Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1795
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ไชยยศ เหมะรัชตะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายวิธีพิจารณาและธรรมนูญศาล | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-15T10:26:45Z | - |
dc.date.available | 2006-08-15T10:26:45Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1795 | - |
dc.description.abstract | สัญญาขายฝากในประเทศไทยมีหลักกฎหมายมาบังคับใช้กันมาช้านานแล้ว ซึ่งตามกฎหมายเก่า การขายฝากมีลักษณะเป็นสัญญาประกันชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับการจำนำและสัญญาประกันอย่างอื่นโดยพัฒนาขึ้นมาจากสัญญาขายฝากทาสซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสมัยโบราณ แต่สัญญาขายฝากตามกฎหมายเก่าของไทยมีลักษณะที่แตกต่างกับสัญญาขายฝากตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ กล่าวคือผู้ขายฝากไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากให้แก่ผู้รับซื้อฝากคงส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อฝากเพื่อทำกิน หรือใช้ประโยชน์ต่างดอกเบี้ยเท่านั้น ผู้ขายฝากก็มีสิทธิเอาสินทรัพย์ที่ขายฝากนั้นกลับคืนมาได้โดยการชำระหนี้ที่เป็นประกันคืนให้แก่ผู้รับซื้อฝากภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้าผู้ขายฝากไม่ทำการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าวกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจึงจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยเด็ดขาด ซึ่งตราบใดที่ทรัพย์สินนั้นยังไม่หลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝากย่อมจะไม่มีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหรือทำลายทรัพย์สินนั้นได้ สำหรับสัญญาขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ใช้บังคับในปัจจุบันนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากได้โอนไปยังผู้รับซื้อฝากแล้ว ตั้งแต่ขณะเมื่อทำสัญญาขายฝากกัน เพียงแต่มีข้อตกลงกันเป็นพิเศษในสัญญาซื้อขายนั้นว่า ผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นหรือโดยกฎหมาย เหตุนี้สัญญาขายฝากตามกฎหมายปัจจุบันจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประกันดังเช่นตามกฎหมายเก่า แต่เป็นสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกับสัญญาซื้อขายธรรมดาโดยมีการชำระราคาเป็นการตอบแทนซึ่งถ้าหากผู้ขายฝากไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 บัญญัติว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่เคยตกไปกาผู้ซื้อเลย แต่ในระหว่างที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากตกได้แก่ผู้ซื้อฝากนั้นโดยหลักแห่งกรรมสิทธิ์ (มาตรา 1336) ผู้ซื้อฝากย่อมมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายและได้ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้นเช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินโดยทั่วไป ทั้งนี้เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ในสัญญาว่า ไม่ให้ผู้ซื้อจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝากนั้น ก็ย่อมต้องเป็นไปตามข้อตกลงซึ่งหากผู้ซื้อฝ่าฝืนสัญญาก็ต้องรับผิดต่อผู้ขายในความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น (มาตรา 493) แม้สัญญาขายฝากตามกฎหมายฉบับปัจจุบันจะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประกันก็ตาม แต่ก็ยังคงมีลักษณะกับสัญญาประกันเช่นจำนอง จำนำ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะสัญญาขายฝากนั้นเป็นการเอาทรัพย์สินโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบให้แกเจ้าของเงินซึ่งโดยลักษณะของสัญญาย่อมมีความมั่นคงมากกว่าสัญญาประกันอย่างอื่น ที่มิได้มีการโอนกรรสิทธิ์ในทรัพย์สินกันอย่างมากมาย และเนื่องจากเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไปให้แก่ผู้ซื้อดังกล่าวนี้เอง ถ้าเจ้าของทรัพย์สินผู้ขายต้องการได้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาเป็นของตนอีกครั้งก็ต้องใช้สิทธิไถ่หรือชำระหนี้เงินค่าซื้อที่รับไปในตอนแรกคืนให้แก่ผู้ซื้อฝาก ตราบใดที่ทรัพย์สินนั้นผู้ขายยังมิได้ไถ่คืน กรรมสิทธิ์ก็ยังคงเป็นของผู้ซื้อฝากอยู่ ดังนั้น ผู้ซื้อฝากจึงจะมีสิทธิจัดการแก่ทรัพย์สินนั้นประการใดก็ได้โดยหลักแห่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวมาแล้ว และถ้าหากผู้ขายไม่ไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นคืนภายในกำหนดผู้ซื้อฝากก็อาจเอาทรัพย์สินนั้นออกขายเพื่อชดใช้ราคาทรัพย์ที่เสียไปในตอนทำสัญญาขายฝากเสียก็ได้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่เจ้าของเงินซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากไม่มีทางที่จะเสียเปรียบ และต้องสูญเสียเงินของตนไปโดยไม่หนทางเรียกกลับคืนดังสัญญาประกันอย่างอื่น ความยุ่งยากในทางปฏิบัติอันเกิดแต่การทำสัญญาขายฝากนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากความบกพร่องของบทบัญญัติในกฎหมายลักษณะขายฝากฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันที่รวมเอาทั้งหลักกฎหมายเก่าของไทยและหลักกฎหมายของต่างประเทศเข้าไว้ด้วยกันโดยมิได้ขัดเกลาเนื้อหาและประสานรูปแบบให้สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสียก่อน ผลบังคับของกฎหมายลักษณะนี้ในบัจจุบันจึงออกมาในทำนองเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของเงิน ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากมากกว่าผู้ขายฝากซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ในอีกส่วนหนึ่งนั้นความบกพร่องมิได้เกิดจาก เนื้อหาของกฎหมายลักษณะขายฝากฉบับปัจจุบันนี้แต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการตีความบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะนี้ของผู้มีหน้าที่วินิจฉัยและระงับข้อพิพาทอันเกิดแต่สัญญาขายฝากอีกด้วย ซึ่งเมื่อรวมความบกพร่องทั้งในด้านเนื้อหาของกฎหมายลักษณะนี้และการตีความกฎหมายของผู้ใช้กฎหมายเข้าด้วยกันแล้ว จึงมีผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และเกิดการต่อต้านกฎหมายลักษณะขายฝากนี้มาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน สำหรับปัญหาที่เกิดในทางปฏิบัติอันเนื่องมาแต่การทำสัญญาขายฝากนั้น ที่เป็นปัญหาสำคัญจนถึงกับมีคำวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายลักษณะขายฝากว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ก็คือ ในเรื่องการกำหนดสินไถ่ในสัญญาขายฝาก ซึ่งในทางปฏิบัติคู่สัญญามักนิยมซื้อฝากกันในราคาหนึ่งและกำหนดสินไถ่ไว้ในอีกราคาหนึ่ง การกำหนดราคาทรัพย์สินในขณะทำสัญญาขายฝากนั้นส่วนใหญ่ตกลงซื้อขายกันในราคาเพียงครึ่งเดียวของราคาที่แท้จริงของทรัพย์สินนั้น ส่วนสินไถ่ก็มักจะตกลงกันไว้ในราคาที่สูงมากโดยคำนวณดอกเบี่ยในต้นเงินซึ่งเป็นราคาขายฝาก และสะสมเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นคืน ซึ่งเมื่อรวมดอกเบี้ยต้นเงินที่เป็นราคาขายฝากเข้าด้วยกันยอดเงินที่กำหนดเป็นสินไถ่จึงสูงมากจนผู้ขายฝากส่วนใหญ่ไม่สามารถหาเงินมาไถ่ทรัพย์สินของตนคืนได้ ทรัพย์สินนั้นจึงหลุดเป็นของผู้ซื้อฝากไปโดยเด็ดขาด วิธีการดังกล่าวนี้ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่าเป็นการกดขี่ขูดรีดผู้ที่มีความเดือดร้อนทางด้านการเงินอย่างโหดร้ายทารุณ ในท้ายที่สุดเมื่อข้อพิพาทเหล่านี้ขึ้นสู่ศาล ศาลกลับเห็นไปว่าเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะศาลตีความว่า "สินไถ่" ก็คือราคาซื้อทรัพย์สินที่ขายฝากลับคืนมานั่นเอง จึงไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายและความตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าบางเรื่องจะปรากฏพฤติการณ์โดยชัดเจนว่าเป็นการเรียกดอกเบี้ยกันเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ยังบังคับได้เช่นเดียวกัน (คำพิพากษาศาลฎีกา 707-708/2505, ที่ 410/2510, ที่ 2802/2522) เกี่ยวกับเรื่องสินไถ่ในสัญญาขายฝากนี้ ความจริงถ้าพิเคราะห์ลักษณะของสัญญาขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 แล้ว จะเห็นว่าสัญญาขายฝากนั้นประกอบด้วยข้อตกลงซื้อขายทรัพย์สินกันตามปกติธรรมดาส่วนหนึ่งและข้อตกลงในการ "ไถ่" ทรัพย์สินอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งข้อตกลงทั้งสองนี้ต้องพิจารณาแยกกันเป็นคนละตอน จะตีความรวมกันไปว่าเมื่อสัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายชนิดหนึ่ง ข้อตกลงไถ่คืนย่อมเป็นการซื้อคืนด้วยหาได้ไม่ เพราะเป็นการตีความที่ไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงของข้อตกลง "ไถ่" ในมาตร 491 และคำว่า "สินไถ่" ในมาตรา 499 และมาตรา 500 นั้นจะต้องแปลตามความหมายธรรมดาที่แปลว่า "การถอนทรัพย์ที่ขายฝากคืน" และ "จำนวนเงินที่นำไปชำระเพื่อถอนคืนซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝาก" ตามลำดับ ซึ่งถ้าตีความคำว่า "ไถ่" และ "สินไถ่" ตามความหมายธรรมดา เช่นนี้แล้ว เมื่อคู่กรณีตกลงกำหนดสินไถ่ไว้ในสัญญาขายฝากสูงมากเกินไปจนถือได้ว่าเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องถือว่าเป็นการขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไปด้วย เกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิไถ่นั้น มาตรา 494 ห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งขายฝากเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย และสังหาริมทรัพย์ซึ่งขายฝากเมื่อพ้นกำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย ซึ่งถ้าในสัญญามีกำหนดเวลาไถ่เกินไปกว่านี้ก็ให้ลดลงมาเป็นสิบปีหรือสามปีแล้วแต่กรณี (มาตร 495) แต่ถ้าในสัญญามีกำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่าสิบปีหรือสามปีแล้ว คู่กรณีไม่อาจจะขยายเวลานั้นในภายหลังได้ (มาตรา 496) ซึ่งตามมาตรา 496 นี้ ศาลฎีกาตีความว่าข้อตกลงขยายระยะเวลาไถ่ตกเป็นโมฆะ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2506, ที่ 2320/2518, ที่ 2789/2522) เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายโดยชัดแจ้ง (มาตรา 113) อย่างไรก็ดี การตีความดังกล่าวของศาลมีผลทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่กรณีในสัญญาขายฝาก โดยเฉพาะทางฝ่ายเจ้าของทรัพย์สินผู้ขายฝากเป็นอย่างมาก เพราะกลายเป็นว่ากฎหมายได้ก้าวล่วงเข้าไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพของเอกชนมากเกินไป เป็นการขัดต่อหลักเสรีภาพและความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาอันเป็นเจตนารมณ์ที่สำคัญของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยตรง ซึ่งกฎหมายในยุคนี้ไม่น่าจะมีบัญญัติไว้เช่นนั้น เมื่อพิจารณาบทบัญญัติของกฎหมายขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยตลอดแล้ว จะเป็นได้ว่ายังมีข้อบกพร่องที่จะต้องดำเนินการแก้ไขและเยียวยาอยู่อีกมาก โดยเฉพาะในส่วนที่อาจมีผลก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้ขายหรือผู้ซื้อและรวมทั้งบุคคลภายนอกที่อาจเข้ามามีส่วนได้เสียในสัญญาขายฝากด้วย ซึ่งวิธีดำเนินการแก้ไขและเยียวยาดังกล่าวนี้อาจจะกระทำได้สองวิธี คือวิธีแรก ตรากฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับเพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายนั้น เสียทีเดียว และวิธีที่สองก็คือ พยายามบรรเทาผลร้ายอันเกิดจากความไม่เป็นธรรมในกฎหมายนั้นให้เหลือน้อยที่สุดโดยวิธีการตีความกฎหมาย การอุดช่องว่างของกฎหมายและการใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงสภาวะและความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือที่เรียกกันว่า หลัก Evolutive ด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | In Thailand the contract of sale with right of redemption has been ruled by law for a long time. According to the old law, sale with right of redemption is of its nature like a type of surety contract as same as pledge and other surety contracts. It develops from the contract of slave sale with right of redemption which was very popular in the past. However, the contract of sale with right of redemption according to the Thai old law differs from the contract of sale with right of redemption according to the current law: the seller does not transfer ownership of the property sold to the buyer, the buyer can only occupy the property sold for his living or utilization as interest and the seller is entitled to take the property sold back by making payment for debts to the buyer within the fixed period but, if the seller fails to make payment within such fixed period, the ownership of the property sold shall pass to the buyer completely. As long as the ownership of the property does not pass to the buyer, the buyer is not entitled to dispose, transfer or destroy it. The contract of sale with right of redemption according to the current Civil and Commercial Code is a type of sale contract as to which the ownership of the property sold is transferred to the buyer as from the time making the contract of sale with right of redemption but, there is a special agreement in the contract of sale that the seller can redeem the property sold within the period fixed by the contract or by law. Therefore, the contract of sale with right of redemption as to the current law is not, of its nature, a surely contract according to the old law. It is a contract whereby the ownership of the property is transferred as same as the ordinary contract of sale, as to which the price payment is made as compensation. If the seller redeems the property sold within the period fixed by the contract or by law, the Civil and Commercial Code, section 492 states that the ownership is deemed to have never been vested in the buyer according to the ownership principle (section 1336); the buyer has the right to use and dispose of it and acquires its fruits as same as an owner of property provided that it is agreed in the contract that the buyer shall not dispose of the property sold. If he dispose of it contrary to his agreement, he