Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17952
Title: | การดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : การศึกษาเฉพาะกรณี |
Other Titles: | Supervisory operation for student teaching in the Faculty of Education, Chiang Mai University : a case study |
Authors: | วาณี เอี่ยมศรีทอง |
Advisors: | นิพนธ์ ไทยพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ การฝึกสอน การนิเทศการศึกษา ครู -- การผลิต |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาความคาดหวังของอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกสอน ที่มีต่อการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. เพื่อเสนอแนะทางในการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิธีดำเนินการวิจัย ก. การเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 9 คน อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 22 คน อาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 170 คน และนักศึกษาฝึกสอน จำนวน 201 คน ซึ่งปฏิบัติงานนิเทศการฝึกสอนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2526 รวมจำนวนทั้งสิ้น 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถามสำหรับอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกสอน ซึ่งในแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง ถามสถานภาพของผู้ตอบเป็นแบบตรวจสอนและเติมคำ ส่วนที่สอง ถามสภาพการดำเนินงานและความคาดหวังเป็นแบบเลือกตอบและประเมินค่า ส่วนที่สาม ถามปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการดำเนินงาน เป็นแบบประเมินค่าและปลายเปิด จำนวนแบบสอบถามที่ใช้วิเคราะห์รวม 337 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.75 ของแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด สำหรับแบบสัมภาษณ์ใช้ถามผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นแบบสัมภาษณ์ที่สร้างคำถามเตรียมไว้ก่อน ข. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ความถี่สูงสุด และค่าร้อยละ ผลการวิจัย ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนในคณะศึกษาศาสตร์ 1.1 สถานภาพของบุคลากร อาจารย์นิเทศก์ส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุระหว่าง 31-35 ปี มีวุฒิการศึกษาปริญญาโท มีประสบการณ์การสอนในระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาระหว่าง 6-10 ปี และมีประสบการณ์การนิเทศนักศึกษาฝึกสอนระหว่าง 1-5 ปี อาจารย์นิเทศก์ทุกคนมีภาระงานสอนนักศึกษาและนักเรียนสาธิต เฉลี่ยสัปดาห์ละ 4-6 ชั่วโมง และ 6-10 ชั่วโมง ตามลำดับ และส่วนใหญ่รับผิดชอบนิเทศนักศึกษาฝึกสอนระหว่าง 21-30 คน อาจารย์พี่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มีมีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์การสอนในระดับมัธยมศึกษาระหว่าง 6-10 ปีและมีประสบการณ์การนิเทศนักศึกษาฝึกสอนระหว่าง 1-5 ปี อาจารย์พี่เลี้ยงจำนวนมากที่สุดมีชั่วโมงสอนสัปดาห์ละ 6-10 ชั่วโมง นักศึกษาฝึกสอนส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุระหว่าง 21-25 ปีมีวุฒิเดิมก่อนเข้าการศึกษาต่อในคณะศึกษาศาสตร์คือ วุฒิ ปก. ศ. สูง มากที่สุด รองลงมาคือวุฒิ ม.ศ. 5 วุฒิอื่นและวุฒิ ปวส. ตามลำดับ จำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งเคยฝึกสอนหรือเคยสอนมาก่อน ส่วนใหญ่ได้ฝึกสอนตามวิชาเอกที่เรียน และได้สอนนักเรียนระดับมัธยมต้น สัปดาห์ละ 12-15 ชั่วโมง 1.2 สภาพการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอน 1.2.1. ด้านการวางแผนโครงการนิเทศการฝึกสอน มีการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์มาก เกี่ยวกับการเตรียมอาจารย์นิเทศก์ การบริการและการส่งเสริมอาจารย์นิเทศก์ และการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานนิเทศให้อาจารย์พี่เลี้ยง มีการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานนิเทศให้อาจารย์นิเทศก์ และมีการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย เกี่ยวกับการจัดสรรและกำหนดคุณสมบัติอาจารย์นิเทศก์การเตรียมอาจารย์พี่เลี้ยง การกำหนดคุณสมบัติอาจารย์พี่เลี้ยง การบริการและการส่งเสริมอาจารย์พี่เลี้ยง การเตรียมนักศึกษาฝึกสอน การกำหนดคุณสมบัตินักศึกษาฝึกสอน และการบริการนักศึกษาฝึกสอน 1.2.2 ด้านการดำเนินการนิเทศการฝึกสอน การปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์มาก เกี่ยวกับการนิเทศนักศึกษาฝึกสอน และการประเมินผลนักศึกษาฝึกสอน แต่มีการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย เกี่ยวกับการสัมมนาฝึกสอนและมีข้อสังเกตว่าอาจารย์พี่เลี้ยงมีส่วนร่วมการสัมมนาการฝึกสอนน้อย 1.3 ปัญหาในการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนที่สำคัญ ได้แก่ 1.3.1 อาจารย์นิเทศก์ไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับนิเทศนักศึกษาฝึกสอนที่ฝึกสอนโรงเรียนห่างไกลจากคณะได้ครบถ้วนทั่วถึง และเวลาสำหรับการปรึกษาหารือกับอาจารย์พี่เลี้ยง 1.3.2. อาจารย์พี่เลี้ยง มีความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย จุดมุ่งหมายในการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนไม่ชัดเจน 1.3.3 นักศึกษาฝึกสอน มีปัญหาการปรับตัวในระยะแรกของการฝึกสอน 1.3.4 ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานนิเทศคือ คณะฯ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ภาระงานของอาจารย์นิเทศก์มีมากเกินไป การควบคุมการปฏิบัติงานงานนิเทศปฏิบัติได้ยาก การจัดยานพาหนะให้เพียงพอกับความต้องการของอาจารย์นิเทศก์ และการแจ้งข่าวสารล่าช้าไม่ทันเหตุการณ์ 2. ความคาดหวังต่อการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนคณะศึกษาศาสตร์ ของอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกสอน 2.1 