Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorตีรณ พงศ์มฆพัฒน์-
dc.contributor.authorอิสร์กุล อุณหเกตุ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-03-11T08:16:47Z-
dc.date.available2012-03-11T08:16:47Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17747-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractงานศึกษาชิ้นนี้ใช้แนวคิดเรื่องต้นทุนธุรกรรม (Transaction Costs) แบบสำนักเศรษฐศาสตร์สถาบันแนวใหม่ (New Institutional Economics) เป็นกรอบการวิเคราะห์ เพื่ออธิบายว่า เหตุใดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลกจึงเป็นไป อย่างล่าช้า โดยแบ่งต้นทุนธุรกรรมในการเจรจารอบโดฮาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนใน การค้นหาและต้นทุนด้านข้อมูล (Search and Information Costs) ต้นทุนในการเจรจา ต่อรองและตัดสินใจ (Negotiation and Decision Costs) และต้นทุนในการควบคุมดูแล และบังคับใช้ (Supervision and Enforcement Costs) ในช่วงก่อนการเจรจานั้น ความไม่สมบูรณ์ของสารสนเทศทำให้ประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลกมีต้นทุนในการค้นหาและต้นทุนด้านข้อมูลเกี่ยวกับผลได้-ผลเสียของผล การเจรจาสูง ความซับซ้อน (Complexity) และความไม่แน่นอน (Uncertainty) ในการ เจรจายิ่งทำให้ต้นทุนดังกล่าวสูงขึ้น ขณะที่ในช่วงการเจรจานั้น ต้นทุนในการเจรจาต่อรอง และตัดสินใจนับเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสในการดำเนินนโยบายการค้าในแนวทางอื่นๆ ของ ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่มีทรัพยากรในการเจรจาจำกัด ทั้งในแง่ บุคลากรและงบประมาณ นอกจากนี้ หากการเจรจาสามารถลุล่วงไปได้ ประเทศสมาชิกยัง ต้องเผชิญกับต้นทุนในการควบคุมดูแลและบังคับใช้ความตกลงต่างๆ ซึ่งเป็นผลลัพธ์จาก การเจรจา ต้นทุนด้านนี้จะเพิ่มมากขึ้นหากประเทศสมาชิกอื่นมีแนวโน้มที่จะทำผิด พันธกรณีตามสัญญา (Contractual Obligations) และกลไกการบังคับใช้ภายใต้องค์การ การค้าโลกไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องรักษาจุดยืนในการเจรจาของตนให้มากที่สุด และพยายามผลักภาระต้นทุนธุรกรรมเหล่านี้ไปยังประเทศสมาชิกอื่น การประนีประนอม ผลประโยชน์ระหว่างกันจึงเกิดขึ้นได้ยาก และทำให้ไม่สามารถหาข้อสรุปของการเจรจารอบ โดฮาร่วมกันได้en
dc.description.abstractalternativeThis paper is aimed at explaining why the ongoing Doha round of negotiation has been undergone a lengthy stalemate since its inception in 2001.Taking the theory of transaction costs, it pursues the issue by dividing the transaction costs into three categories; Search and Information Cost, Negotiation and Decision Cost, and Supervision and Enforcement Cost. Considering Search and Information Cost, first of all, the imperfect information prior to the negotiation causes a high cost of searching and assembling the information to the WTO members in order to calculate their own cost-benefit of the possible outcome, and even higher when the negotiation confronts with complexity and uncertainty. Secondly, Negotiation and Decision Cost resulting from the ongoing meeting is on other hand an opportunity cost to participants in conducting another different path of their trade policy, particularly to the developing countries whose human resources and budget are in short supply. Finally, when the negotiation is succeeded with a significant level, the members would take the cost of supervising and enforcing those new rules of WTO. Given the soft enforcement of WTO rules, this kind of expense tends to increase in case of other countries violating their contractual obligations. Taking these three costs of transaction into account, the WTO members have to hold their position in negotiation as much as possible, and try to push these transaction cost to other countries in the same time. As a consequence, this circumstance causes difficulty in making a multilateral deal and finalizing the rounden
dc.format.extent1362603 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.177-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectต้นทุนการผลิตen
dc.subjectการส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศen
dc.subjectไทย -- การค้ากับต่างประเทศen
dc.titleเศรษฐศาสตร์สถาบันว่าด้วยการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาen
dc.title.alternativeInstitutional economics on the Doha round of multilateral trade negotiationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTeerana@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.177-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
itsakul_un.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.