Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17986
Title: | การตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบประเภทเครื่องโต๊ะอาหาร เครื่องใช้ในครัวและเครื่องประดับบ้านเรือนชนิดเคลือบไฟสูง ในจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Marketing for tableware, kitchenware and household decorations of high firing glaza pottery in Chiangmai |
Authors: | กฤษณา รัตนพฤกษ์ |
Advisors: | นงเยาว์ ชัยเสรี สุรพัฒน์ วัชรประทีป |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เครื่องเคลือบดินเผา -- การตลาด อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบประเภทเครื่องโต๊ะอาหาร เครื่องใช้ในครัว และเครื่องประดับบ้านเรือนชนิดเคลือบไฟสูงในจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาถึงแนวทางต่างๆ ในด้านตัวผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทาง การจำหน่าย การส่งเสริมการจำหน่าย การสนับสนุนจากรัฐบาล ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ผู้ผลิตประสบอยู่ ข้อมูลในการศึกษาเรื่องนี้ ได้จากการสอบถามผู้ผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 9 ราย ผู้บริโภคจำนวนรวมทั้งสิ้น 500 ราย โดยแยกเป็นผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ 200 ราย และผู้บริโภคทั่วไปซึ่งอาจจะเคยซื้ออาจจะเคยซื้อหรือยังไม่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ จำนวน 300 ราย นอกจากข้อมูลดังกล่าวนี้แล้วยังได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ค้าปลีกในจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ของกองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตลอดจนเอกสารอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลจากการศึกษาพบว่า กรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการ ประกอบกับประสบการณ์และความละเอียดประณีตในการผลิต ในการเผานิยมใช้เตาฟืน วัตถุดิบได้แก่ดินดำ หิน แร่ธาตุและสารเคมีต่างๆ ค่าแรงงานเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ การจ่ายค่าแรงส่วนใหญ่อยู่ในรูปค่าจ้างรายวัน และแรงงานเป็นแรงงานไร้ฝีมือ เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้มีทั้งที่ใช้ไฟฟ้า และแรงคน ในด้านปริมาณการผลิตผู้ผลิตไม่สามารถผลิตได้ทันกับคำสั่งซื้อ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิต จากการศึกษาส่วนผสมทางด้านการตลาดในด้านที่เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตเกือบทั้งหมดผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะของตนโดยเฉพาะ มีตรายี่ห้อประทับไว้ในผลิตภัณฑ์ และนิยมหีบห่อผลิตภัณฑ์เองเพราะสามารถป้องกันการแตกหักเสียหายในการขนส่งได้ดีกว่าจ้างผู้อื่นหีบห่อ ส่วนการขนส่งนั้นจะจ้างกิจการที่รับขนส่งสินค้า ด้านราคาผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอง ในเรื่องช่องทางการจำหน่าย จะจำหน่ายตรงให้กับผู้บริโภคมากที่สุด และการส่งเสริมการจำหน่ายจะเน้นในรูปของการจัดนิทรรศการ สำหรับการวิเคราะห์ผู้บริโภคนั้น ผลิตภัณฑ์ที่เคยซื้อมากที่สุดได้แก่เครื่องประดับบ้านเรือน ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์คือรูปแบบและประโยชน์ใช้สอย ส่วนคุณภาพนั้นมีผู้บริโภคเพียงส่วนน้อยที่ให้ความสนใจ นอกจากนี้ผู้บริโภคได้แสดงทัศนคติที่มีต่อราคาว่าผลิตภัณฑ์มีราคาแพงเกินไป ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้แทนเครื่องเคลือบดินเผาได้ สีที่นิยม คือสีเขียว ในการซื้อไม่เจาะจงตรายี่ห้อ และซื้อจากโรงงานโดยตรง ปัญหาของผู้ผลิตมีหลายประการ นอกจากปัญหาด้านกรรมวิธีการผลิตแล้ว ยังมีปัญหาด้านวัตถุดิบ เชื้อเพลิง ปัญหาแรงงาน ปัญหาเรื่องการพัฒนาแบบของผลิตภัณฑ์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ปัญหาค่าขนส่งค่าหีบห่อ ปัญหาด้านราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และปัญหาด้านการส่งเสริมการจำหน่าย จากการวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาลที่มีต่ออุตสาหกรรมประเภทนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ กองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการผลิต เช่นแก้ปัญหาทางด้านการผลิตที่โรงงานบางแห่งประสบอยู่ ให้บริการด้านการวิจัยการฝึกฝนอบรม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด โดยการหาตลาดต่างประเทศ และจัดแสดงนิทรรศการเป็นต้น ผู้เขียนมีความเห็นว่ากองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ ควรจะเป็นผู้ประสานงานในระหว่างผู้ผลิต ในการจัดตั้งเป็นสมาคมหรือชมรมเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to study the marketing practices for tableware, kitchenware and household decorations of high firing glaze pottery in Chiangmai, with respect to the product, price, distribution and promotion. It is also included the problems of the manufacturers and the government role in promoting the industry. Information was collected from 9 manufacturers in Chiangmai, 500 consumer of which 200 are the consumers who used to buy and the others 300 are the consumers who ever or never buy these products. Official documents from the Industrial Service Institution , Northern Region, Industrial Promotion Department and informal interview with the retailers in Chiangmai are additional sources of information for the study. Findings indicate that production relies heavily on technical knowhow, the skills and craftsmanship of the individual. Wood is used for firing, production is found to be making use of ball clay, quartz, feldspar and other chemicals. Most labor are unskilled labor and paid in wages. In Chiangmai this industry concentrates on labor intensive and uses a small number of electrical equipment. The manufacturers can not produce to meet the orders because of the production process problems. For marketing aspect, most manufacturers have their own product’ s characteristics and brands. Products are completely packed by factory staff and transported by transportation firms. Competitors and middleman do not have any influences on pricing because the manufacturers can sell directly to the consumers. Promotion technique mainly used is to join the exhibitions or fairs. Analysis of consumer behavior indicated that most popular product is household decorations. Designs and usages are more important factors for buying the products than quality. The attitude towards pricing is that the selling price is too expensive and the consumers can use substitute products. Besides the consumers have no brand loyalty, they prefer green colored products and buy from the factory. Several important problems are encountered such as inadequate technology, lack of raw material, wood for firing, increasing transportation and packaging costs due to inflation. There are also problems related to product design, quality, price and promotion. Analysis of governmental intervention indicated that the Industrial Service Institute, Northern Region, Industrial Promotion Department is responsible for promoting the industry. The role of the Institute is to provide technical assistances, conduct local training courses and research including marketing assistances such as giving the information about foreign market demand and having exhibitions. The writer’ s opinion is that the Industrial Service Institute, Northern Region should be responsible for coordination with the manufacturers, so that they can join and help each other. However, there is no cooperation at present among the manufacturers under study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17986 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krisana_Ra_front.pdf | 392.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_ch1.pdf | 427.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_ch2.pdf | 605.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_ch3.pdf | 591.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_ch4.pdf | 516.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_ch5.pdf | 629.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_ch6.pdf | 344.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_ch7.pdf | 478.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krisana_Ra_back.pdf | 388.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.