Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1787
Title: วิถีชีวิตและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อชุมชนเข้มแข็งของชาวเกาะเกร็ดและชาวนวนคร ในช่วงวิกฤติและช่วงปัจจุบัน
Authors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
บุญชาล ทองประยูร
บุญอยู่ ขอพระประเสริฐ
วิไลวรรณ จงวิไลเกษม
Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
เกาะเกร็ด (นนทุรี)--ความเป็นอยู่และประเพณี
นวนคร--ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัย "วิถีชีวิตและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อชุมชนเข้มแข็งของชาวเกาะเกร็ดและนวนครในช่วงวิกฤตและปัจจุบัน" เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1. มุ่งกำหนดองค์ประกอบของวิถีชีวิต (AIO = กิจกรรม ความสนใจ และทรรศนะต่อสิ่งต่าง ๆ) ของประชาการของเกาะเกร็ดและนวนคร และอธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในช่วงวิกฤต 2533 (เกาะเกร็ด) และ 2540 (นวนคร) 2. มุ่งศึกษารูปแบบของเครือข่ายการสื่อสารของประชากรบนเกาะเกร็ดและนวนครในช่วงวิกฤต และความช่วยเหลือและความร่วมมือที่ประชากรทั้งสองชุมชนได้รับ 3. มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตของชุมชนทั้งสอง เครือข่ายการสื่อสารของทั้งสองชุมชน ลักษณะประชาการของทั้งสองชุมชนกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งของเกาะเกร็ดและนวนคร การวิจัยใช้แบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (structure interview) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ในชุมชนเกาะเกร็ดและกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ในชุมชนนวนคร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test, ANOVA, factor analysis, stepwise multiple regression และ discriminant analysis ผลการวิจัยมีดังนี้ กลุ่มตัวอย่างชาวเกาะเกร็ดเป็นคนท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติเป็นหลัก คือ ไทย-ไทย ไทย-มอญ และไทย-อิสลาม โดย ไทย-ไทย มีจำนวนมากที่สุด และไทย-อิสลาม มีจำนวนน้อยที่สุด ชาวเกาะเกร็ดกระจายกันอยู่ในหมู่บ้านที่ 1 ถึง 7 โดยหมู่ 1,6,7, จะเป็นพวกกินเงินเดือนหรือทำการค้าหรือธุรกิจส่วนตัว อันได้แก่ การให้เช่าหน้าร้านขายของ ร้านอาหาร ธุรกิจบริการท่องเที่ยว เพราะถือเป็น "หน้าบ้าน" ของเกาะเกร็ด หมู่ 2 และหมู่ 5 จะมีการทำหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้าง อาชีพหลักของชาวเกาะเกร็ดก่อนวิกฤตน้ำท่วมปี 2538 คือเป็นเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งกระจุกตัวอยู่ในหมู่ 2,3, 4 กลุ่มตัวอย่างชาวนวนครเป็นคนท้องถิ่นและอพยพมาจากภาคต่าง ๆ ของประเทศเพื่อมาทำงานในนวนคร กลุ่มเหล่านี้มีภูมิลำเนาเดิมจากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาร ภาคใต้ ชาวนวนครมีการพักอยู่อาศัยในรูปแบบของบ้านพักอาศัยของตนเอง เช่าหอพัก อยู่บ้านพักบริษัท อยู่บ้านญาติและอยู่บ้านเพื่อน ในการวิจัย คณะผู้วิจัยได้ตั้งคำถามนำวิจัยได้หลากหลายที่สำคัญที่สุด คือ 3 ข้อ 1. วิถีชีวิตของคนในชุมชนเกาะเกร็ดและนวนครมีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งของชุมชนอย่างไร 2. ลักษณะประชาการของชาวเกาะเกร็ด (เชื้อชาติ หมู่บ้านที่อยู่อาศัย) และลักษณะประชากรของชาวนวนคร (ลักษณะบ้านอาศัย ภูมิลำเนาเดิม) มีความสัมพันธ์กับความเป็นชุมชนหรือไม่อย่างไร 3. ชุมชนเกาะเกร็ดและชุมชนนวนครเป็นชุมชนเข็มแข็งหรือไม่อย่างไร