Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17965
Title: ความคิดเห็นของผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา และวิทยาลัยครู เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ของสภาการฝึกหัดครู
Other Titles: Opinions of secondary school mathematics teachers and teachers college instructors concerning mathematics contents listed in the undergraduate curriculum of teacher training council
Authors: กรัณณา ทองอาญา
Advisors: พร้อมพรรณ อุดมสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Prompan.U@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- หลักสูตร
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษากับอาจารย์ผู้สอนคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยครู เกี่ยวกับความสำคัญของเนื้อหาวิชาคณิตสาสตร์ตามหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตของสภาการฝึกหัดครู 2.จัดอันดับความสำคัญของความคิดเห็นของกลุ่มครูอาจารย์ทั้งสองดังกล่าว เกี่ยวกับความสำคัญของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ 3.หาความสัมพันธ์ในการจัดอันดับความสำคัญของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ของครูคณิตศาสตร์กับอาจารย์ผู้สอนคณิตศาสตร์ในวิยาลัยครู ตัวอย่างประชากร คือ ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งสำเร็จหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตของสภาการฝึกหัดครูจำนวน 102 คน และอาจารย์ผู้สอนคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยจำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบตรวจคำตอบและแบบมาตรฐานส่วนประเมินค่าซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอันดับที่ ผลการวิจัยพบว่า 1.ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษามีความเห็นว่าเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่สำคัญมากที่สุดต้องบรรจุในหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตของสภาการฝึกหัดครู ได้แก่ เซตและการดำเนินการของเซต ส่วนอาจารย์ผู้สอนคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยครู มีความเห็นว่า เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดต้องบรรจุในหลักสูตรได้แก่ เซตและการดำเนินการของเซต ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น โครงสร้างวิชาคณิตศาสตร์ การจัดลำดับและการจัดหมู่ 2.การจัดอันดับความสำคัญของความคิดเห็นของอาจารย์ทั้งสองกลุ่ม เกี่ยวกับความสำคัญของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า ทั้งสองกลุ่มให้ความสำคัญคล้ายคลึงกันในบางรายวิชา และแตกต่างกันในบางรายวิชา 3.การจัดอันดับความสำคัญในเนื้อหาวิชาของครูคณิตศาสตร์และอาจารย์ผู้สอนคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ และสถิติวิเคราะห์ ส่วนรายวิชาที่ครูคณิตศาสตร์และอาจารย์ผู้สอนมีความคิดเห็นสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ รายวิชา ทฤษฏีจำนวนเบื้องต้น พีชคณิตนามธรรม ทฤษฏีเซต และการวิเคราะห์เวกเตอร์ ส่วนรายวิชาที่ความคิดเห็นของทั้งสองกลุ่มไม่สัมพันธ์กันได้แก่ รายวิชา พีชคณิตระดับวิทยาลัย พีชคณิตเชิงเส้น สมการเชิงอนุพันธ์ โทโพโลยี พื้นฐาน เรขาคณิต ฟังก์ชั่นตัวแปรเชิงซ้อน และการวิเคราะห์จำนวนจริง
Other Abstract: The purposes of this research were: 1.To study the opinions of secondary school mathematics teachers and college mathematics instructors concerning the importance of mathematics content according to the undergraduate curriculum of Teacher Education Council. 2.To rank the opinions of the two groups mentioned in order of their importance. 3.To find the relationship between the ranking of the secondary school mathematics teachers and college mathematics instructors. The samples of this study consisted of 102 secondary school mathematics teachers who graduated from Teachers Education Council curriculum and 94 mathematics instructors from teachers colleges. Data were collected through a questionnaire which consisted of a check-list and a rating scale developed by the researcher. The data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and rank correlation. The results of the study revealed that: 1.According to the secondary school mathematics teachers, the most important content to be required in the curriculum was Sets and Its Operation, and according to the college mathematics instructors, the most important content was Sets and Its Operation, Functions and Relations, and Permutation and Combination. 2.The two groups’ opinions concerning the ranking of their importance were that they placed their importance similarly in some courses and differently in some courses. 3.The relationship between the two groups’ ranking of the importance of the content was statistically significant at the .01 level in the following courses: Foundation of Mathematics; Calculus and Analytic Geometry; Statistical Analysis. And those which were statistically significant at the .05 level were the following courses: Theory of Number, Abstract Algebra, Set Theory and Vector Analysis. But there was no relationship between the opinions of two groups in the following courses: College Algebra, Linear Algebra, Differential Equation, Topology, Foundation of Geometry, Complex Variables Function and Real Analysis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17965
ISBN: 9745604161
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Karanna_Th_front.pdf427.41 kBAdobe PDFView/Open
Karanna_Th_ch1.pdf342.78 kBAdobe PDFView/Open
Karanna_Th_ch2.pdf676.1 kBAdobe PDFView/Open
Karanna_Th_ch3.pdf297.1 kBAdobe PDFView/Open
Karanna_Th_ch4.pdf783.17 kBAdobe PDFView/Open
Karanna_Th_ch5.pdf297.77 kBAdobe PDFView/Open
Karanna_Th_back.pdf604.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.