Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1782
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-15T09:10:40Z | - |
dc.date.available | 2006-08-15T09:10:40Z | - |
dc.date.issued | 2531 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1782 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญของคณะผู้แทนการค้าของประเทศไทย ได้แก่ องค์ประกอบของคณะผู้แทนการค้า การคัดเลือกหน่วยงานเอกชนเข้าร่วมในคณะผู้แทนการค้า กฎเกณฑ์ระเบียบต่าง ๆ ฯลฯ และศึกษาบทบาทของคณะผู้แทนการค้าในฐานะนักสื่อสารทางการตลาด พร้อมทั้งประเมินประสิทธิผลของคณะผู้แทนการค้าของไทย ภายหลังการศึกษาและประเมินแล้วได้ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุง อุตสาหกรรมที่คัดเลือกมาศึกษา คือ อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป การศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะช่วงปี 2529 และ 2530 และเน้นคณะผู้แทนการค้าไทยที่เดินทางไปตลาดต่างประเทศ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบช่วงชั้น กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนหนึ่งเป็นประชากร คือ เป็นผู้ที่ได้ไปร่วมกับคณะผู้แทนการค้าในปี 2529 และ 2530 มีผู้ตอบเป็นจำนวน 37 จาก 54 และได้ไปยัง 3 ตลาด คือ ตลาดออสเตรเลีย ตลาดยุโรป (อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมันตะวันตก) และตลาดญี่ปุ่น อีกส่วนหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้ที่ไม่ได้ไปร่วมกับคณะผู้แทนการค้าในปี 2529 และ 2530 แต่อยู่ใน Thailand's Exporters : Selected List of 1987 ซึ่งจัดโดยกรมพาณิชย์สัมพันธ์ ในกลุ่มหลังนี้ ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างมา 54 ราย เพื่อทำการสัมภาษณ์เช่นเดียวกับกลุ่มแรก มีผู้ตอบแบบสอบถามมา 36 ราย ผลการวิจัยมีดังนี้ คณะผู้แทนการค้าที่เดินทางไปตลาดต่างประเทศ โดยทั่วไปประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมพาณิชย์สัมพันธ์ในฐานะที่ปรึกษา และบริษัทเอกชนที่ยื่นใบสมัครเข้ามา และผ่านการคัดเลือก บริษัทเอกชนเหล่านี้จะอยู่ใน Thailand's Exporters : Selected List ซึ่งรวบรวมโดยกรมพาณิชย์สัมพันธ์ และต้องได้รับการกลั่นกรองทั้งทางด้านสถานการณ์เงิน ประสบการณ์การส่งออก มูลค่าการส่งออก สมาชิกภาพขององค์การที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ประวัติของบริษัทและความพร้อมในการส่งออก สมมติฐานที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ คือ สมมุติฐานที่ 1 อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี พ.ศ. 2529 และปี 2530 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ที่ไปและผู้ที่ไม่ได้ไปกับคณะผู้แทนการค้า (ตลาดออสเตรเลีย ตลาดยุโรป และตลาดญี่ปุ่น) สมมุติฐานที่ 2 อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี พ.ศ. 2529 และปี 2530 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดใหญ่ หลังกลับจากการไปค้าขายกับคณะผู้แทนการค้าแล้ว (ธุรกิจขนาดเล็ก คือ ธุรกิจที่มีเงินทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 10 ล้านมาก ธุรกิจขนาดใหญ่ คือ ธุรกิจที่มีเงินทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทขึ้นไป) สมมุติฐานที่ 3 อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี พ.ศ. 2529 และปี 2530 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างธุรกิจเล็กที่เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าและธุรกิจเล็กที่ไม่ได้เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้า สมมุติฐานที่ 4 อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี พ.ศ. 2529 และปี 2530 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างธุรกิจใหญ่ที่เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าและธุรกิจใหญ่ที่ไม่ได้เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้า สมมุติฐานที่ 5 ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้ไปร่วมคณะผู้แทนการค้ามองบทบาทของคณะผู้แทนการค้าในฐานะนักสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพอย่างไม่แตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญ สมมุติฐานที่ 6 บริษัทที่ได้ไปร่วมกับคณะผู้แทนการค้าไม่ได้ให้ลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออก ระหว่างบทบาทที่น่าเชื่อถือของคณะผู้แทนการค้า คุณภาพของสินค้า ราคาของสินค้า ประวัติของบริษัท ประสบการณ์การส่งออก รูปแบบของสินค้า ฯลฯ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สมมุติฐานที่ 1 ผลการวิจัยแสดงว่า ยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งหมายความว่า อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี 2529 และ 2530 ระหว่างผู้ที่ไปและผู้ที่ไม่ได้ไปกับคณะผู้แทนการค้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สมมุติฐานที่ 2 ผลการวิจัยยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือ อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี 2529 และปี 2530 ของธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดใหญ่ หลังจากการกลับจากการไปกับคณะผู้แทนการค้าแล้ว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สุมมติฐานที่ 3 ผลการวิจัยไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือ อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี พ.ศ. 2529 และปี 2530 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างธุรกิจเล็กที่เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าและธุรกิจเล็กที่ไม่ได้เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้า สมมุติฐานที่ 4 ผลการวิจัยยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือ อัตราเพิ่มของยอดส่งออกของปี พ.ศ. 2529 และปี 2530 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าและที่ไม่ได้เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้า สมมุตติฐานที่ 5 ผลการวิจัยยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือ ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้ไปร่วมคณะผู้แทนการค้ามองบทบาทคณะผู้แทนการค้าในฐานะนักสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สมมุติฐานที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า บริษัทต่าง ๆ ที่เข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าได้ให้ลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออก โดยให้ความสำคัญของคุณภาพของสินค้าและวัตถุดิบเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ราคาของสินค้า และการส่งมอบที่ตรงต่อเวลาตามลำดับ ส่วนความน่าเชื่อถือของคณะผู้แทนการค้าเป็นปัจจัยเสริม จากผลการวิจัยนี้ เราพอสรุปได้ว่า การเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมการตลาดที่ทำให้การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปประสบผลสำเร็จโดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุง เพื่อให้คณะผู้แทนการค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การปรับปรุงระบบข้อมูลทางด้านการตลาด การเงิน ภาษีอากร และกฎหมาย การเพิ่มหน่วยจัดทำข้อมูลประเภท intelligence การประสานงาน และการร่วมงานแผนระหว่างบริษัทผู้ส่งออก กรมพาณิชสัมพันธ์ และศูนย์พาณิชยกรรมไทยในต่างประเทศในการทำประชาสัมพันธ์และนัดหมายลูกค้า การกระชับความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ในการแก้ปัญหาโควตาและการหาตลาดใหม่ที่ไม่มีปัญหาโควต้า | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are to explore