Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17726
Title: | ลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยม แบบประสมประเภทสหศึกษา ในภาคกลางของประเทศไทย |
Other Titles: | Counselor characteristics as preferred by coeducational comprehensive high school students in Thailand central region |
Authors: | ศักดิ์สิทธิ์ ขัตติยาสุวรรณ |
Advisors: | พรรณี ชูทัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | บุคลิกภาพ |
Issue Date: | 2519 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือการสำรวจลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนมัธยมแบบประสม ประเภทสหศึกษา ในภาคกลางของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้น ม.ศ. 1-5 ปีการศึกษา 2518 จำนวน 1,095 เป็นนักเรียนชาย 534 คน นักเรียนหญิง 561 คน จากโรงเรียนมัธยมแบบประสม 5 แห่ง คือ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนบางกะปิ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม และโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมี 2 ตอน ตอนที่ 1 ประกอบด้วยลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนว 7 คู่ และมีมาตรประเมินค่าแบบ 5 ช่วง กำกับอยู่ทุกคู่ สำหรับตอนที่ 2 ประกอบด้วยลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนว 7 คู่ และมีสถานการณ์ปัญหาให้นักเรียนพิจารณาประกอบการเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนว 5 สถานการณ์ คือ (1) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับทักษะและนิสัยในการเรียน (2) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (3) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายนอกครอบครัว (4) สถานการณ์ปัญหาส่วนตัวไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (5) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ และการเลือกอาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ไคสแควร์ (Chi-Square) วิเคราะห์ความแตกต่างในการเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวของนักเรียน ส่วนผลการประเมินค่าความสำคัญของลักษณะที่นักเรียนเลือก วิเคราะห์จากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ก.โดยทั่วๆ ไปแล้ว นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวที่มีลักษณะ (1) เป็นคนที่นักเรียนเช้าพบได้ง่ายและพบได้ตลอดเวลา (2) เป็นคนที่ใช้วิธีรับฟัง ช่วยให้นักเรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ และแก้ปัญหาด้วยตัวของนักเรียนเอง (3) เป็นเพศหญิง (4) เป็นคนที่แต่งกายเรียบร้อยอยู่เสมอ (5) เป็นคนมีเหตุผลมีความรอบรู้เฉลียวฉลาด ทำงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสติความยั้งคิด (6) เป็นคนที่เก็บปัญหาของนักเรียนไว้เป็นความลับอย่างยิ่ง (7) เป็นผู้ใหญ่ อายุเกิน 30 ปี ผลการประเมินความสำคัญของลักษณะผู้ให้คำปรึกษาและแนวที่นักเรียนเลือกในสถานการณ์ทั่วไป จัดอันดับความสำคัญได้ดังนี้ (1) ลักษณะเกี่ยวกับอารมณ์ – ความรู้ (2) ลักษณะเกี่ยวกับการเก็บปัญหาของนักเรียนไว้เป็นความลับ (3) ลักษณะเกี่ยวกับวิธีการให้คำปรึกษา (4) ลักษณะเกี่ยวกับการให้นักเรียนเข้าพบ (5) ลักษณะเกี่ยวกับวัย-อายุ (6) ลักษณะเกี่ยวกับเพศ (7) ลักษณะเกี่ยวกับการแต่งกาย เมื่อแยกศึกษาตามเพศปรากฏว่านักเรียนชาย-หญิง ต้องการผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวที่เป็นเพศเดียวกันกับตน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า นักเรียนหญิงต้องการผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวที่เก็บปัญหานักเรียนไว้เป็นความลับมากกว่านักเรียนชาย การเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวดังกล่าวทั้ง 2 ลักษณะ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนลักษณะอื่นๆ นักเรียนชายและหญิง เลือกคล้ายคลึงกัน ข. โดยทั่วๆ ไปแล้วสถานการณ์ปัญหามีผลต่อการเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวที่พึงประสงค์ของนักเรียน (1) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับทักษะและนิสัยการเรียน นักเรียนเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาต่อไปนี้เฉพาะเจาะจงลงไป (P < .001) วัย-อายุ การแต่งกายอารมณ์-ความรู้ การให้นักเรียนเข้าพบ และวิธีการให้คำปรึกษาส่วนการเลือกลักษณะเกี่ยวกับเพศและการเก็บปัญหาของนักเรียนไว้เป็นความลับ ไม่เฉพาะเจาะจงลงไป (2) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว นักเรียนเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวทุกลักษณะเฉพาะเจาะจงลงไป ลักษณะที่พบความแตกต่างในการเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้แก่ เพศ วัย-อายุ การเก็บปัญหาของนักเรียนไว้เป็นความลับ การแต่งกาย การให้นักเรียนเข้าพบ และวิธีให้คำปรึกษา ส่วนลักษณะเกี่ยวกับอารมณ์-ความรู้ พบว่ามีความแตกต่างในการเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายนอกครอบครัวนักเรียนเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวทุกลักษณะเฉพาะเจาะจงลงไป (P < .001) (4) สถานการณ์ปัญหาส่วนตัวไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักเรียนเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวทุกลักษณะเฉพาะเจาะจงลงไป ลักษณะที่พบความแตกต่างในการเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้แก่ เพศ วัย-อายุ การเก็บปัญหาของนักเรียนไว้เป็นความลับ อารมณ์-ความรู้ การให้นักเรียนเช้าพบ และวิธีการให้คำปรึกษาส่วนลักษณะเกี่ยวกับการแต่งกาย พบว่ามีความแตกต่างในการเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพ นักเรียนเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวต่อไปนี้เฉพาะเจาะจงลงไป (P < .001) วัย-อายุการเก็บปัญหาของนักเรียนไว้เป็นความลับ อารมณ์-ความรู้ การให้นักเรียนเข้าพบ และวิธีการให้คำปรึกษา ส่วนการเลือกลักษณะผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวเกี่ยวกับเพศและการแต่งกาย ปรากฏว่าไม่เฉพาะเจาะจงลงไป |
