Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17878
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พงศา พรชัยวิเศษกุล | - |
dc.contributor.author | สิรินทิพย์ ประภากรวิมล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-13T15:46:26Z | - |
dc.date.available | 2012-03-13T15:46:26Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17878 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการปรับตัวของอุตสาหกรรมไทยสู่กรีนโลจิสติกส์ ทำการศึกษาปัจจัยภายนอกองค์กรที่ส่งผลต่อการปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์ ทำการศึกษาปัจจัยภายนอกองค์กรที่ส่งผลต่อการปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์ ปัจัจยภายในองค์กรที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์ ประโยชน์ที่องค์กรคาดว่าจะได้รับเมื่อปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์ และกิจกรรมที่องค์กรให้ความสำคัญในการนำกรีนโลจิสติกส์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงสภาพปัจจุบันขององค์กรว่าได้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกรีนโลจิสติกส์อยู่ในระดับใด นำกรีนโลจิสติกส์ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมใดบ้าง และใช้อะไรเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001 แล้วเท่านั้น งานวิจัยนี้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายนอกองค์กรที่ส่งผลต่อการปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์มากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านลูกค้าและตลาด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านกฎหมาย ข้อบังคับในประเทศผู้ผลิตและผู้ซื้อ, ปัจจัยด้านการแข่งขัน, ปัจจัยด้านสังคม ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านการจัดหาวัตถุดิบและปัจจัยด้านต้นทุนรวมไม่ส่งผลต่อการปรับตัว ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จในการปรับตัว ทั้งด้านนโยบายและทรัพยากรขององค์กรส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จมาก ในส่วนของประโยชน์ที่องค์กรคาดว่าจะได้รับนั้น องค์กรคาดว่าจะได้รับประโยชน์ทางด้านการดำเนินงานมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การตลาดและลูกค้า และการเงิน ตามลำดับ โดยองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ การวิจัยและพัฒนา การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน และการผลิตเป็น 3 ลำดับแรก รองลงมาได้แก่ การจัดการคลังสินค้าคงคลัง, การกำจัดของเสีย, การตลาดและการขาย และการจัดการสินค้าย้อนกลับ (Reverse Logistics) ตามลำดับ นอกจากนี้องค์กรยังต้องการสนับสนุนจากภาครัฐในการให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research aim to study the external factors of organizations leading them to be Green Logistics, the internal factors helping them to success in adaptation for being Green Logistics, the expected benefits after being Green Logistics organizations and their activities. Moreover this research also studies the level of adaptation of each organization, the activities they had already applied Green Logistics and the indicator of Green Logistics. Samples are the companies located in Amata Nakorn Industrial Estate, already had the Environmental Standard (ISO 14001). It was found that the adaptation into Green logistics is caused by the external factors firstly customers and market demand, law, regulation of manufacturing and buying countries, competition and society, respectively, while the factors of supplier and total cost do not have any effect to the adaptation. Besides, internal factors which are policy and resources is considered to have the highly effect to success of each organization. In terms of benefits, the organization expects to gain firstly from operation, secondly from market demand as well as customers and thirdly from financial support. Most organization mainly emphasizes on the research and development, then procurement, manufacturing, warehousing and inventory management, waste management, sales and marketing and finally, the reverse logistics. Otherwise, the organization still needs educational support and advice from government section on each related activities | en |
dc.format.extent | 19898410 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.279 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การบริหารงานโลจิสติกส์ | en |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์สีเขียว | en |
dc.subject | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ | en |
dc.subject | อุตสาหกรรม -- แง่สิ่งแวดล้อม | en |
dc.title | การปรับตัวของอุตสหกรรมไทยสู่กรีนโลจิสติกส์ | en |
dc.title.alternative | Adaptation of Thai industry towards green logistics | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pongsa.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.279 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirintip_pr.pdf | 19.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.