Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17931
Title: การบริหารงานฝึกอบรมของศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
Other Titles: Management training of Thailand Managemnet Development and Productivity Centre, Industrial Promotion Department
Authors: วันชัย สุทิน
Advisors: เกศินี หงสนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม -- การบริหาร
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ ฯ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการอบรมบุคคลจากหน่วยงานธุรกิจอุตสาหกรรมและรัฐวิสาหกิจในประเทศให้มีความสามารถในเทคนิคการจัดการเพิ่มขึ้น ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยตั้งมาได้สิบเจ็ดปีแล้ว โดยรัฐบาลได้รับข้อเสนอแนะและความร่วมมือจากองค์การสหประชาชาติ วัตถุประสงค์ หลักของศูนย์ฯ คือการยกระดับมาตรฐานการครองชีพโดยการเพิ่มผลผลิตด้านอุตสาหกรรม โดยใช้วิธีการฝึกอบรม เทคนิคการจัดการสมัยใหม่แก่เจ้าหน้าที่และข้าราชการ เพื่อปรับปรุงการจัดการและการปฏิบัติงานในทุกระดับ ปัจจุบันศูนย์ ฯ มีฐานะเป็น “กอง” ในสังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์ฯ นับเป็นหน่วยงานขนาดกลาง มีข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำรวมแปดสิบห้าคน นอกจากความรับผิดชอบหลักคือการฝึกอบรมด้าน การจัดการศูนย์ฯ ยังให้บริการปรึกษา แนะนำ ด้านการจัดการทุกสาขาแก่หน่วยงานธุรกิจอุตสาหกรรม อีกทั้งมีภารกิจอื่นๆ ในการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต อาทิเช่นงานพิจารณาสนับสนุนช่างผู้ชำนาญและนักธุรกิจชาวต่างประเทศเข้าเมืองเพื่อประโยชน์แก่อุตสาหกรรม งานสำรวจความต้องการของอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคและการขอความร่วมมือด้านการจัดการจากต่างประเทศ เป็นต้น ปรากฏว่า งานและความรับผิดชอบของศูนย์ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางขึ้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ ที่ตั้งไว้ การศึกษานี้มุ่งที่จะติดตามผลการฝึกอบรมของศูนย์ฯ ในระยะที่ผ่านมาข้อมูลที่ได้มาแสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ของผู้ที่เคยผ่านการอบรมจากศูนย์ฯ และผู้บังคับบัญชาที่เคยส่งผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าได้รับการอบรมมีความเห็นพ้องกันว่าการฝึกอบรมนี้ให้เห็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะได้ช่วยพัฒนาและปรับปรุงความรู้ ความสามารถและความชำนาญของผู้รับการอบรมให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ เช่น งบประมาณในการดำเนินงานมีจำกัด กระบวนการสรรหาตัวบุคคลก็ไม่คล้องตัวและไม่ค่อยได้คนที่มีคุณสมบัติตามต้องการหรือตรงกับงานมีปัญหาความแตกต่างเกี่ยวกับสถานภาพและการเลื่อนขั้นระหว่างกลุ่มข้าราชการและกลุ่มลูกจ้างประจำ และการขาดแคลนวิทยากรผู้มีความสามารถซึ่งศูนย์ฯ เองก็กำลังดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้อยู่ แม้ว่าจะประสบปัญหาและอุปสรรค แต่ศูนย์ฯ ก็ประสบผลสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบผลงานปัจจุบันกับผลงานในปีที่ผ่านๆ มา ผลสำเร็จนี้ทำให้ศูนย์วางแผนและโครงการที่จะขยายบริการด้านการฝึกอบรมออกไปยังส่วนภูมิภาคเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค งานนี้ยังจะส่งผล ให้ศูนย์ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้าขวางยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ในอันที่จะได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานเบื้องบนมากขึ้น ผู้เขียนยังได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับศูนย์ฯ และปัญหาของศูนย์ฯ ไว้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในปัญหาด้านงบประมาณ ถ้าศูนย์ฯ สามารถหาวิธีประหยัดและรอบคอบในการใช้จ่ายงบประมาณที่มีจำกัด และในการมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ที่มีจำกัด ก็จะทำให้ศูนย์ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น และจะได้รับความเชื่อถือตลอดจนการสนับสนุนด้านการเงินและเทคนิคจากรัฐบาลและองค์กรต่างๆ สำหรับเรื่องคุณสมบัติของวิทยากร ศูนย์ฯ ก็น่าจะวางแผนพัฒนาบุคคลทั้งระยะสั้นและระยะยาวไว้ให้รอบคอบสมบูรณ์ ท้ายที่สุด แม้ศูนย์ฯ จะพยายามแก้ปัญหาความแตกต่างด้านสถานภาพและผลประโยชน์ในตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ แต่ก็เป็นวิธีการแก้ไขระยะสั้นที่ไม่ค่อยได้ผล เช่น การสร้างความสามัคคีระหว่างข้าราชการและลูกจ้างประจำ ตลอดจนเพิ่มสิ่งจูงใจให้กับลูกจ้างประจำ ในเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของศูนย์ฯ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เช่น เปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อที่จะให้ทุกคนที่ทำงานในนั้นเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจเหมือนกันหมด ผู้เขียนหวังว่าการศึกษานี้จะช่วยให้มีความเข้าใจในงานฝึกอบรมและการจัดการของศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยดีขึ้น และเป็นสิ่งกระตุ้นให้มีการศึกษาเรื่องนี้ต่อไปในอนาคต