Other Abstract: | The purpose of this study was to ascertain the desirable characteristics of a counselor in coeducational comprehensive high school students in Thailand Central Region. The subjects wore 1095 students comprised of 534 boys and 561 girls studying in M.S. 1 - 5 in the following schools: Samsen Wittayalai, Bangkapi, Suwannaram Wittyakhom, Saraburi Wittayakhom and Pibul Wittayalai. The questionnaire used as the instrument for this study was comprised of two parts. Five Point rating scale was presented with each of the seven pairs of counselor characteristics in the first part. The second part dealt with the effect of five student problem situations on the choice of the seven pairs of counselor characteristics presented in the first part. The five problem areas selected were: (1) Study skills and habits (2) Family relations (3) Interpersonal relations (4) Self reference (5) Educational and Vocational problems and planning. In order to determine if there existed significant differences between the choices of students' preferred counselor characteristics, chi-square test was employed far data analysis. The results of the rating scale were reported in terms of means and standard deviations. Findings: A. Some characteristics of a counselor were statistically identified conclusively as follows: (1) To be available at all time (2) Nondirective (3) Female (4) Always tidily dressed (5) Possessed logical, knowledgeable, efficient and poised characteristics (6) Confidentially kept students' records (7) Mature person whose age was above thirty. The priority of the counselor characteristics evaluated by weighing seven different aspects were affective-cogmitive chara¬teristics, maintaining confidentiality, counseling approach, availability, age, sex and dressing. Male and Female students tended to select a counselor of the same sex as they were. Relatively, more female Students preferred a counselor who could keep students' records confidentiali¬ty. Statistical significance at .001 level was found 'on both of the above remarks. The rests were not significantly different. B. Problem situations generally effected the students' choice of counselor characteristics. (1) The problem situation of study skills and habits was definitely concerned about the counselor's age, dressing, affective-cognitive characteristics, availability, and counseling approach (p < .001). However, the students were not definite in their preferences about the counselor's sex and maintaining confidentiality. (2) The problem situation of family relations was definitely concerned about all of the presented counselor's characteristics. Statistical significance at .001 level was found on the counselor's sex, age, maintaining confidentiality, dressing, availability and counseling approach. Relatively small difference was found on the affective-cognitive characteristics (p < .05). (3) The problem situation of interpersonal relations was definitely concerned about all of the presented counselor characteristics .(P < .001). (4) The problem situation of self reference was definitely concerned about all of the presented counselor characteristics. Statistical significance at .001 level was found on the counselor's sex, age, maintaining confidentiality, availability, affective-cognitive characteristics and. counseling approach. Relatively small' difference was found on the counselor's dressing (p <.05). (5) The problem situation of educational and vocational problems and planning was definitely concerned about the counselor's age, maintaining confidentiality, availability, affective-cognitive characteristics and counseling approach (p < .001). However, the students were not definite in their preferences about the counselor's sex and dressing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17726 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saksit_Kh_front.pdf | 424.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saksit_Kh_ch1.pdf | 699.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saksit_Kh_ch2.pdf | 350.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saksit_Kh_ch3.pdf | 814.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saksit_Kh_ch4.pdf | 635.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saksit_Kh_ch5.pdf | 411.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saksit_Kh_back.pdf | 661.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.