the nature of the Thai Trade Mission : its characteristics, its composition, its regulations, etc., to investigate the role of the Trade Mission as marketing communicator, to evaluate the role of the Trade Mission through comparison between the Trade Mission participants and non-participants, and to identify problems concerning the role of the Mission that have impact on export and to make recommendations to those concerned both in the public and private sectors. The study limited itself to garment exportation from the year 1986 to 1987 and concentrated only on the outgoing mission. The method used was a survey research with the stratified sampling technique. The samples used in this study were divided into 2 groups : the participants and the non-participants of the Trade Mission both of which were in the Thailand's Exporters : Selected List of 1987. The total population of the participants (54 companies) was asked individually to give an interview. They were those who had been to the three markets : Australia, Europe, and Japan. Thirty-seven managers answered the interviewed questionnaires whereas 36 exporters out of 54 randomly chosen non-participant companies answered the other set of interviewed questionnaire. The research results are as follow. Not every supplier or exporter is entitled to join in the tour of the Trade Mission. The Trade Mission members must be in the so-called Thailand's Exporters :Selected List (yearly published) of the Department of Export Promotion. The qualifications of those to be in the "Selected List" as specified by the Executive Board of the Department of Commercial Relations are credit standing as certified by the private sector: commercial banks, and by the Government, and the Bank of Thailand; value of exports; years of exporting experience ; membership of any association relating to exportation or supported by the Board of Investment (BOI); interest, participation, and cooperation with the activities of the Department of Export Promotion; company profile and exportability of products. The hypotheses in this research are as follow: 1. No significant difference in export growth rate between the Trade Mission participants and non-participants. 2. No significant difference in export growth rate between smaller size (under 10 million baht capital) and bigger size (over 10 million baht capital) companies after the trip. 3. No significant difference in export growth rate between smaller size companies which participated and did not participate in the Trade Mission. 4. No significance difference export growth rate between bigger size companies which participated and did not participant in the Trade Mission. 5. No significant difference in perception of the role of Trade Mission as effective marketing communicator between smaller and bigger business in terms of trustworthiness, (sincerity; helpfulness) expertise, (co-ordination with the Thai Trade Center and authoritativeness) government-guarantor). 6. No significant difference in priority ranking among Trade Mission participation regarding the endorsement credibility of the Trade Mission, the quality of the product, the pricing of the product, the company profile and past performance, the product design, the publications/product samples demonstrated to customers, etc. The research results reveal that 1. There is no significant difference in export growth rate between the Trade Mission participation and non-participants (significant level = 0.05) 2. There is no significant difference in export growth rate between the smaller size and bigger companies after the trip (significant level = 0.05) 3. There is a significant difference in export growth rate between smaller size companies which participates and did not participate in the Trade Mission. (significant level = 0.05) 4. There is no significant difference in export growth rate between bigger size companies which participated and did not participate in the Trade Mission (significant level = 0.05) 5. There is no significant difference in priority ranking among Trade Mission goers regarding factors affecting exportation. The first rank is the quality of product and raw material. The second one is the price of the product and the third one is the punctual delivery of product. (significant level = 0.05). There is no mentioning of the endorsement credibility of the Trade Mission as of prime importance but this factor can be considered an important supplement. From the research a conclusion can be made that Trade Mission participation is one of major sales promotion techniques that contribute to the success of garment exportation particularly for smaller size companies as evidenced in sales growth rate that is significantly different between the participants and non-participants. Nonetheless, there are some suggestions from those involved to increase the effectiveness of Trade Mission. Among major suggestions are the improvement of information on marketing, finance and banking; tariff and duty and legal regulations; and also setting up of intelligence unit for special information; coordination and joint-planning among exporters. Department of Export Promotion, and Thai Trade Centers aboard in public relations activities and customer appointments; co-operation between the private and public and public sectors in solving the quota problems and in finding new non-quota markets. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก C.I.D.A | en |
dc.format.extent | 27839231 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.ispartof | งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพื่อการพัฒนาธุรกิจขนาดย่อม ระหว่างสถาบันศศินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยยอร์คแห่งประเทศแคนาดา | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป--ไทย | en |
dc.subject | การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ--ไทย | en |
dc.subject | การประชาสัมพันธ์ | en |
dc.subject | การสื่อสารทางการตลาด | en |
dc.subject | คณะผู้แทนการค้า | en |
dc.title | การประชาสัมพันธ์โดยคณะผู้แทนการค้า : การศึกษาบทบาทของคณะผู้แทนการค้าของประเทศไทย ในด้านการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป 2529-2530 | en |
dc.title.alternative | Publicizing trough trade mission a stdy of Thailand's trade mission role in garment exportation 1986-1987 | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Orawan.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Orawan(pu).pdf | 12.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.