Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17924
Title: การพยากรณ์และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์
Other Titles: Forecasting and analysis of factors affecting security price variation
Authors: วัลลภ โรจนศิริวณิชย์
Advisors: อนุชิต ล้ำยอดมรรคผล
สริตา บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หลักทรัพย์
การทำนายราคาหลักทรัพย์
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการดำเนินธุรกิจทั่วไปเมื่อมีความต้องการหาแหล่งเงินทุนเพื่อขยายกิจการ อาจทำได้โดยการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งธุรกิจต้องมีภาระในการใช้ค้นเงินต้นและดอกเบี้ยหรือโดยการออกหุ้นขายแก่ประชาชนกระจายความเป็นเจ้าของออกไป ตลาดหลักทรัพย์จึงมีบทบาทให้การซื้อขายหลักทรัพย์ครั้งแรกในตลาดแรกมีสภาพคล่อง ผู้ถือหุ้นสามารถนำหลักทรัพย์ไปจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ได้เมื่อต้องการ ราคาหลักทรัพย์จะเกิดขึ้นตามอุปสงค์และอุปทานของหลักทรัพย์ภาวะของตลาดจะอยู่ในช่วงที่ราคามีการเคลื่อนไหวคึกคักหรือซบเซานั้น ดัชนีราคาตลาดจะเป็นตัวบ่งบอกถึงสภาพของตลาดได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพฤติกรรมเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าราคาไม่ได้เป็นไปโดยสุ่ม แต่ราคามีความสัมพันธ์กันในบางช่วงเวลาในอดีตจึงควรมีการศึกษาเพื่อหารูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตเพื่อมาคาดการณ์ราคาในอนาคตงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ข้อมูลราคาในอดีต โดยใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลาเพื่อหาว่าหลักทรัพย์ใดควรใช้เทคนิคการพยากรณ์แบบใด และใช้ข้อมูลย้อนหลังเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม โดยเปรียบเทียบระหว่างอนุกรมบ๊อกซ์ – เจนกินส์ การเฉลี่ยเคลื่อนที่ซ้ำสองครั้งและเทคนิคการทำให้เรียนแบบเอกช์โปเนนเชียลซ้ำสองครั้ง 2. หาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์กับราคาหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายมาก 3. ศึกษาทัศนคติของผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การศึกษานี้จะเลือกหลักทรัพย์ 3 ประเภทคือ ธนาคาร สถาบันการเงินอื่นๆ และกลุ่มพาณิชย์อุตสาหกรรม มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดตั้งแต่ปี 2520 ถึง 2526 และมีการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างต่อเนื่อง หลักทรัพย์ที่เลือกมาศึกษาได้แก่ ธนาคารกรุงเทพจำกัด ธนาคารกสิกรไทยจำกัด ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยบริษัทชลประทานซีเมนต์ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยและบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโลจำกัด โดยศึกษาอนุกรมเวลาราคารายวันและรายสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าอนุกรมเวลาบ๊อกช์ – เจนกินส์ใช้ในการพยากรณ์ได้ดีกว่าการเฉลี่ยเคลื่อนที่ซ้ำสองครั้งและเทคนิคการทำให้เรียบแบบเอกช์โปเนนเซียลซ้ำสองครั้ง ยกเว้นข้อมูลราคารายสัปดาห์ของธนาคารกรุงเทพ การเฉลี่ยเคลื่อนที่ซ้ำสองครั้งใช้ได้ดีที่สุด และบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล เทคนิคการทำให้เรียบแบบเอกช์โปเนนเซียลซ้ำสองครั้งใช้ได้ดีที่สุด ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่เลือกวิเคราะห์อนุกรมเวลาเพียงบางช่วงเวลาเท่านั้น จึงสามารถใช้ราคาหลักทรัพย์เหล่านี้มาคาดการณ์แนวโน้มของดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ได้เพียงบางช่วงเท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้ตลอด ผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงได้แก่กำไรจากการดำเนินงานของกิจการและเงินปั่นผลต่อหุ้น ส่วนการที่ราคาหลักทรัพย์ตกลงหลังปันผลไม่เท่ากับจำนวนเงินปันผล เนื่องจากปัจจัยสำคัญได้แก่กำไรจากการดำเนินงาน เงินปันผลต่อหุ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคาร ซึ่งเป็นปัจจัยเดียวกับที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง ระยะเวลาในการติดตามราคา ผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์มีความเห็นว่าการติดตามข้อมูลราคาทุกวันให้ประโยชน์มากกว่าอาทิตย์ละ 1 วัน แต่สำหรับผู้ซื้อขายในฐานะนักลงทุนและอาจไม่จำเป็นต้องติดตามราคาทุกวัน
Other Abstract: Business enterprises can get capital funds from external sources to expand business activities either by borrowing form financial in¬stitutions to which they have to repay principal and interest, or by selling security to the public. In the latter case, the security ex¬change has played a significant role as a primary market to mobilize funds from the public for such companies. In addition, the market becomes a secondary one where securityholders can trade securities as desired and price are determined by supply and demand. The bullish and bearish situations in the market were well-reflected by the movement of security price index. According to the study, security prices do not move radomly by are related to some periods in the past. In this context a study should be made of historical price movement relations in order to forecast future price changes. The objectives of this study are as follows:- 1. To analyse historical price data by using Time Series Analysis to find out the appropriate forecasting technique as well as the number of retroactive observations for each security. The method to be selected are Box-Jenkins methodology, Double Moving Average and Double Exponential Smoothing. 2. To identify the relation ship between the SET Index and prices of high-turnover securities. 3. To verify the attitudes of people involed in security exchange activities. In this study, securities are selected from three business groups, namely banks, other financial institutions, and commerce & industry. The selected securities were high-turnover and their price had moved continuously. Among the companies which their securities were selected are the Bangkok Bank Ltd., the Thai Farmer Bank Ltd., the Bank of Ayudhya Ltd., the Industrial Finance Corporation of Thailand, the Jalaprathan Cement Co, Ltd., the Sim City Cement Co, Ltd. and the Maboonkrong Drying and Silo co, Ltd. The security prices used in the study were time series and applied for both daily and weekly data. According to the study results. Box-Jenkin mothodology is more effective in price forecasting as compared with Double Moving Average and Double Exponential Smoothing, except weekly prices form the Bangkok Bank and Maboonkrong Drying & Silo for which the Double Moving Average and Double Exponential Smoothing are well-applicable. It is also found that the SET index related to the selected security priced for only some periods. This implies that we can not continuously forecast the SET index trend from these security prices. Most of the people involed in security exchange activites believe that the prime factors affecting the security price variation are operating income and dividend per share. The difference between drops in price after dividend payment and dividend mainly results form operating income of firm, dividend per share and interest on loans from commercial banks. They are the same factors causing security Price changes. For the frequency to follow security price it is more benefial for speculators, as risk-takers, to keep up with information on pace movements more closely (i,e. daily rather than weekly) while traders, as investors, need not to do so.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17924
ISBN: 9745643459
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vullop_Ro_front.pdf385.99 kBAdobe PDFView/Open
Vullop_Ro_ch1.pdf523.96 kBAdobe PDFView/Open
Vullop_Ro_ch2.pdf299.03 kBAdobe PDFView/Open
Vullop_Ro_ch3.pdf346.1 kBAdobe PDFView/Open
Vullop_Ro_ch4.pdf864.94 kBAdobe PDFView/Open
Vullop_Ro_ch5.pdf257.36 kBAdobe PDFView/Open
Vullop_Ro_back.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.