Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1792
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุนีย์ มัลลิกะมาลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์-
dc.date.accessioned2006-08-15T10:10:01Z-
dc.date.available2006-08-15T10:10:01Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1792-
dc.descriptionการมีส่วนร่วมของประชาชน ; การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ; องค์กรประชาชน ; องค์กรพัฒนาเอกชน -- การกำกับดูแลและส่งเสริมบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย -- บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- ราชชื่อองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมen
dc.description.abstractบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนมีความสำคัญต่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐก็ยอมรับด้วยการบัญญัติเป็นกฎหมายรองรับไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยกฎหมายกำหนดเงื่อนไขว่าองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีกิจกรรมด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม จะต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างประเทศ และได้จดทะเบียนเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านการคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรตามธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นมาตรการในการกำกับดูแลการดำเนินการขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และกฎหมายได้กำหนดมาตรการจูงใจ และส่งเสริมการใช้บทบาทในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมขององค์กรพัฒนาเอกชนไว้ด้วยการให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกเมื่อประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินการ และให้เงินทุนสนับสนุนการดำเนินกิจการโดยใช้เงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 8 ปัญหาก็คือมีองค์กรพัฒนาเอกชนอยู่จำนวนมากที่ยังไม่มีศักยภาพความพร้อมตามเงื่อนไขของกฎหมายที่จะจดทะเบียนเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมได้ จึงทำให้จำนวนองค์กรพัฒนาเอกชนที่จดทะเบียนมีน้อย สำหรับบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น มีการใช้บทบาททั้งโดยตรง อันประกอบด้วยบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อม บทาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร บทบาทในการใช้สิทธิในสิ่งแวดล้อม และการใช้บทบาทโดยอ้อมโดยผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ด้วย 4 ท่าน จากจำนวนทั้งหมด 23 ท่าน ปัญหาก็คือองค์กรพัฒนาเอกชนไม่มีโอกาสที่จะเลือกหรือสรรหาผู้แทนของพวกตน เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และมีหลายองค์กรที่ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แทนของพวกตน จึงทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคในการใช้บทบาทโดยอ้อม นอกจากนี้แล้ องค์กรพัฒนาเอกชนยังมีบทบาทในการใช้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดคือ สิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจากรัฐ รัฐวิสหากิจ หรือเอกชนในโครงการที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับสิทธิที่จะร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนหน้าที่ตามกฎหมายก็คือหน้าที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม การวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้ภาครัฐปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในเรื่องคุณสมบัติขององค์กรพัฒนาเอกชนทีจะจดทะเบียนเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มสัดส่วนจำนวนองค์กรพัฒนาเอกชนที่จะแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และการออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดและวิธีการในการเลือกหรือสรรหาผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อเป็นตัวแทนในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับภาคองค์กรพัฒนาเอกชนนั้น ได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ในการดำเนินกิจกรรม และการสร้างเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการชักชวนให้นักวิชาการมหาวิทยาลัยให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมดำเนินการกับองค์กรพัฒนาเอกชนให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างดทางด้านวิชาการแก่องค์กรพัฒนาเอกชนen
dc.description.abstractalternativeThe roles of Non-Governmenta Organization (NGOs) in Thailand are significant to environmental protection. The government's acceptance thereof is evidenced by the enactment of Section 7 of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 which provides that all NGOs engaging in environmental protection shall be juristic persons under Thai or foreign laws and shall have to be registered as NGOs engaging in the protection and conservation of natural resources and environment with the Ministry of Science, Technology and Environment. Such requirements are measures for the overseeing of the operation of the environmental NGOs. The law also provides incentives and promotion for NGO roles in environmental protection by rendering assistance when they run into problems. Financial support is also given to assist operation from Environmental Fund in accordance with Section 8. Many of the NGOs do not have sufficient potential required by law to register as environmental NGOs ; therefore,only a few are registered NGOs. Environmental protection activities of the environmental NGOs are carried out directly and indirectly. NGOs play their direct roles in management of environment, dissemination of information, and exercise of environmental rights. Indirectly, their roles are also played through the National Environment Boad in which 4 of their representatives are members among the total number of 23 members. However, NGOs are not entitled to nominate their representatives for submission to the Council of Ministers for approval for their appointment as members of the Board. Some NGOs do not know who their representatives are, and this hinders their indirect activities. Inaddition, NGOs also play another role in exercising their rights and performing their duty as provided by law. Their rights include the right to obtain information from government agencies, the right to claim damages or compensation from the State, state enterprise, or any individual whose project causes damage, as well as theright to lodge conplaints against environment violators. As for their duty, they are required by law to protect the environment and to co-operate with officials in carrying out their environmental protection duty. This study recommends that the State amend the law concerning the qualification of the NGO required for the registration as an environemtal NGO, and increase the ratio of the expert menbers from NGOs on the National Environment Board. It is also recommended that a Ministerial Regulation be issued presecibing details and procedures for the nomination of the NGO representatives on the National Environment Board. It is also recommended that the NGOs omprove their pattern of activities and create a network of environmental NGOs, as well as invite academicians from universities to join them more participation in order to step up their activities thus strengthening the NGOs' academic potential.en
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent15023472 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectองค์กรพัฒนาเอกชนen
dc.subjectการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมen
dc.subjectการพัฒนาชุมชน--ไทยen
dc.titleบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย ในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeThe roles of non-government organization (NGO) in Thailand toward the protection of environment under the enhancement and conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535en
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorSunee.M@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuneeRole.pdf14.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.