ด้านการวางแผนโครงการนิเทศการฝึกสอน ประชากรคาดหวังระดับสูง ให้มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมอาจารย์นิเทศก์ การบริการและการส่งเสริมอาจารย์นิเทศ การกำหนดแนวทางปฏิบัติงานนิเทศให้อาจารย์พี่เลี้ยง การเตรียมอาจารย์พี่เลี้ยง และการเตรียมนักศึกษาฝึกสอน นอกนั้นคาดหวังระดับปานกลาง ได้แก่ เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานนิเทศให้อาจารย์นิเทศก์ การจัดสรรและกำหนดคุณสมบัติอาจารย์นิเทศก์ การกำหนดคุณสมบัติอาจารย์พี่เลี้ยง การบริการและส่งเสริมอาจารย์พี่เลี้ยง การกำหนดคุณสมบัตินักศึกษาฝึกสอน และการบริการนักศึกษาฝึกสอน 2.2 ด้านการดำเนินการนิเทศการฝึกสอน ประชากรคาดหวังระดับสูงให้มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศนักศึกษาฝึกสอน คาดหวังระดับปานกลาง เกี่ยวกับการสัมมนาการฝึกสอน สำหรับการประเมินผลนักศึกษาฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์คาดหวังระสูง แต่อาจารย์พี่เลี้ยงคาดหวังระดับปานกลาง 3. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนในคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีดังนี้ คือ 3.1 เกี่ยวกับการวางแผนโครงการนิเทศการฝึกสอน 3.1.1 ควรกำหนดนโยบายและจุดมุ่งหมายการดำเนินงานนิเทศการฝึกสอนไว้ชัดเจน และชี้แจงบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างทั่วถึง 3.1.2 ให้ความสำคัญของงานนิเทศการฝึกสอนเช่นเดียวกับงานสอนวิชาปฏิบัติการ และกำหนดอัตราส่วนภาระงานสอน ภาระงานนิเทศ และงานบริการ ให้อาจารย์นิเทศก์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3 ควรเตรียมอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับความรู้ ทักษะการนิเทศและข้อสนเทศ (information) ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่อาจารย์พี่เลี้ยง 3.1.4 ควรเตรียมนักศึกษาฝึกสอนเกี่ยวกับความรู้วิชาเฉพาะและทักษะวิชาชีพครู โดยมีการให้เรียนวิชาเฉพาะที่เป็นวิชาบังคับครบถ้วน และมีการฝึกทักษะวิชาชีพมากขึ้น ตลอดจนให้นักศึกษามีโอกาสไปสังเกตการสอนในโรงเรียนก่อนจะออกฝึกสอน 3.1.5 ควรมีผู้ประสานงานของแต่ละฝ่าย เพื่อให้การติดต่อประสานงานระหว่างโรงเรียนฝึกสอนและคณะศึกษาศาสตร์รวดเร็วขึ้น 3.2 เกี่ยวกับการนิเทศนักศึกษาฝึกสอน 3.2.1 การให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) แก่นักศึกษาฝึกสอนควรจะมีการอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและนักศึกษาฝึกสอน โดยกระทำทันทีภายหลังจากการสังเกตการสอนแต่ละครั้ง 3.2.2 ควรกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงานและวิธีการประเมินผลการสัมมนาฝึกสอนให้ชัดเจนเพื่อให้อาจารย์นิเทศก์และนักศึกษาฝึกสอนมีความเข้าใจตรงกันและสรุปผลการสัมมนาจัดพิมพ์ให้บุคคลทุกฝ่ายได้ทราบ นอกจากนี้ควรจัดให้อาจารย์พี่เลี้ยงมีส่วนร่วมรับรู้เกี่ยวกับขบวนการสัมมนาฝึกสอนทุกขั้นตอนด้วย 3.2.3 การประเมินผลนักศึกษาฝึกสอนควรให้บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาฝึกสอนประเมินเฉพาะพฤติกรรมที่บุคคลนั้นๆ สามารถสังเกตได้อย่างแท้จริง |
Other Abstract: | Purpose: 1. To study the actual performance and problems of the supervisoty operation in the Faculty of Education, Chiang Mai University. 2. To study the expectation of the supervisors, coopera¬ting teachers, and student teachers concerning the supervisory operation of student teaching program in the Faculty of Education, Chiang Mai University. 3. To propose guideline of supervisory operation in the Faculty of Education, Chiang Mal University. procedures; The population of this study comprised of 9 administrator and supervisory operation committee, 22 supervisors, 170 coopera¬ting teachers and 201 student teachers who in the programme during the second semester of 1983 academic year in the Faculty of Education, Chiang Mai University. The questionnaire employed in this study was in the form of check-list, rating scale and open - ended, comprised of 3 aspects. of the total 393 set of questionnaire sent out, 21 were completed and returned from supervisors, 145 from cooperating teachers and 171 from student teachers totaling 337 or 85.75 percent. The returned questionnaire were analyzed in terms of mode and percentage. For the adminis¬trator and the supervisory operation committee, they were interviewed by using structured interview. Findings: The findings of this study can be summarized as follows: 1. The actual performance and problems in supervisory operation in the Faculty of Education. 1.1 Status of the respondents. Most of the supervisors are females, aged between 31-35 years with Master Degree. They have had teaching experience in the secondary school and tertiary for 6-10 years and 1-5 years for supervising student teachers. Every supervisor was to take care of their teaching about 4-6 hours in the university and 6-10 hours in the demonstration school per week. Most of them were responsible for supervising 21-30 student teachers. Most of the cooperating teachers are females, aged between 26-30 years with Bachelor Degree. They had teaching experience in the secondary school level for 6-10 years and 1-5 years for supervising student teachers. Most of them were to take care of their classes about 6-10 hours per week. Most of student teachers are females aged between 21-25 years with higher certificate in education, high school certificate and higher Certificate in Vocational Education. More than half of them have had teaching experience before and they practical their student with in their major subject area in lower level approximately 12-15 hours per week. 1.2 Concerning the supervisory planning they had high level performance in the areas of supervisory preparation, services and supports for supervisors and supervising assign¬ment for cooperating teachers, they had everage in the area of supervising assignment for supervisors and they had low level performance in the areas of supervisory placement and qualifica¬tion cooperating teachers preparation, cooperating supervisor qualification, services and supports for cooperating teachers, student teachers preparation, student teachers qualification and services for student teachers. 