Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17752
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมคิด รักษาสัตย์-
dc.contributor.authorบัญจางค์ สุขเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2012-03-11T08:53:30Z-
dc.date.available2012-03-11T08:53:30Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17752-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการด้านสุขภาพอนามัย ในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาความคิดเห็นของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ และผู้ให้บริการด้วยกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้แก่ ผู้ให้บริการ คือพยาบาลประจำการ พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย และแพทย์ ผู้รับบริการคือ ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน (แผนกสามัญ) และผู้ป่วยใน (แผนกพิเศษ) ในแผนกอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ จำนวน 120 คน จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง รวมทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ สิทธิของผู้รับบริการในด้านการรับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย สิทธิในด้านการเป็นเจ้าของชีวิตของผู้รับบริการ สิทธิในด้านชีวิตส่วนตัวของผู้รับบริการ สิทธิของผู้รับบริการในด้านการรักษาเกียรติ และศักดิ์ศรีของตน สิทธิในด้านความปลอดภัยของผู้รับบริการ สิทธิในด้านทรัพย์สินของผู้รับบริการ สิทธิของผู้รับบริการในด้านการแสดงความคิดเห็นต่อการรักษาพยาบาลที่ได้รับ และสิทธิของผู้รับบริการในด้านการนับถือศาสนา นำไปหาความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยง ได้ค่า 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-Test) และทดสอบค่าเอฟ (f-Test) สรุปผลการวิจัย 1. พยาบาลประจำการกับผู้รับบริการทุกกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนความคิดเห็นในแต่ละด้าน พบว่าพยาบาลประจำการกับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน (แผนกสามัญ) และผู้ป่วยใน (แผนกพิเศษ) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการ ด้านสุขภาพอนามัย ในด้านการนับถือศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และพยาบาลประจำการกับผู้ป่วยนอก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยในด้านการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้รับบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยกับผู้รับบริการทุกกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนความคิดเห็นในแต่ละด้าน พบว่า พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยกับผู้ป่วยนอกมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการ ด้านสุขภาพอนามัยในด้านการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้รับบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. แพทย์กับผู้รับบริการทุกกลุ่ม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนความคิดเห็นในแต่ละด้าน พบว่า แพทย์กับผู้ป่วยนอกมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการ ด้านสุขภาพอนามัยในด้านการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้รับบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. พยาบาลประจำการ พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย และแพทย์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยไม่แตกต่างกัน ซึ่งสนองสมมติฐาน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study opinions concerning consumer’s rights of health care services in University Hospitals, Bangkok Metropolis and to compare the difference of opinions of each group of health care provider with consumers, and also the difference among those three groups of providers. The selected sample of this research was 60 providers of registered nurse, head nurse and doctor and 60 consumers from in-patient, out-patient and private-patient in medical and surgical wards in Siriraj and Ramathibodi Hospitals, and it was a purposive random sampling. The instrument was an interview from constructed by the researcher, and it consisted of 8 areas, there were consumer’s rights in receiving care, rights to live, rights to persuit of happiness, rights to maintain dignity, rights to having safety, rights to have property, rights to express about health care received and rights of religions freedom The instrument was tested for content validity and reliability. The reliability was .96. Then data were analyzed by using various statistics such as: percentage, arithmetic mean, standard deviation, T-Test and F-Test. The Major Finding: 1. There was no statistically significant difference on opinions between registered nurses’ group and the consumers’ group concerning consumer’s rights of health care services, Therefore, the hypothesis was not retained. There was a statistically significant difference on opinions between registered nurses’ group and the consumers’ group concerning rights of religions freedom at .05 level, and between registered nurses’ group and consumers from out-patient wards concerning rights to maintain dignity at .05 level. 2. There was no statistically significant difference on opinions between head nurses’ group and the consumers’ group concerning consumer’s rights to health care services, Therefore, the hypothesis was not retained. There was a statistically significant difference on opinions between head nurses’ group and consumers from out-patient ward concerning rights to maintain dignity at .05 level. 3. There was no statistically significant difference on opinions between doctors’ group and all consumers concerning consumers’ rights to health care services, Therefore, the hypothesis was not retained. There was a statistically significant difference on opinions between doctors’ group and consumers from out-patient ward concerning rights to maintain dignity at .05 level. 4. There was no statistically significant difference on opinions among those three groups of registered nurse, head nurse and doctor concerning consumers’ right of health care services. Therefore, the hypothesis was retained.-
dc.format.extent572821 bytes-
dc.format.extent772557 bytes-
dc.format.extent1876191 bytes-
dc.format.extent483665 bytes-
dc.format.extent1375164 bytes-
dc.format.extent1331216 bytes-
dc.format.extent2074937 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาลกับผู้ป่วยen
dc.subjectการพยาบาลen
dc.subjectผู้ป่วยen
dc.subjectสิทธิมนุษยชนen
dc.titleความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริการด้านสุขภาพอนามัย ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeOpinions concerning consumers' rights of health care services in university hospitals, Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Banjang_Su_front.pdf559.4 kBAdobe PDFView/Open
Banjang_Su_ch1.pdf754.45 kBAdobe PDFView/Open
Banjang_Su_ch2.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Banjang_Su_ch3.pdf472.33 kBAdobe PDFView/Open
Banjang_Su_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Banjang_Su_ch5.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Banjang_Su_back.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.