Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1790
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์-
dc.contributor.authorวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์-
dc.contributor.authorทัชชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์-
dc.contributor.otherสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2006-08-15T10:01:38Z-
dc.date.available2006-08-15T10:01:38Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1790-
dc.descriptionการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ; ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ; ทรัพยากรน้ำ ; ทรัพยากรประมง -- องค์กรชุมชนท้องถิ่น -- การบริหารจัดการองค์กรปกครองท้องถิ่น -- กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ: กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ ; กฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ; กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการน้ำและการประมง ; กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ -- กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นที่สำคัญ -- ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -- ปัญหาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน -- ปัญหาเกี่ยวกับองค์กรและการบริหารจัดการ -- ผลการสำรวจการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น -- กรณีศึกษาประเด็นปัญหาขของกลุ่ม/องค์กรต่างๆในชุมชนen
dc.description.abstractโครงการวิจัยกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการในท้องถิ่น มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาข้อกฎหมายของชุมชนอย่างเป็นระบบ เพื่อแสวงหากฎหมายที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการพัฒนาและกฎหมายที่มีลักษณะควบคุมอันเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อนำไปสู่การศึกษาที่เป็นการพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับชุมชน ซึ่งจะนำไปใช้ในการบริการจัดการในท้องถิ่นต่อไป วิธีวิจัยดำเนินการโดย การศึกษาจากเอกสารโครงกาควิจัยของฝ่ายชุมชน การวิจัยภาคสนามและการจัดเวทีในประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กฎหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน และกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการองค์กรในท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพราะบัญญัติให้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้สิทธิแก่ประชนทั่วไป ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และองค์กรปกครองท้องถิ่นที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดลัอมอย่างชัดเจน ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ส่วนใหญ่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ประชาชนและชุนไม่สามารถมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรอันเป็นฐานชีวติความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในชนบท ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการครอบครอง ใช้ประโยชน์และความไม่เท่าเทียมกัน เพราะเป็นกฎหมายดั้งเดิมที่ใช้มาเป็นเวลานานและยังมิได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งควรจะต้องหาทางแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว ส่วนกฏหมายที่เสริมสร้างการรวมตัวเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนส่วนใหญ่ที่มีในปัจจุบันไม่สอดคลอ้งกับวิถีของชุมชนในชนบทอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะมีขั้นตอนและข้อกำหนดที่เหมาะกับคนในสังคมเมืองมากกว่า กลุ่มคนที่รวมตัวกันในชนบทตามแบบประเพณีวัฒนธรรมขอท้องถิ่นไม่มีกฏหมายรองรับ จึงอาจต้องหารูปแบบของกฎหมายที่เหมาะสมมารองรับการดำเนินกิจกรรมของท้องถิ่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง สามารถเชื่อมต่อกับองค์กรทางการของรัฐในระดับต่าง ๆ ได้ กฏหมายการบริหารจัดการท้องถิ่นที่กระจายอำนาจการบริหารราชการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายเรื่อง ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับต่าง ๆ การบริหารส่วนภูมิภาคที่ยังมีผลกับการจัดการภายในท้องถิ่น และการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่ส่วนร่วม จึงอาจต้องสร้างกระบวนการตรวจสอบที่เหมาะสมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา เสนอว่าในระยะต่อไปควรสนับสนุนการศึกษากฎหมายระบบการจัดการทรัพยากรที่ให้ประชาชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ ที่ดิน น้ำ ทรัพยากร ประมง และขยะ ของเสีย เป็นต้น และการเสริมกระบวนการเรียนรู้ กฎหมาย ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยงข้องได้แก่ ชุมชน องค์กร กลุ่มเกษตรกร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study on the"Legal Framework for Local Administration" is to review the legal issues that are relevant to variuos aspects of community development and identify aspects that are supportive and those that can be considered as obstacles to goal of strengthening local communities. It is the general expectation that the findings of this study will contribute to highlighting legal issues that are relevant to the functioning of local communities so as to expand or modify them where the need arise to ensure the existence of an enabling lagal framework. The approach to this study has been to review reports of researches conducted under the Community Research Section. Some field work were conducted and seminars organized to discuss legal issues relating to the management of natural resources and the environment, community strengthening and local administration. The major findings are that the Constitution of 1997 is the key piece of legislation which support the principle of community strengthening by demanding for decentralization of power and by endorsing the rights of the people, local communities and local authorities in participating with the State in conserving and protecting natural and environmental resources. Among the observed drawbacks in the legal framework on natural resource management is that communities generally do not have authorization to participate in the management of natural respurces which are the basic sources of production and livelihood. This is particularly true for the people in the rural in the rural areas. The major underlying cause is that outdated pieces of legislation which have nit yet been modified to ensure consistency and complementarity with the Constitution. These are grounds for conflicts over access and utilization of resources. An effort to modify existing laws is therefore advocated as an urgent mandate. Existing pieces of legislation that support strengthening of local communities are found to be inconsistent with the situational context of rural communities and are observed to be more applicable to the functioning or urban societies. Given that unwritten culture and traditions binds rural communities, the contents of law may need to be adjusted to take these factors into account. The legal framework of decentralization of power to local authorities still lack clarity in many key areas such as coordination with among authorities at variuos levels, the relationship between Regional Administration and accountability issues. AMong other things, there is a need to creating a system of accountability, which effectively involve participation of local communities. It is recommended that the next stage of the study should focus on pieces of legislation which deals with involvement local commnuities in the management of natural resources and the environment such as forestry, soil, water, fisheries and waste. One other study component should be the dissemination of basic knowledge on the variuos laws regulation which concern local communities andn their organizations, farmers groups, local authorities.en
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยen
dc.format.extent34258053 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการพัฒนาชุมชน -- ไทยen
dc.subjectการจัดการทรัพยากร -- ไทยen
dc.subjectกฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทยen
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.titleโครงการวิจัยกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการในท้องถิ่น : รายงานฉบับสมบูรณ์en
dc.title.alternativeLegal framework for local administrationen
dc.typeTechnical Reporten
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ittipol.pdf32.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.