Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17848
Title: สถานภาพอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2546 - 2550)
Other Titles: The status of Thai television drama industry (2003 - 2007)
Authors: พรวิภา พงศ์ประศาสน์
Advisors: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubonrat.S@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพของอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ไทยระหว่างปี พ.ศ. 2546-2550 ตลอดจนแนวโน้มและอุปสรรคในการส่งออกละครโทรทัศน์ไทยในฟรีทีวีเฉพาะในส่วนของละครไพรม์ไทม์ระหว่างเวลา 18.30-22.20 น. โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพวิเคราะห์ถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ ผู้เกี่ยวข้องหลักและหน่วยผลิตที่สำคัญ ลักษณะการดำเนินงาน กำลังผลิต และผลผลิต โดยผลการวิจัยพบว่าสถานภาพของอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2546 - 2550 เป็นดังนี้อุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ในระบบฟรีทีวีมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 50 ปี และเติบโตมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาและปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ที่ออกรายการละครซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ สถานี โทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 สถานีโทรทัศน๋ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ช่วงเวลาที่ออกอากาศละครมีการขยายจากเดิม 1 ชั่วโมง/ช่อง/วัน เป็น 3 ชม/ช่อง/วัน (ยกเว้นช่อง 5) แบ่งเป็นละครก่อนข่าว 1 ชั่วโมง ระหว่าง 18.30-19.30 น. และละครหลังข่าว 2 ชั่วโมง ระหว่าง 20.20-22.20 น. ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่มีอัตราค่าโฆษณาสูงสุดและนำรายได้หลักมาสู่สถานี จากการศึกษาบริษัทผู้ผลิตละครโทรทัศน์ 4 บริษัท พบว่า1) บ.กันตนา มูฟวี่ทาวน์ (2002) จก. เป็นบริษัทผลิตละครขนาดใหญ่สุดในอุตสาหกรรม มีกำลังการผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 167 ชม./ปี และมีรูปแบบการผลิตครบวงจร 2) บ.บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จก. มีกำลังผลิตเฉลี่ย 90 ชม./ปี 3) บ. เอ็กแซ็กท์ จก. มีกำลังผลิตเฉลี่ย 144 ชม./ปี และบริษัทผลิตละครในเครือ บ.อาร์ เอส จก.(มหาชน) มีกำลังผลิตเฉลี่ย 120 ชม./ปี โดยผลงานส่วนใหญ่ของทุกบริษัทเป็นละครแนวรักและชีวิต ในด้านแนวโน้มของการส่งออกละครโทรทัศน์ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตดำเนินการผลิตภายใต้เงื่อนไขจากการจ้างผลิตจากสถานีโทรทัศน์ ดังนั้นลิขสิทธิ์ของผลงานโทรทัศน์จึงตกเป็นของสถานี ยกเว้นผลงานที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้แก่ บ.กันตนา และบ.เอ็กแซ็กท์ที่ผู้ผลิตสามารถส่งออกได้โดยตรงด้วยตนเอง นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตยังมีวิธีการส่งออกหลายรูปแบบ เช่นการขายเรื่องหรือบทประพันธ์ การร่วมผลิตหรือรับจ้างผลิต ตลอดจนการฝึกอบรม บุคลากรหรือเป็นที่ปรึกษาการผลิตให้กับสถานีโทรทัศน์ในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตละครโทรทัศน์ในกลุ่มนี้จะมีศักยภาพในการผลิตเพื่อการส่งออก คือมีกำลังผลิต บุคลากร และสามารถผลิตผลงานจำนวนมากออกสู่ตลาดได้ต่อเนื่องและประสบความสำเร็จในการทดลองตลาดสู่ต่างประเทศ แต่บริษัทเหล่านี้มิได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งออกมากนัก เนื่องจากมุ่งเน้นตลาดประเทศเป็นหลัก และเมื่อพิจารณาการสนับสนุนพบว่าไม่มีนโยบายและยังไม่มีความชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องการส่งออกละครโทรทัศน์ไทยจากแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสิ่งสำคัญคือยังขาดหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงในอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ไทย
Other Abstract: The purpose of this study is to understand the status of Thai drama industry during the year 2003-2007 and the opportunity and problems for exporting TV drama series, focuses on prime-time dramas shown during 6.30-10.20 pm. The research methods used are quantitative and qualitative methods. The study focuses on investigating key players in the drama industry. Thai drama industry is 50 years old and is still growing. There are three television channels that broadcast dramas; Channel 7, Channel 3 and Channel 5. Prime-time drama is aired from 1hr./channel/day to 3 hrs./channel/day (except Channel 5). These dramas are on air in 2 separate slots; the first slot is on during 6.30-7.30 pm. And the second slot is on during 8.20-10.20 pm. The drama air-time is the highest value broadcasting time and it brings in the largest amount of advertisement revenue to each television station. The study selected 4 leading drama production companies; 1) Kantana Group Co.,Ltd., the biggest company, produces 167 hrs./yr. and it has full production equipment 2) Broadcast Thai Television Co., Ltd. Produces 90 hrs./yr. 3) Exact Co., Ltd. produces 144 hrs./yr. and RS Public Company Limited produces 120 hrs./yr. Regarding the trend in exporting Thai television drama to the international markets the study found that although the production companies have the production capacity they are not much concerned with exporting their products. On the other hand, the television stations, Channel 7 and Channel 3, are the sole right holder of these drama products. Hence, disable the companies from exporting Thai drama. However, there is an exception with Channel 5. Kantana Movie Town (2002) Co. Ltd. and Exact Co. Ltd. are able to export a variety of their dramas and related products abroad. Kantana Movie Town (2002), for instance, could export the drama plot and script, and co-produce with production companies in the ASEAN region as well as provide post-production services. Kantana Movie Town (2002) also invests in television station in Cambodia and manages stations in Vietnam and Indonesia. But lacking government policy on television drama export the trend to expand into international markets would depend largely on the effort of private production company in the industry
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17848
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.229
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.229
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornwipa_po.pdf21.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.