ถ้าพิจารณาจากตัวแปรทั้ง 7 ดังต่อไปนี้ (1) เครือข่ายด้านการเงินการงานและอาชีพในยามวิกฤต (2) เครือข่ายชุมชนในการแก้ปัญหาสาธารณูปโภค อบายมุข ผู้มีอิทธิพล (3) ความช่วยเหลือที่ได้รับในยามวิกฤตเกี่ยวกับการเงิน การงาน/การเปกลี่ยนอาชีพ (4) ความร่วมมือของชุมชนในสภาวะปัจจุบัน (ในด้านสาธารณูปโภคการกำจัดอบายมุข การลดบทบาทผู้มีอิทธิพล) (5) ความผูกพันกับวัตถุนิยมของชุมชนและความผูกพันด้านจิตใจของปัจเจกต่อชุมชน (6) การมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง (7) การมีกลุ่มที่สังกัดเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน คำถามนำวิจัยมัคำตอบดังต่อไปนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชนเกาะเกร็ดโดยใช้ factor analysis และ stepwise multiple regression แสดงว่า ความสนใจในการพัฒนาตนเอง ความสนใจข้อมูลด้านอาชีพ กิจกรรมกลุ่ม และอบายมุข มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งของชุมชนเกาะเกร็ด ซึ่งแสดงว่าชุมชนเกาะเกร็ดให้ความสนใจทั้งในด้านปัจเจกและชุมชน นั่นคือ ปัญหาปากท้องตนเองและอบายมุขซึ่งพบว่ามียาเสพติดและการพนันมากในเกาะเกร็ด ซึ่งอาจตีความได้ว่า เพราะวิถีชีวิตมีทั้งองค์ประกอบด้านบวกและด้านลบ ชุมชนเกาะเกร็ดจึงจัดว่าชุมชนค่อนข้างเข้มแข็งเท่านั้น ในชุมชนนวนคร อบายมุข กิจกรรมบรรเทาทุกข์/เครียด ความสนใจในความเป็นอยู่ในชุมชน มีความสัมพันธ์กันความเข้มแข็งของชุมชนนวนคร ซึ่งอธิบายได้ว่า ชุมชนนวนครก็มีทั้งองค์ประกอบด้านบวกและด้านลบในวิถีชีวิตของชุมชน ชุมชนจึงจัดอยู่ในระดับค่อนข้างเข้มแข็งเท่านั้น ยังพัฒนาได้อีก 2. ลักษณะประชากรของเกาะเกร็ดคือเชื้อชาติและหมู่ที่อยู่อาศัยแตกต่างกันพบว่ามีความแตกต่างกันในระดับความเข้มแข็งของชุมชน โดยชุมชนไทย-ไทย และไทย-มอญ ไม่แตกต่างกัน เพราะทั้งสองชุมชนนี้จัดว่ามีอาชีพพอเลี้ยงตัวเองได้ แต่ทั้งสองชุมชนแตกต่างจากชุมชนไทย-อิสลาม ซึ่งเป็นชนหมู่น้อย ในด้านหมู่นั้น หมู่ 1 และ 7 เป็นหมู่ที่เข้มแข็งที่สุดโดยเปรียบเทียบเพราะได้ผู้นำที่ดีและเป็น "หน้าบ้าน" ของเกาะเกร็ด ส่วนในชุมชนนวนครนั้น ลักษณะบ้านพักอาศัยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในประเด็นความเข้มแข็งของชุมชนแต่ในเรื่องภูมิลำเนาเดิม ปรากฏว่า กลุ่มที่ทีภูมิลำเนาเดิมจากภาคอีสานมีระดับความเข้มแข็งของกลุ่มสูงสุด 3. ในระดับความเข้มแข็งที่กำหนดไว้ 5 ระดับ คือ (1) ชุมชนเข้มแข็งมาก (2) ชุมชนเข้มแข็งมาก (3) ชุมชนค่อนข้างเข้มแข็ง (4) ชุมชนควรพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และ (5) ชุมชนต้องพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ปรากฏว่าทั้งเกาะเกร็ดและนวนครอยู่ที่ในระดับที่ 3 คือ ชุมชนค่อนข้างเข้มแข็ง โดยเมื่อพิจารณาจากตัวแปรทั้ง 7 ตัวดังกล่าวแล้วนั้น อาจอธิบายได้ว่าในชุมชนเข้มแข็งของทั้งสองชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งของเกาะเกร็ดได้แก่ ความผูกพันทางด้านวิกฤตและจิตใจต่อชุมชนของคนในเกาะเกร็ด ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งของนวนครได้แก่ ความช่วยเหลือที่ได้รับในยามวิกฤตเกี่ยวกับการเงิน การงานและอาชีพ การที่ปัจจัยทั้ง 7 ตัวสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งของเกาะเกร็ดและนวนคร ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ ที่ได้อ้างถึงในบทที่ 2 อาทิ โครงสร้างทางสังคมแบบแนวนอนซึงหมายถึงสัมพันธภาพทางอำนาจในชุมชนที่เท่าเทียมกัน อำนาใจการเข้าถึงทรัพยากรหรือโอกาสในชุมนไม่แตกต่างกัน