Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17772
Title: | การสร้างแบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่ง |
Other Titles: | A construction of the cardiovascular test by running method |
Authors: | ไพรินทร์ จำลองราษฎร์ |
Advisors: | อนันต์ อัตชู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สมรรถภาพทางกาย ความดันเลือด การวิ่ง |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะสร้างแบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่ง โดยใช้สูตร 2 สูตร ประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต = ระยะทางวิ่ง (ม.) x น้ำหนักตัว (กก.) _________ เวลาที่ใช้วิ่ง (นาที) x ผลต่างอัตราชีพจรก่อนวิ่งและหลังวิ่ง หรือ ประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต = ระยะทางวิ่ง (ม.)x น้ำหนักตัว (กก.) x ส.ป.ส. แรงเสียดทานฯ เวลาที่ใช้วิ่ง (นาที) x ผลต่างอัตราชีพจรก่อนวิ่งและหลังวิ่ง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักศึกษาชายอาสาสมัคร ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ของวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ จำนวน 40 คน อายุเฉลี่ย 21.03 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 55.13 กิโลกรัม และส่วนสูงเฉลี่ย 165.5 เซนติเมตร ทำการทดสอบเออร์โกเมตรีย์กลุ่มตัวอย่างตามวิธีของออสตรานด์ เพื่อหาค่าสมรรถภาพการจับอ๊อกซิเจนสูงสุดและใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตหลังจากนั้นทดสอบวิ่ง 800 เมตร 1,200 เมตร และ 1,600 เมตร หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการทดสอบเออร์โกเมตรีย์ กับคะแนนประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่งทั้ง 3 ระยะ เพื่อหาความแม่นตรงของข้อทดสอบ และทำการทดสอบวิ่งซ้ำทั้ง 3 ระยะ ภายหลังจากการพัก 1 สัปดาห์ เพื่อหาความเชื่อถือได้ของข้อทดสอบ ผลการวิจัยปรากฏว่า ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างลู่วิ่งกับพื้นรองเท้ามีค่าเท่ากับ 0.51 มัชฌิมเลขคณิตของคะแนนการทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่งทั้ง 3 ระยะ แบบไม่คิดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างลู่วิ่งกับพื้นรองเท้ามีค่าเท่ากับ 156.04, 154.72 และ 151.08 กิโลกรัม-เมตร ต่อ นาที ต่อผลต่างอัตราชีพจรก่อนวิ่งและหลังวิ่ง ตามลำดับ และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01แบบคิดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างลู่วิ่งกับพื้นรองเท้า มัชฌิมเลขคณิตมีค่าเท่ากับ 78.19, 77.36, และ 75.54 กิโลกรัม-เมตร ต่อนาที ต่อผลต่างอัตราชีพจรก่อนวิ่งและหลังวิ่ง ตามลำดับ และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทดสอบเออร์โกเมตรีย์ กับคะแนนการทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่ง มีค่าเท่ากับ 0.974, 0.976 และ 0.939 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่ง 800 เมตร, 1,200 เมตร และ 1,600 เมตร จากการทดสอบครั้งแรก และการทดสอบซ้ำในแต่ละระยะทาง มีค่าเท่ากับ 0.95, 0.96 และ 0.87 ตามลำดับ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่ง 3 ระยะ มีความแม่นตรงและเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตได้จริงทั้ง 2 แบบ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to construct a cardiovascular test by running method by using the following formulas : Cardiovascular Efficiency = Distance (M.) X Body Weight (Kg.) ______________ Time (Minute) X Difference of Pulse Rate before and after running and/or Cardiovascular Efficiency = Distance (M.) X Body Weight (Kg.) X Coefficient of Friction__ Time (Minute) X Difference of Pulse Rate before and after running The subjects were forty younger men at the higher certificate of education level of Uttaradit Teacher College, whose average age, body weight and height were 21.03 years, 55.13 kgs. and 165.5 cms. respectively. Astrand’s ergometric test was used in order to find the maximum oxygen uptake capacity for use as a criterion test for comparison with the cardiovascular efficiency. Subjects were tested in 3 distance runs, namely, 800 metres, 1,200 metres, and 1,600 metres. The coefficient of correlation between the results obtained from ergometric and the cardiovascular tests as determined by running method in the 3 distances was made in order to validate the test. Retest in the three distance run was also conducted in order to determine the reliability of the test. After a week of rest. The results showed that the coefficient of friction between the track and the shoe was 0.51. The mean scores of the cardiovascular test by running 800 metres, 1,200 metres, and 1,600 metres. without taking the coefficient of friction between the track and the shoe in to account were 156.04, 154.72 and 151.08 Kg.M./Min./Pulse Rate Difference. There was no significant at the .01 level. While the coefficient of friction between the track and the shoe was taken into account, the mean scores were 78.19, 77.36, and 75.54 Kg.M./Min./Pulse Rate Difference. Again there was no significant difference at the .01 level. The coefficient of correlation between the test and retest of the cardiovascular test by running each distance was 0.95, 0.96 and 0.87 respectively, which were significant at the .01 level. This study verified that the cardiovascular test by running in each of 3 distance methods was valid and reliable. Both formulas found in this study might be used in testing the cardiovascular efficiency effectively |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17772 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pairin_Ch_front.pdf | 466.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pairin_Ch_ch1.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pairin_Ch_ch2.pdf | 406.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pairin_Ch_ch3.pdf | 464.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pairin_Ch_ch4.pdf | 408.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pairin_Ch_back.pdf | 525.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.