are superior to the authority of human being. According to Sartre’s concept, man is individuality. In later period, Sartre's viewpoint has changed, because of the acceptance of Marxism's dialectical materialism, which explains the movement of History by material dialecticism. Sartre admits the finality of Marxism in creating the new society for complete freedom; but he disagrees in the matter of the violent revolution to destroy classes, because the hostilities would restrict freedom from the beginning and would destroy human being, at the end. Revolution can't lead to freedom. Such ideas are found especially in Existentialism and Humanism and in Search for a Method. According to this research, we can conclude that Sartre has changed his philosophical viewpoint, because he wants man to be aware of his own freedom. Freedom, in his opinion, are composed of two aspects; namely freedom from authorities which contrain human consciousness, and freedom to create goad things according to his own conviction. As the situation or the environment of human life is under the management of man, heagrees with creating the new society in the new order and culture, though no one knows how the new society would be like, he is, sure that all things will be under the responsibility of men who create it. The suggetion for further research may be given here in some aspects, e.g., to study the problem of bad faith in psychoanalysis, or in social and political viewpoint. Morover, to study the concept of humanism in Sartre's Existentialism, in the situation of the obstacles in the present time such as air pollutions war, and so on, is also to be encouraged.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17706
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakchai_Ni_front.pdf366.91 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Ni_ch1.pdf317.79 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Ni_ch2.pdf340.93 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Ni_ch3.pdf813.2 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Ni_ch4.pdf368.78 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Ni_ch5.pdf572.15 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Ni_ch6.pdf521.93 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Ni_back.pdf246.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.