Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17969
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มุรธา วัฒนะชีวะกุล | - |
dc.contributor.advisor | เข็มชัย ชุติวงศ์ | - |
dc.contributor.author | ก่อเกียรติ เอี่ยมบุตรลบ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-15T14:03:31Z | - |
dc.date.available | 2012-03-15T14:03:31Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745634796 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17969 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | โดยทั่วไปการรับฟังคำรับสารภาพเป็นพยานหลักฐานจำต้องเผชิญกับทางสองแพร่ง กล่าวคือ หากประเทศใดยึดหลัก crime control model ประเทศนั้นก็จะให้ความสำคัญแก่แนวความคิดในการควบคุมอาชญากรรม โดยให้อำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวน สอบสวน ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมทั้งการรับฟังคำรับสารภาพเป็นพยานหลักฐานก็สามารถทำได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมทั้งการรับฟังคำรับสารภาพเป็นพยานหลักฐานก็สามารถทำได้อย่างกว้างขวางด้วยเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็ตาม หากประเทศใดยึดหลัก due process model ประเทศนั้นก็จะให้ความสำคัญแก่แนวความคิดในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยให้ความสำคัญแก่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน กระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอนจะถูกจำกัดและถ่วงดุลโดยองค์กรอื่นที่มิใช่องค์กรของฝ่ายบริหาร การรับฟังคำรับสารภาพเป็นพยานหลักฐานจะถูกกำหนดการจำกัดขอบเขตไว้อย่างเคร่งครัดมาก การรับฟังคำรับสารภาพเป็นพยานหลักฐานโดยหลักทั่วไปจะต้องเป็นคำรับสารภาพของผู้ต้องหาที่ให้ต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนด้วยความสมัครใจในสหรัฐอเมริกาคำรับสารภาพด้วยความสมัครใจ หมายถึง คำรับสารภาพที่ให้แก่เจ้าพนักงานภายหลังที่เจ้าพนักงานนั้นได้ให้คำเตือนถึงสิทธิที่จะไม่ให้การและสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากทนาย และบุคคลผู้ให้คำรับสารภาพนั้นได้สละสิทธิดังกล่าวนั้นแล้วด้วยความรู้ถึงสิทธิเหล่านั้นและด้วยความรู้สึกผิดชอบในการกระทำในประเทศอังกฤษคำรับสารภาพด้วยความสมัครใจ หมายถึง คำรับสารภาพที่ได้รับมาภายหลังจากที่ตำรวจได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของศาล (Judges’ Rules) แล้ว ในประเทศไทยคำรับสารภาพด้วยความสมัครใจ หมายถึง คำรับสารภาพที่ผู้ต้องหาให้ต่อพนักงานสอบสวนโดยมิได้มีการบังคับ ขู่เข็ญ ล่อลวง ให้สัญญา จูงใจ หรือโดยวิธีการอันมิชอบใดๆ จากการศึกษาหลักกฎหมายของประเทศไทยพบว่า การสอบสวนคำรับสารภาพของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนในปัจจุบันยังมีจุดบกพร่องที่ทำให้น่าสงสัยว่าคำรับสารภาพนั้นได้มาด้วยความไม่สมัครใจหลายประการ กล่าวคือ การสอบสวน คำรับสารภาพของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องเตือนให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิที่จะไม่ให้การและสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากทนาย ในการสอบสวนก็มิต้องระบุจำนวนผู้ที่ทำการสอบสวนหรือบุคคลที่อยู่ร่วมด้วย หรือระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการสอบสวน การซักถามก็อาจมีการใช้คำถามนำ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ให้ความสำคัญแก่เรื่องดังกล่าวมาก ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ศาลอาจจะวินิจฉัยว่า คำรับสารภาพที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนเป็นคำรับสารภาพโดยไม่สมัครใจและไม่รับฟังเป็นพยาน หลักฐาน ฉะนั้น ในการสอบสวน ก่อนที่จะทำการสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาไม่ว่าจะเป็นคำรับสารภาพหรือไม่ พนักงานสอบสวนควรให้คำเตือนแก่ผู้ต้องหาโดย กล่าวว่า “ท่านมีสิทธิที่จะไม่ให้การ หากท่านสละสิทธิที่จะไม่ให้การ ถ้อยคำใด ๆ ที่ท่านพูดจะถูกบันทึกไว้และอาจใช้พยานหลักฐานยันท่านในการพิจารณา ท่านมีสิทธิที่จะพบและปรึกษากับทนายและมีทนายมาอยู่ร่วมด้วยในระหว่างการสอบสวน” นอกจากนี้ ในการสอบสวนควรระบุถึงจำนวนผู้สอบสวน เวลาที่ใช้ในการสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาที่อยู่ร่วมด้วยในขณะสอบสวน ในการซักถามพนักงานสอบสวนควรหลีกเลี่ยงการใช้คำถามนำ การใช้ภาษาที่ยากแก่การเข้าใจ การใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือถ้อยคำที่เป็นการกระตุ้นหรือเร่งเร้าที่ไม่สมควร ในการบันทึกพนักงานสอบสวนควรบันทึกให้ตรงกับถ้อยคำของผู้ต้องหา แต่ไม่จำต้องเหมือนกันทุกถ้อยคำ | - |