นั่นหมายถึงว่าชุมชนเกาะเกร็ดน่าจะได้มีโอกาสฟื้นฟูเศรษฐกิจในสถานะที่เท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริง บางหมู่บ้านก็จะมีโอกาสมากกว่าหมู่อื่นซึ่งเราก็ได้เห็นกันอยู่แล้ว อันส่งผลให้ชุมชนยังมีความเข้มแข็งไม่มากนักในขณะที่นวนครนั้น กลุ่มตัวอย่างดูจะมีอำนาจในการเข้าถึงทรัพยากรหรือโอกาสในชุมชนไม่แตกต่างกันเพราะกลุ่มตัวอย่างมีทางเลือกมากกว่าชาวเกาะเกร็ดที่จะอยู่หรือไม่อยู่นวนครทั้งนี้เพราะกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพย้ายถิ่นมาทำงานในนวนคร ถ้าไม่มี " ทรัพยากร" ให้เข้าถึงก็พร้อมจะย้ายถิ่นต่อไป อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ในงานวิจัยชิ้นนี้ได้กำหนด 7 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับความเป็นชุมชนเข้มแข็งซึ่งข้อค้นพบของทั้งสองชุมชนมีความแตกต่างกัน ในกรณีเกาะเกร็ด ความผูกพันทางด้านวัตถุและจิตใจของชุมชนของคนในเกาะเกร็ดมีความสัมพันธ์สูงสุดกับความเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในขณะที่ชุมชนนวนครนั้น ความช่วยเหลือที่ได้รับในยามวิกฤตเกี่ยวกับการเงิน การงานและอาชีพ มีความสัมพันธ์สูงสุดกับความเป็นชุมชนเข้มแข็ง ข้อค้นพบนี้แสดงว่าชุมนเกาะเกร็ดมีศูนย์รวมจิตใจ อาทิ ความเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน (ไทย-รามัญ ไทย-ไทย) การมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เจ้าของที่ดินทำกิน และความรู้สึกผูกพันที่จะพัฒนาเกาะเกร็ดได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งรายได้และมีผู้นำที่เข้มแข็ง (แม้จะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ไดทุกหมู่บ้าน) สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวชาวเกาะเกร็ดเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในแง่จิตวิญญาณและการมองว่าชุมชนคือแหล่งทรัพยากรคือการที่มองว่าเกาะเกร็ดสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ สำหรับนวนครนั้นถือว่าเป็นชุมชนอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นคนงานซึ่งกล่าวได้ว่ามีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญและย้ายถิ่นฐานเพื่อมาหางานทำโดยเฉพาะ ฉะนั้นจึงมองว่า ชุมชนจะเข้มแข็งได้ก็ด้วยความช่วยเหลือที่ได้ยามวิกฤตเกี่ยวกับการเงินการงานและอาชีพ ซึ่งเป็นแนวคิดในเชิงปัจเจกมากกว่าเกาะเกร็ดในเชิงเปรียบเทียบ อนึ่งทั้งเกาะเกร็ดและนวนครอาจกล่าวได้ว่าเป็นชุมชนผู้มีรายได้น้อย ในเมืองส่วนใหญ่มีปัญหาความอ่อนแอทั้งทางเศรษฐกิจ (ความยากจน) สังคมและวัฒนธรรม (การขาดความสามัคคี ปัญหายาเสพติด การพนัน และอื่น ๆ) ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาของทั้งสองชุมชนเกาะเกร็ดและนวนครอันทำให้ทั้งสองชุมชนยังไม่อาจถูกจัดได้ว่าเป็นชุมชนเข้มแข็งเต็มตัว ผลการวิจัยแสดงว่าสมาชิกของทั้งสองชุมชนต่างก็ตระหนักถึงปัญหานี้ สถิติแสดงว่า ชุมชนเกาะเกร็ดมีปัญหาสาธารณูปโภคคือเรื่องน้ำประปา และน้ำบาดาล ปัญหาขยะ ส่วนชุมชนนวนครมีปัญหาคล้ายคลึงกับเกาะเกร็ดมาก แต่สมาชิกของทั้งสองชุมชนจะร่วมมือกันแก้ไขเพียงใดเป็นเรื่องที่อาจจะต้องอาศัยผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็งและการรวมตัวของชุมชนแต่ละแห่งให้เป็นกลุ่มที่จะมาพัฒนาชุมชนของตน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1787
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan16131.pdf32.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.