Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17807
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorถิรวุฒิ ธนวิชเพียรพาก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.coverage.spatialพัทยา-
dc.date.accessioned2012-03-12T14:30:19Z-
dc.date.available2012-03-12T14:30:19Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17807-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractรัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อช่วยส่งเสริมรายได้ให้กับทุกจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย รวมไปถึงจังหวัดกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากเป็นอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 ของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันทั่วโลกประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย ไข้หวัดใหญ่ 2009 และปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศไทย ส่งผลทำให้โรงแรมทุกระดับประสบกับปัญหาในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะโรงแรมที่มีต้นทุนต่ำ เช่น โรงแรมระดับราคาประหยัด ผู้วิจัยจึงได้นำโรงแรมระดับราคาประหยัด ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา มาเป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางด้านการตลาด การแข่งขันทางด้านการตลาด ตลอดจนปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาของโรงแรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อโรงแรมระดับราคาประหยัดเพื่อให้ได้ปรับตัว และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยพบว่า กลยุทธ์ทางด้านการตลาดมีความสำคัญในการผลักดันให้โรงแรมมีอัตราการเข้าพักที่สูงขึ้นในด้านต่างๆ เช่น ส่วนประสมทางการตลาด การวิเคราะห์สวอต การวิเคราะห์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์คู่แข่งขัน และการวิเคราะห์จุดขาย เป็นต้น ในด้านการแข่งขันทางด้านการตลาดพบว่า นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญในเรื่องความพึงพอใจในการเข้าพักโรงแรมมากที่สุดทั้งในด้านกายภาพ การตลาด และการบริการในด้านปัญหาของโรงแรมท้องถิ่นระดับราคาประหยัด พบว่า ปัญหาด้านความมีชื่อเสียงของตราสินค้า มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.20 แนวทางการปรับตัวคือ ควรให้โรงแรมท้องถิ่นระดับราคาประหยัดมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด คิดเป็นร้อยละ 17.22 แนวทางการปรับตัวคือ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักโรงแรมท้องถิ่นระดับคาคาประหยัดมากขึ้น เช่น ทางสื่อออนไลน์ บริษัททัวร์หรือแทรเวล เอเจนซี่ และด้านพนักงานคิดเป็นร้อยละ 14.87 แนวทางการปรับตัวคือ ควรมีการฝึกอบรมและประเมินผลพนักงานอยู่เสมอ แนวทางการปรับตัวของโรงแรมท้องถิ่นระดับราคาประหยัดนั้น ควรให้ความสำคัญในด้านกายภาพ โดยการปรับปรุงห้องพักให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นให้แก่ลูกค้าที่เข้าพัก ในด้านลูกค้าควรมีการเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งในเรื่องของสัญชาต วัตถุประสงค์ของการเข้าพัก และวิถีชีวิตของนักท่องเที่ยว ในด้านการตลาด ควรมีการส่งเสริมการตลาดทางด้านการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เช่น ทางสื่อออนไลน์ บริษัททัวร์หรือเทรเวล เอเจนซี่ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้จักโรงแรมท้องถิ่นระดับราคาประหยัดมากขึ้น และในด้านการบริหารจัดการของโรงแรม ควรมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานโรงแรมตามความถนัดของงาน และให้หน่วยงานต่างๆ ภายในโรงแรมมีการประสานงานอย่างมีระเบียบขั้นตอน เพื่อให้พนักงานโรงแรมทำงานทางด้านธุรกิจการให้บริการได้อย่างเต็มศักยภาพen
dc.description.abstractalternativeThe Thai government has formulated a tourism promotion policy to enhance the income for locals in every city with major tourist attractions. This includes Bangkok and Pattaya, the two most popular tourist destinations in Thailand. This comes in spite of the current global economic downturn, 2009 flu pandemic, and ongoing domestic political instability which have severely affected all levels of the hotel industry, particularly low-cost or economy hotels. Thus, this case study is designed to examine marketing strategies and competition in the world market, as well as problems and adaptation strategies for local economy hotels in the two major cities. Findings suggest that an increase in hotel occupancy rates can be brought about by a variety of marketing strategies such as marketing mix, SWOT analysis, target customer analysis, competitor analysis and selling point analysis. Tourists’ primary satisfaction with the hotel is based on physical characteristics, marketing and services. The hotel industry has encountered a number of problems, the most severe of which has been brand reputation (18.20%). The adaptation strategy to deal with this issue is to establish a larger network of the hotels. The second most serious difficulty has been marketing promotion (17.22%). In dealing with this, the public relations units should have a more significant role in advertising the local economy hotels. The human resources problem was rated at 14.87%. The solution is to provide ongoing training and evaluation of hotel staff. Accordingly, the adaptation strategies for the local economy hotels are to improve their physical characteristics; hotel rooms should be of higher quality and inclusive of services and amenities for customers. The customer service factor is also important; groups of customers should be clearly targeted with respect to nationality, purpose of stay and lifestyle. The promotion factor includes advertisement via the internet, tour companies or travel agencies. The personnel factor is vital; hotel staff should be well-trained and assigned to appropriate jobs and all departments should be well-coordinated in providing the best serviceen
dc.format.extent17767234 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.163-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงแรม -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectโรงแรม -- ไทย -- พัทยาen
dc.titleแนวทางการปรับตัวของโรงแรมท้องถิ่นระดับราคาประหยัด : กรณีศึกษา พื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาen
dc.title.alternativeAdaptation strategies for local economy hotel : case study of Bangkok Metropolis Area and Pattaya Areaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.163-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thirawut_th.pdf17.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.