shall be liable to seller for any injury resulting thereby (section 493). Eventhough the nature of the contract of sale with right of redemption according to the current law is not like a surely contract, it is similar to the surely contract, such as the mortagage and pledge, in some ways because the contract of sale with right of redemption transfers the ownership of the property to the owner of money which is more secure by its nature than another surely contract whereby the ownership of property is not transferred. Since the ownership of property is transferred to the buyer, if the owner of the property-the seller desires to have such property back, he has to use his right to redeem it or repay the debt, the purchase price, to the buyer. As long as the property is not redeemed by the seller, the ownership is still vested in the buyer, therefore the buyer has the right to dispose the property as to the ownership principle mentioned above. If the seller does not redeem the property sold within the fixed period, the buyer may dispose the property to reimburse the purchase price of property paid at the time making the contract of sale with the right of redemption. In such case the owner of money-the buyer will not be disadvantageous and lose his money without way to regain it as in other surely contracts. Practical difficulty arising from making a contract of sale with right the redemption is partly due to fault of the provisions of the current law on sale with the right of redemption combining both the Thai and old law and foreign law without revising the contents and harmonizing their forms, the enforcement of the current law thus rather gives benefits to the owner of money-the buyer than to the seller-the owner of the property. In another part the fault is not due to the contents of the current law on sale with right of redemption at all, it is because of interpretation of the law thereanent rendered by the person in charge of judging and setting dispute arisen from the contract of sale. The fault of contents of law and interpretation of the law users cause criticism and resistance against law on sale with right of redemption up till now. The remarkable practical problems arising from the contract of sale with right of redemption is so important that the law on sale with right of redemption is criticized unfair about the price of redemption fixed in the contract if sale with the right of redemption. Practically the parties always have the price of sale at one price and have the price of redemption fixed at another price. At the time of making the contract of sale with right of redemption the price of property is always agreed at half the actual price of the property while, the price of redemption is always fixed at a very high price including the interest of the principle which is the price. As the provisions of law on sale with right of redemption according to the Civil and Commercial Code is thoroughly considered, there are some faults to be corrected and cured especially in the parts that may cause unfairness to the particles concerned such as the seller or buyer and a third party that may have interest in the contract of sale with right or redemption. The performance of correction and cure can be done by two methods, the first is to enact a new law applicable to improve, alter or annul the old one and the other method is to try to relief the bad results caused by unfairness in the law to make it remain least by means of interpretation of law, to fill the law gaps and to use the law by considering about the situation and change of society or a so-called "Evolutive" principle. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | en |
dc.format.extent | 172586052 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ขายฝาก | en |
dc.title | การแก้ไขความไม่เป็นธรรมในกฎหมายขายฝาก : รายงานการวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Chaiyos.H@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Law - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ChaiyosRec.pdf | 96.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.