Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17763
Title: เสนาบดีกระทรวงธรรมการในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
Other Titles: Ministers of public instruction or education under the absolute monarchy
Authors: แน่งน้อย ติตติรานนท์
Advisors: รอง ศยามานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กระทรวงศึกษาธิการ -- ประวัติ
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งที่จะค้นคว้ารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทการบริหารงานของเสนาบดีกระทรวงธรรมการแต่ละท่าน ตั้งแต่เริ่มตั้งกระทรวงธรรมการ จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 ในบทที่ 1 จึงกล่าวถึงความสำคัญของตำแหน่งเสนาบดีธรรมการ ซึ่งอาจนับได้ว่ามีมาแต่สมัยโบราณ คือ ตำแหน่งพระยาพระเสด็จ แต่มีบทบาทเพียงความเกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ในพุทธศาสนาเท่านั้น ตำแหน่งนี้ได้ปรากฏเด่นชัดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการขึ้น มีขอบเขตหน้าที่รวมกิจการศาสนา การศึกษากรมราชบัณฑิต กรมพยาบาล และพิพิธภัณฑ์เข้าอยู่ในบุคคลเดียว แต่กิจการที่สำคัญและเป็นหัวใจของกระทรวงที่เสนาบดีได้กระทำคือ ด้านการศึกษาเป็นหลักใหญ่ ส่วนการพระศาสนาซึ่งสำคัญเช่นเดียวกันก็มีความเป็นระเบียบอยู่แล้ว ดังนั้น ในบทที่ 2 จึงกล่าวถึงสาเหตุที่เสนาบดีกระทรวงจำเป็นต้องสนใจในการปรับปรุงการศึกษาให้เป็นแบบสากล ซึ่งจะเห็นความบกพร่องของวิธีการจัดการศึกษาแบบเก่า และอิทธิพลของการจัดการศึกษาแบบเก่า และอิทธิพลของการจัดการศึกษาแบบใหม่ของคณะสอนศาสนา ผลกระทบจากลัทธิจักรวรรดินิยม และความต้องการคนเข้ารับราชการในระยะนั้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ และการพัฒนาการศึกษาจึงได้เริ่มจากในพระบรมมหาราชวังก่อนสำหรับบทที่ 3 จะเห็นว่าผู้มีบทบาทสำคัญของกระทรวงธรรมการแต่แรกเริ่มคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร แม้จะทรงเป็นอธิบดีกรมธรรมการเพียงระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ทรงวางระเบียบปฏิบัติในการปรับปรุงงานของกระทรวงธรรมการไว้หลายประการ สำหรับบทที่ 4 นั้น เป็นบทบาทของเสนาบดีกระทรวงธรรมการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีสองท่านคือ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์และเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร แต่ในระยะนี้เสนาบดีทั้งสองท่านก็เรียกว่ายังทำงานไม่ได้เต็มที่ เนื่องจากความจำเป็นในด้านป้องกันประเทศ และภาวะความมั่นคงทางการเมืองภายในเป็นสิ่งสำคัญ ความทุ่มเทและความสนใจของรัฐบาลจึงมิได้อยู่ที่กระทรวงธรรมการอย่างเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี ความมั่นคงภายในก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาด้วยจึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้คณะสงฆ์เข้ามาช่วยเหลือและต่อมาก็ทรงให้กระทรวงมหาดไทยได้ควบคุมอย่างใกล้ชิด เสนาบดีกระทรวงธรรมการในระยะนี้จึงมีบทบาทน้อยกว่าที่ควร ในบทที่ 5 ได้กล่าวถึงบทบาทของเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งได้บริหารงานอย่างเต็มที่ สมเป็นกระทรวงเสนาบดี ในระยะนี้เสนาบดีกระทรวงธรรมการสองท่านแรก คือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ร่วมทำงานกันมาอย่างใกล้ชิด และการศึกษาก็ได้ควบคู่ไปกับนโยบายการปกครองมากขึ้น นโยบายจัดการศึกษาภาคบังคับ จัดเป็นนโยบายที่สำคัญ ความเข้มแข็งของเสนาบดีทำให้กระทรวงธรรมการ สามารถจัดการศึกษาได้เต็มที่จนถึงระดับอุดมศึกษาด้วย และสิ่งสำคัญในระยะนี้คือความพยายามที่จะเปลี่ยนจุดหมายให้การศึกษาเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางสังคม และอาชีพอย่างเด่นชัดขึ้นสำหรับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตินั้น ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอันมีผลเกี่ยวข้องมาถึงกระทรวงธรรมการด้วย ประกอบกับทรงดำรงตำแหน่งในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่ได้บริหารงานเต็มที่ การขยายงานและการแก้ไขปัญหาจึงยังไม่เป็นไปตามที่เสนาบดีตั้งพระทัยไว้ บทที่ 6 เป็นการกล่าวถึงอุปสรรคและความสำเร็จที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานของเสนาบดีกระทรวงธรรมการ นับตั้งแต่การวางโครงการศึกษาหรือแผนการศึกษา ความพยายามจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเปรียบเทียบให้เห็นถึงสภาวะและอำนาจทางการเมืองของเสนาบดีกระทรวงธรรมการที่จะบริหารงานไปได้ บทที่ 7 เป็นการสรุปถึงบทบาทของเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่เริ่มตั้งเป็นกระทรวงเสนาบดีจนถึง พ.ศ. 2475 การบริหารและความพยายามพัฒนาหน่วยงานนี้ขึ้นมา เป็นการพัฒนาด้วยความคิดของตัวเอง มิได้มีความช่วยเหลือจากเงินทุนหรือกำลังสมองจากต่างประเทศ ข้อที่น่าสังเกตคือ แม้เสนาบดีกระทรวงธรรมการส่วนใหญ่จะมิใช่นักการศึกษา แต่ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะบริหารงานเท่าที่ขอบเขตอำนาจของแต่ละท่านจะทำไปได้ และโครงการเกี่ยวกับการศึกษาก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน น่าจะกล่าวได้ว่ามาบรรลุผลในรัชกาลที่ 6 โดยมีการศึกษาชั้นประถม มัธยม และอุดมศึกษา ตลอดจนการศึกษาภาคบังคับ ในด้านการพระศาสนา การบริหารศาสนกิจและการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาได้จัดไว้เป็นระเบียบภายใต้มหาเถระสมาคม ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานอยู่แล้ว งานของกระทรวงธรรมการจึงเป็นภาระที่มิได้สิ้นสุดลงพร้อมกับสภาพความเป็นเสนาบดีแต่ละสมัย แต่จำเป็นต้องมีการรับช่วงนโยบายและปัญหามาปรับปรุงแก้ไขต่อไป การวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นว่า กิจการของกระทรวงธรรมการแต่ก่อน นอกจากจะอาศัยความสามารถเฉพาะตนของเสนาบดีแล้วยังเป็นกิจการที่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลนอกวงการ และควรที่จะถือว่าเป็นการผูกพันกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติอย่างแยกไม่ออก แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า งบประมาณการศึกษาน่าจะได้เพิ่มขึ้นกว่าที่ปรากฏมาแล้ว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการคลังของประเทศตกต่ำประการหนึ่งและอาจเป็นเพราะรัฐบาลในระยะนั้นยังคำนึงถึงความสำคัญในด้านนี้ไม่มากเท่าที่ควรก็เป็นได้