1.3 Concerning the supervisory operation they had high level performance in the areas of student teachers supervising and evaluation. They had low level performance in the areas of the practice teaching seminar and also the participation of cooperating supervisors in practice teaching seminar. 1.4 Concerning the problems in supervisory operation. 1.4.1 The supervisors had not enough time to supervise the student teachers who taught in schools that were far from the Faculty and had not enough time to discuss any problem with the cooperating teachers. 1.4.2 The cooperating teachers did not understand clearly about supervisory policy. 1.4.3 The student teachers had problems adapting themselves in the beginning of the practice teaching. 1.4.4 There was not definite policy about the supervisory operation of the Faculty and that made it difficult for the administrators and the supervisory operation committee to manage .e The supervisor work was over load. The transporta¬tion was inconvenient and the communication was inefficient. 2. The expectation for the supervisory operation of the supervisors, cooperating teachers and student teachers. 2.1 Concerning the supervisory planning, they had high expectation in the areas of supervisor's preparation, services and supports for supervisors, supervising assignment for the cooperating teachers and student teachers preparation. They had average expectation in the area of supervizing assignment for the supervisors, supervisory placement and qualification, coopera¬ting teachers qualification, services and supports for cooperating teachers, student teachers qualification and services for student teachers. 2.2 Concerning the supervisory operation, they had high expectation in the area of student teachers supervising average expectation in the area of practice teaching seminar. The supervisors had high expectation on student teachers evalua¬tion but the cooperating teachers had average expectation on it. 3. Suggestions for supervisory operation of the Faculty of Education Chiang Mal University. 3.1 Supervisory planning. 3.1.1 The policy and the goals of supervisory operation should be done and informed to those who concern clearly. 3.1.2 The importance of the supervising should be emphasized as well as the practice teaching and the work load of teaching, supervising and service should be provided efficiently for the supervisors. 3.1.3 The cooperating teachers should be prepared in the areas of knowledge, skill for supervising and information that is nescessory for them as cooperating teachers. 3.1.4 The student teachers should be prepared in the area of specific knowledge and professional skins by taking all the specific courses required and take more courses in pro¬fessional skills. Student teachers should have opportunity to observe teaching before their practice teaching. 3.1.5 There should be more cooperation of both the school and the Faculty of Education to make better working relationship. 3.2 Supervision of student teaching. 3.2.1 There should be the discussion between the supervisor and the student teachers about feedback right away after each teaching observation. 3.2.2 The objectives, the process and practice teaching seminar evaluation should be clearly stated so that the supervisors and the student teachers will have the same understanding. The seminar report should be published for every one. And the cooperating teachers should be let to know every step of the practice teaching seminar process. 3.2.3 The student teachers should be evaluated by every one who concerns in the specific behavior that is clearly observed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17952 |
ISBN: | 9745673137 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanee_Ei_front.pdf | 502.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanee_Ei_ch1.pdf | 460.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanee_Ei_ch2.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanee_Ei_ch3.pdf | 365.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanee_Ei_ch4.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanee_Ei_ch5.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanee_Ei_back.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.