Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17911
Title: | การสร้างแบบสอบทักษะกีฬารักบี้ฟุตบอลสำหรับนิสิตนักศึกษา |
Other Titles: | A construction of a Rugby Football skill test for college students |
Authors: | วารินทร์ มรรคประเสริฐ |
Advisors: | ศิลปชัย สุวรรณธาดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Silpachai.S@chula.ac.th |
Subjects: | รักบี้ -- การศึกษาและการสอน การทดสอบความสามารถ |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬารักบี้ฟุตบอลและในขณะเดียวกันก็สร้างเกณฑ์ปกติของแบบสอบทดสอบสำหรับนิสิตนักศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนจากภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการสร้างแบบทดสอบและใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรจากนิสิตนักศึกษามหาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร วิทยาลัยพลศึกษาอ่างทอง วิทยาลัยพลศึกษามหาสารคาม วิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี วิทยาลัยพลศึกษาสมุทรสาคร แห่งละ 30 คนรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เพื่อนำมาสร้างเกณฑ์ปกติ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และคะแนน "ที" ปกติ แล้วทดสอบค่า "ที" เพื่อหาความมีนัยสำคัญ ผลวิจัยปรากฏว่า 1. แบบทดสอบทักษะกีฬารักบี้ฟุตบอลสำหรับนิสิตนักศึกษาควรประกอบด้วย แบบทดสอบการถือลูกวิ่ง แบบทดสอบการวิ่งส่งลูก แบบทดสอบการรับลูก และแบบทดสอบการเตะลูกรักบี้ฟุตบอล โดยข้อทดสอบนี้มีค่าความแม่นตรงและความเชื่อมั่น .70 และ .84 ตามลำดับ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 2. ระดับความสามารถของแบบทดสอบทักษะรักบี้ฟุตบอลสำหรับนิสิตนักศึกษาควรใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้ คะแนน "ที" ปกติ ระดับ 254 และสูงกว่า ดีมาก 227-253 ดี 174-226 ปานกลาง 147-173 อ่อน ต่ำกว่า 147 อ่อนมาก |
Other Abstract: | The purpose of this study was to construct a rugby-football skill test as well as setting up norms for college students. Thirty male students of Kasetsart University were used as the samples in constructing the skill test. And one hundred and fifty male students with 30 of each from Srinakharinwirot Prasarnmitr University, the College of Physical Education at Angthong, Mahasarakharm, Chonburi and Samuthsakhorn were used as the samples in setting up norms. The obtained data were then analyzed into means, standard deviations, correlation coefficients and normalized "T"-score. The t-test was also employed to determine the significance. It was found that: 1. The battery of a rugby football skill test should comprise ball carrying test, ball passing test, ball catching test and ball punting kick test. The validity and reliability of the test were .70 and .84 respectively, and they were significant at .01 level. 2. The norms of the rugby football skill test was: "T"-score Level 254 and higher Very good 227 253 Good 174 - 226 Average 147 173 Poor Lower 147 Very poor |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17911 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Varin_Ma_front.pdf | 327.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varin_Ma_ch1.pdf | 551.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varin_Ma_ch2.pdf | 328.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varin_Ma_ch3.pdf | 375.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varin_Ma_ch4.pdf | 261.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varin_Ma_ch5.pdf | 292.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varin_Ma_back.pdf | 448.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.