Other Abstract: The main purpose of this thesis is to accumulate data concerning the roles of the ministers of public instruction from the establishment of this office until the change of the regime in 1932 from an absolute monarchy to a constitutional government. Chapter I deals with the significance of the post of the Minister of Instruction, formerly known as Praya Phrasadet, whose responsibility was only concerned with the Buddhist Church. This post became more eminent in the reign of King Chulalongkorn (Rama V) who established the title of “Minister of Public Instruction” responsible for religious affairs, education, hospital work, public health, and museums. However, the first and foremost task of the Minister of public instruction was education, since the religious affairs, though equally important, were already administered by the Grand Buddhist council, consisting of the supreme patriarch, the Archbishops and some senior bishops. Chapter II enumerates the reasons that led to the reform and modernization of the Thai system of education. Realizing of the deficiencies of the old education system, the influence of the missionary in the new system of education coupled with the pressure of imperialism pursued by France and Great Britain and the need to supply civil servant to the Thai Government, the educational reform first was started within the royal circle. In chapter III, the person who played a very important and memorable role in the Ministry of public instruction from the very beginnings was Prince Damrong Rajanubhab, known at that time as Prince Disavorakumara. Although he was in charge of this office for a short period he had set down a number of principles for the educational reform. Chapter IV discusses the role of the two Ministers of Public Instruction in the reign of King Rama V, namely Chaophraya Phatsakorawong and Chaophraya Wichitwongwuthikrai. During this period, however, these two ministers could not perform their duties to the fullest of their ability, since the interest and concern of the government at that time were mainly on national defense and internal security of the country, not education. Consequently, King Rama V asked the Buddhist monks to help educating children and the Ministry of Interior later cooperated closely with them. The role of the ministers of public instruction, in this period, therefore was somewhat overshadowed. Chapter V narrates and comments on the role of the Ministers of Education from the reign of king Rama VI until the Change of the regime. The first two ministers were Chao Phraya Pra Sadet Surentrathibodi and Chao Phraya Thamasakdimontri, who had collaborated closely in bringing progress to the Ministry of Educational Policy which was bound up with the administrative policy resulted in the proclamation of the education act in 1921. Due to the abilities of these two ministers, the educational system from the elementary to the university level was successfully organized. One feature of their outstanding work in this period was an attempt to change the educational objective to fit in with the social and professional needs of the people. In the reign of King Rama VII, the serious economic crisis in the country seriously affected the work of the Ministry of Public Instruction or education. Prince Dhani Niwat, who was the Minister for six years, could not therefore promote the expansion of education reform as planned. Chapter VI is concerned with the problems and achievements of the Ministers of Public instruction or education during the period discussed in this thesis. Chapter VII concludes with a summary of the Ministers of Public Instruction or education making great efforts to press the development of the work of reform without aid and personnel from abroad. It was notable that although most of these ministers were not educationists, they had attempted to do their best in the field of education, and the Buddhist studies constituted a responsibility of the Grand Buddhist Council. This research points out that the success or failure of the ministers depended not only on their abilities, but also on related factors outside the educational circle, the educational budget should have been greatly increased. However, as it actually happened, no increase in the budget could be noted due to the priority of the other fields of the government work.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17763
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nangnoi_Ti_front.pdf787.33 kBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_ch1.pdf971.6 kBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_ch2.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_ch3.pdf734.91 kBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_ch4.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_ch5.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_ch6.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_ch7.pdf569.49 kBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ti_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.