dc.description.abstractalternative | As the matter of fact, the admissibility of confession as evidences are faced with two objectives namely, for the Crime Control Model – Countries important is given to concept of Crime Control ley empowering the officers in the investigation, prevention and suppression of crimes in an extensive manner, including the admissibility of confession which can be extensively done in like manner although this may somewhat infringe on the rights of the citizens. On the contrary in the Due Process Model – Countries, importance is focused on the protection of the rights of their citizens rather than the convenience of the officer in doing their duties. It can be said that the limitation on the power of criminal justice should be considered and the balance of power with other administrative organizations, moreover the admissibility of confession as evidence should be strictly conformed with, and it must be based on voluntary asmission of the accused. In the United States voluntary confessions are needed in every cases. This means that the confessions must be done after the accused have been warned about their rights by the officers. In England, voluntary confessions mean that every step must be done after every performance according to the Judges’ Rules. And in Thailand voluntary confession must not be done with inducement, deceit or other unlawful means. In practice, it is found that the inquiries of inquiry officers on confession are mostly based on unvoluntary confession of the suspect and there is no such warning about the rights of the suspect provided in Thai Criminal Procedure and the same as rights to counsel. The details of inquiries such as the number of inquiry officers, the period of inquiries are not strictly written in the memorandum which are quite different from what is practiced in the United States and England. The avoid the case of confessions being found to be incorrectly and inconsistently done according to the Court Order, the inquiry officers must give warning to the accused that the accused may not give confession and if they confess this a can be used as evidences against, also that they have the rights to counsel. The details of inquiry documents should be strictly and correctly written, and the inquiry officers should also inquire with politeness and take notes of all the accused confess thoroughly. | - |
dc.format.extent | 334089 bytes | - |
dc.format.extent | 363373 bytes | - |
dc.format.extent | 923828 bytes | - |
dc.format.extent | 1977881 bytes | - |
dc.format.extent | 623373 bytes | - |
dc.format.extent | 461426 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา | en |
dc.subject | พยานหลักฐาน -- การสืบสวน, สอบสวน | en |
dc.subject | การรับสารภาพ | en |
dc.subject | พยานหลักฐาน | en |
dc.subject | ผู้ต้องหา | en |
dc.title | หลักการรับฟังคำรับสารภาพของผู้ต้องหา | en |
dc.title.alternative | The Significance of the accused confession | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Korkiat_Ai_front.pdf | 326.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Korkiat_Ai_ch1.pdf | 354.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Korkiat_Ai_ch2.pdf | 902.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Korkiat_Ai_ch3.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Korkiat_Ai_ch4.pdf | 608.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Korkiat_Ai_back.pdf | 450.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.