Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17794
Title: การสั่นสะเทือนของรถยนต์ที่จอดติดบนสะพาน
Other Titles: Vibration of stopped vehicles on bridges
Authors: ธนวรรธน์ โสภณมหาผล
Advisors: ทศพล ปิ่นแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tospol.P@chula.ac.th
Subjects: สะพาน -- การสั่นสะเทือน
รถยนต์ -- การสั่นสะเทือน
มวลหน่วงปรับค่า
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Bridges -- Vibration
Automobiles -- Vibration
Tuned mass danyser
Mathematical models
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสามารถในการให้บริการของโครงสร้างสะพานเหล็กข้ามทางแยกในกรุงเทพมหานคร ในแง่ที่เกิดผลกระทบต่อผู้โดยสารภายในรถยนต์ซึ่งจอดติดอยู่บนสะพาน ในกรณีที่การจราจรบนสะพานข้ามทางแยกในแต่ละทิศทางมีความหนาแน่นแตกต่างกันมาก ทำให้ผู้โดยสารภายในรถยนต์ที่จอดติดอยู่บนสะพาน เกิดความรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนขึ้นทุกครั้งที่มียานพาหนะวิ่งผ่านในทิศทางตรงข้ามของสะพาน ซึ่งมีสาเหตุมาจากสะพานทั้งสองทิศทางวางตัวอยู่บนคานขวางเดียวกัน ในงานวิจัยนี้จะศึกษาถึงพฤติกรรมและผลกระทบของการสั่นไหวของสะพานต่อยานพาหนะที่จอดติดอยู่บนสะพาน โดยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของยานพาหนะที่จอดนิ่งบนคาน ซึ่งจุดรองรับทั้งสองด้านมีการเคลื่อนที่ตามแนวดิ่ง และอาศัยข้อมูลการเคลื่อนที่ของจุดรองรับสะพาน ที่ได้จากการทดสอบจริงในภาคสนามของสะพานเหล็กข้ามทางแยกแห่งหนึ่ง ภายใต้การเคลื่อนที่ผ่านของรถบรรทุกด้วยความเร็วต่างๆ และภายใต้การจราจรปรกติ ทำให้สามารถวิเคราะห์หาการสั่นสะเทือนของรถยนต์ที่จอดติดอยู่บนสะพานได้ การศึกษานี้พิจารณาผลของคุณสมบัติด้านน้ำหนัก และช่วงล่างของยานพาหนะ รวมทั้งตำแหน่งที่จอดติดบนสะพาน เพื่อให้ครอบคลุมรูปแบบต่างๆ ของรถยนต์ ผลการศึกษาพฤติกรรมการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ โดยอาศัยสัญญาณการสั่นไหวที่จุดรองรับสะพานภายใต้การเคลื่อนที่ผ่านของรถบรรทุกด้วยความเร็วต่างๆ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระดับการสั่นสะเทือนที่รุนแรงขึ้นอยู่กับค่าความถี่ช่วงล่างของรถยนต์ และความเร็วในการวิ่งผ่านของรถบรรทุกในทิศทางตรงข้าม โดยเฉพาะเมื่อรถยนต์มีค่าความถี่ช่วงล่างที่สูงจนมีค่าเข้าใกล้ความถี่ในโหมดการสั่นหลักของสะพาน ในขณะที่ค่าน้ำหนักของรถยนต์จะมีผลกระทบต่อค่าความเร่งที่เกิดขึ้นกับรถยนต์น้อยมาก เมื่อเทียบกับอิทธิพลของความเร็วในการวิ่งผ่านของรถบรรทุก และค่าความถี่ช่วงล่างของรถยนต์ ผลการประเมินโดยมาตรฐาน ISO2631 พบว่าการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ส่งผลกระทบให้เกิดรับรู้ได้ถึงการสั่นสะเทือนในทุกกรณี และเกิดความรู้สึกไม่สะดวกสบายกับผู้โดยสารในบางกรณี ในส่วนของการประเมินการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับรถยนต์โดยอาศัยสัญญาณการสั่นไหวที่จุดรองรับสะพาน ที่ตรวจวัดได้ภายใต้การจราจรปรกติ พบว่าการอยู่ภายใต้การสั่นสะเทือนภายในรถยนต์ที่มีระยะเวลายาวนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง 36 นาที (1.60 ชม.) จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้โดยสาร นอกจากนี้ยังพบว่าการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ภายใต้การจราจรปรกติ สามารถรับรู้ได้ในทุกกรณีและเกิดความรู้สึกไม่สะดวกสบายในบางกรณี ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรณีของการวิ่งผ่านโดยรถบรรทุก
Other Abstract: This research studies the serviceability of a steel fly-over bridge in Bangkok in case of different congestion in both traffic directions. The passengers in the stopped cars can feel the vibration induced by the passage of vehicles in opposite direction since the bridge decks of both traffic directions are placed on the same cross beam. The research focuses on the behavior and the effect of the bridge vibration on the stopped vehicles. The mathematical model of stopped vehicles on the bridge with vertical support motions is proposed. Based on the measured support motions from an actual bridge under the passages of a test truck driving with various speeds and under normal traffic condition, the vibration of the stopped vehicles on the bridge can be determined. To cover all types of passenger cars, the variations of their weights and suspension properties as well as the car position are considered. The obtained results under the passages of the test truck indicate that the two main effects on the acceleration of stopped vehicles are the suspension frequency of the vehicle and the speed of truck. Especially, the suspension frequency when its value closes to the natural frequency of the bridge. The effect of vehicle weight seems to be comparatively smaller. The obtained results also reveal that the passengers can percept the vibration in all considered cases but they may feel not-comfort in only some cases according to ISO2631. These results are similar to the cases under normal traffic condition. However, the induced vibration under normal traffic condition may affect the health of passengers if they are subjected to the vibration for longer than 1.6 hours.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17794
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanawat_so.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.