Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17890
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พัชนี เชยจรรยา | - |
dc.contributor.author | วิกานดา มุทิตานนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-14T11:27:25Z | - |
dc.date.available | 2012-03-14T11:27:25Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17890 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารพาณิชย์ไทย การวิจัยเป็นเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และความแปรปรวนรวม โดยใช้สถิติ T-test และ F-test (One-way ANOVA) นำมาประมวลผลโดยใช้เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ซึ่งอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 25-35 ปี ซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี โดยประกอบอาชีพเป็นพนักงานในบริษัทเอกชน/ห้างร้าน โดยมีรายได้ส่วนใหญ่เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 25,000 บาทขึ้นไป โดยส่วนใหญ่มีบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิดทำงานอยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์มากที่สุด และส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์มากที่สุด แต่ใช้บริการหรือธุรกรรมทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยมากที่สุด พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารจากสื่ออินเตอร์เน็ตมากที่สุด เช่น จดหมายข่าวอีเมลล์ (E-newsletter) และแถบโฆษณา (Banner Ads) รองลงมาคือ สื่อเฉพาะกิจ อาทิ มือ/แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์หรือนิทรรศการกิจกรรมเพื่อสังคมการฝึกอบรมหรือการจัดสัมมนา เว็บไซต์ของธนาคาร รวมทั้งโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางตู้เอทีเอ็ม และสื่อบุคคล โดยพบว่าสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ยังเป็นสื่อที่ประชาชนเปิดรับข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ด้านทัศนคติที่มีต่อการนำเสนอกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมขอธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมในเรื่องของการลดใช้กระดาษ และนำกระดาษที่ใช้แล้วนำไปรีไซเคิล เป็นกิจกรรมที่ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมและสามารถปฎิบัติได้ง่าย ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เคยมีส่วนร่วมในโครงการรณรงค์ลดการใช้สลิปจากเครื่องเอทีเอ็ม โดยการเลือกไม่รับสลิปจากเครื่องเอทีเอ็ม เพื่อลดปริมาณตัดต้นไม้โดยลดการใช้กระดาษ ส่วนความสัมพันธ์ด้านการเปิดรับข่าวสารกับทัศนคติ ที่มีต่อการนำเสนอกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า การเปิดรับข่าวสารการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารพาณิชย์ไทยจากสื่อต่างๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการนำเสนอกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารพาณิชย์ไทย | en |
dc.description.abstractalternative | To study the difference and the relationship between the demographic geography, media exposure, attitude and participation in Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility. The research will be survey-based, using the questionnaire form as a tool for data collection. The sampling group consists of 400 people. The data analysis takes the form of percentage, average and Pearson’s product moment correlation. In comparing the difference between the average and covariance, the T-test and F-test statistics (One-way ANOVA) shall be processed using the statistical analysis tools. The research findings show that most females in the age of between 25 and 35 years, educated at the bachelor degree level, employed as personnel of private companies/firms with the monthly average salary over 25,000 Baht, have the family members or relatives who work at the Siam Commercial Bank (SCB) at the most and most of them are the customers of the SCB but use the financial services or transaction of the Kasikorn Thai Bank at the most. The behavior in media exposure to Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility is such that the biggest exposure is through the means of internet such as e-newsletter and banner ads, secondarily, through specialized media such as manual/leaflet, advertisement notice or exhibition on corporate social responsibility, training or workshops, including banks’ websites including advertisement through ATM machine and personal media. The mass media, such as radio, television, newspaper, and magazines, is revealed to be the media through which people have the least exposure to the environment news. For attitude on the reporting of Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility, it is revealed that most people view the activity on paper use reduction and recycling of used paper as the activity to which people can easily participate and implement. For the participation in corporate social responsibility, it is revealed that most people have participated in the campaign project on ATM slip use reduction, whereby no ATM slip is sought in order to reduce the amount of deforestation by reducing the need for paper. For the relationship between media exposure and attitude on the reporting of Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility, it is found that the media exposure to Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility through various media bears no relationship to the attitude on the reporting of Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility. For the relationship between media exposure to the reporting of Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility and the participation in environmental corporate social responsibility, it is found that the media exposure bears a relationship to the participation in environmental corporate social responsibility. Moreover, on the relationship between attitude on the reporting of Thai commercial banks’ environmental corporate social responsibility and the participation in environmental corporate social responsibility, it is found that the attitude bear a relationship to the participation in environmental corporate social responsibility. | en |
dc.format.extent | 8548653 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2228 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเปิดรับข่าวสาร | - |
dc.subject | การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน | - |
dc.subject | ทัศนคติ | - |
dc.subject | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ | - |
dc.subject | ธนาคารพาณิชย์ -- ไทย | - |
dc.subject | Media exposure | - |
dc.subject | Environmental protection -- Citizen participation | - |
dc.subject | Attitude (Psychology) | - |
dc.subject | Social responsibility of business | - |
dc.subject | Banks and banking -- Thailand | - |
dc.title | การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารพาณิชย์ไทย | en |
dc.title.alternative | Media exposure, attitude and participation in Thai commercial banks' environmental corporate social responsibility | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Patchanee.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.2228 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wikarnda_mu.pdf | 8.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.