Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17793
Title: การกำหนดสมรรถนะมาตรฐานของบริษัทจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาศัยหลักการประเมินผลเชิงดุลยภาพ (Balanced scorecard)
Other Titles: Determination of standard performance of an industrial product distributor with balanced scorecard concept
Authors: ฐิติมา สุวรรณรังษี
Advisors: จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jeirapat.N@Chula.ac.th
Subjects: มาตรฐานการทำงาน
การวางแผนธุรกิจ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
สมรรถนะ -- การวัด
การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ)
ไอเอสโอ 9001
Performance standards
Business planning
Strategic planning
Performance -- Measurement
Benchmarking ‪(Management)‬
ISO 9001 Standard
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กำหนดสมรรถนะมาตรฐานของบริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาศัยหลักการประเมินผลเชิงดุลยภาพ (Balanced scorecard) ภายใต้ 5 มุมมอง โดยแบ่งเป็นการวัดผลกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรคือ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา และเนื่องจากลักษณะธุรกิจซึ่งต้องซื้อสินค้ามาจำหน่ายต่อยังลูกค้า ดังนั้นจึงต้องวัดผลกระบวนการดำเนินงานภายนอกด้วย คือ มุมมองด้านซัพพลายเออร์ ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย (1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล (2) กำหนดดัชนีชี้วัดสมรรถนะการดำเนินงานระดับองค์กร และเชื่อมโยงกลยุทธ์สู่ระดับแผนกเพื่อการปฏิบัติ โดยอาศัยหลักการประเมินผลเชิงดุลยภาพ (3) กำหนดค่าเป้าหมาย (4) จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความเหมาะสมของดัชนีวัดสมรรถนะภายใต้แต่ละมุมมอง (5) พัฒนาระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานและทบทวนค่าเป้าหมายที่กำหนดขึ้นสำหรับแผนกขาย โดยการเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน (6) จัดทำระบบเอกสารเพื่อการตรวจติดตามและปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต สรุปผลการกำหนดดัชนีชี้วัดสมรรถนะการดำเนินงานแต่ละแผนกได้ดังนี้ แผนกขายมีจำนวน 17 ดัชนี แผนกวิศวกรรมมีจำนวน 9 ดัชนี แผนกจัดซื้อและควบคุมสินค้ามีจำนวน 10 ดัชนี แผนกการเงินมีจำนวน 6 ดัชนี แผนกขนส่งมีจำนวน 6 ดัชนี และแผนกบริหารงานบุคคลมีจำนวน 3 ดัชนี จากนั้นนำดัชนีชี้วัดแผนกขายมาเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลที่ได้พบว่าดัชนีชี้วัดที่ต่ำกว่าคู่เปรียบเทียบ มีดังนี้ ดัชนียอดขายลูกค้าใหม่ ต่ำกว่า 26% ดัชนีส่งมอบตรงเวลา ต่ำกว่า 4% ดัชนีการปิดการขาย ต่ำกว่า 5% ดัชนีความสามารถในการวางแผนการตลาด ต่ำกว่า 20% และ ดัชนีการฝึกอบรม ต่ำกว่า 11%
Other Abstract: To determinate of standard performance of an industrial product distributor with balanced scorecard concept according to five perspectives that mentioned the internal business process: financial perspective, customer perspective, internal process perspective, and learning and growth perspective. Due to trading business also so identify the external business process: supplier perspective. The research methodology consists of: (1) Study and collect the information (2) KPIs of organizes level were determined and transformed the strategy into division level for action. (3) The targets KPIs were set. (4) The KPIs were suitable evaluated by the questionnaire according to each perspective. (5)The efficiency and target of sales department were developed by compare with another company. (6) The data forms were created to collect for monitoring and develop in the future. The result from determinate of standard performance: Sale department has 17 KPI , Engineering department has 9 KPIs, Purchasing department has 10 KPIs, Financial department has 6 KPIs, Transportation department has 6 KPIs and Personality department has 3 KPIs. The result form compare with another company of sale department: The new customer selling price is lower 26%, the delivery in time is lower 4%, the selling closing is lower 5%, the efficiency of market planning is lower 20% and the training is lower 11%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17793
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.597
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.597
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Titima_su.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.