Other Abstract: The Thailand Management Development and Productivity Center (TMDPC) is one of the government offices which belong to the Department of Industrial Promotion, the Ministry of Industry. It has played an important role in training individuals from business and industrial organizations including state enterprises so that they can improve their management skills. The TMDPC was established seventeen years ago under the cooperation of the Thai government and the United Nations Organization. Its main objective is to improve the standard of living of the Thais by increasing industrial productivity. This is to be done by improving the management at all levels of the organizations through the training of modern management techniques. The TMDPC, officially named the Industrail Productivity Division, is now a "division" under the Department of Industrial Promotion. The TMDPC is a medium - size government division. It has eighty-five officials together with employees. The major responsibility is to organize management training programs; it also gives consults and advices on management techniques to business and industrial organizations; including the foreign technical assistance for industrial productivity, to survey regional industrial demands, and to arrange international management cooperation. The increase of responsibilities and duties helps to promote directly and indirectly the rapid growth of industrial productivity. This study is aimed to see how the training programs of the TMDPC work out. The accessible data shows that the majority of trainees and of their superiors agreed that the training was constructive. It helped to develop and improve knowledge and skills which assisted the trainees to work more efficiently. It was found that the TMDPC has faced several problems such as the insufficient budget, the inability to recruit proper personnel, the conflict between officials and employees on roles and promotion, and lack of qualified trainers. However, the TMDPC has been attempting to solve these problems. Fortunately, the TMDPC has been successfully and recognised by both public and private organizations in training programs. Therefore, it intends to expand its training services to regional business and industrial organizations. As mentioned above, suggestions and recommendations will be as follows : the TMDPC would do the best to gain more trust and find the way to get more financial and technical support from the government and other organizations. There should be the man-power development planning for its staff-trainers inorder to improve their qualification. Finally, the TMDPC has to overcome the problem of differences of statuses among personnel by using the merit system in promotion. It will help create unity within the office, and eliminate the gap between officials and employees. In sum, if it is possible, the TMDPC should be a state enterprise, or merged with any National Training Center. It believes that the training programs or the TMDPC will be more recognised, and it should also encourage further studies on this subject.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17931
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_Su_front.pdf436.87 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Su_ch1.pdf404.44 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Su_ch2.pdf990.25 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Su_ch3.pdf788.49 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Su_ch4.pdf919.47 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Su_ch5.pdf717.97 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Su_ch6.pdf565.81 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Su_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.