Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17717
Title: ความชุกของภาวะซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติก อายุ 3-10 ปี ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล
Other Titles: Prevalence of depression and social support in mothers of children with autism aged 3-10 years at outpatient department, Rajanukul Institute
Authors: สุภาพ ชุณวิรัตน์
Advisors: เดชา ลลิตอนันต์พงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Decha.L@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้าในสตรี
โรคซึมเศร้า
มารดา
Depression in women
Psychotic depression
Mothers
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยศึกษาที่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าของมารดาเด็กออทิสติก ความสัมพันธ์ของแรงสนับสนุนทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของมารดาเด็กออทิสติก ณ สถาบันราชานุกูล โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 155 ราย ในระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม-20 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดหาโรคซึมเศร้า (Health Self-Report : HRSR The Diagnostic Screening Test for Depression in Thai Population) และแบบสอบถามวัดแรงสนับสนุนทางสังคม (The Personal Resource Questionnaire : PRQ Pat II) ของแบรนด์และไวนเนอร์ท (Brand and Weinert) ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยการคำนวนค่า Chi-square และ One-Way ANOVA ผลการศึกษา ความชุกภาวะซึมเศร้าของมารดาเด็กออทิสติกคือ ร้อยละ 20 ส่วนใหญ่มีแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง แรงสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 ปัจจัยด้านรายได้ของครอบครัว ความเพียงพอของรายได้ สุขภาพเด็ก สถานที่รักษา ปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่ทำให้มารดากังวล และปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของมารดา มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของมารดาเด็กออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 ส่วนประวัติโรคทางจิตเวชเดิม และการดูแลเด็ก มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 ปัจจัยด้านการดูแลเด็กและปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของมารดา มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 รายได้ของครอบครัวความเพียงพอของรายได้ สุขภาพเด็ก มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 มารดาเด็กออทิสติกที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำจะพบว่า มีแรงสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำในด้านการมีโอกาสได้อบรมเลี้ยงดูผู้อื่น และการส่งเสริมให้รู้ถึงคุณค่าของตนเองมากกว่าด้านอื่น จากผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าของมารดาเด็กออทิสติกอายุ 3-10 ปี มีระดับสูงกว่าประชากรปกติ แรงสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำจะมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า จงควรเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในมารดาเด็กออทิสติก และการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมแก่มารดา อาจจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้
Other Abstract: This study was cross-sectional descriptive study. The purposes were to find prevalence of depression in mothers of children with autism, determine the relationships between the social supporting system and related factors about depression in mothers of children with autism. This study consisted of 155 mothers participating during 20 August-20 October 2009. The instruments used in this study were the standard The health-Related Self-Report : HRSR The Diagnostic Screening Test for Depression in Thai Population and The Personal Resource Questionnaire (PRQ Part II). The data were analzed by descriptive statistics, Chi-square test and One-Way ANOVA. The results of this Study were as following: Prevalence of depression in mothers of children with autism was 20 percent. The social supporting system of most mothers of children with autism were at moderate degree and the social supporting system were significantly related to depression in mothers of children with autism (p<0.001). Factors were significantly related to depression in mothers of children with autism were income, economic status, health of children, place of treatment and behavioral problem (p<0.01), the history of psychiatric illness and care of children (p<0.05). Factors were significantly related to the social supporting system in mothers of children with autism were care of children and behavioral problem (p<0.01), income, economic status, and health of children (p<0.05). Mothers of children with autism had the low level of social supporting system reflected that the low level of opportunity for nurturance and low self-worth. According to the finding of this study, prevalence of depression in mothers of children with autism aged 3-10 years high level than normal population. The social supporting system in the low level significantly to depression in mothers of children with autism such as should be on the lookout for depression and promote the social supporting system in mothers of children with autism will be decreasing depression in mothers of children with autism.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17717
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.478
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.478
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supap_ch.pdf40.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.