Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18020
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorอมรรัตน์ อินทร์แย้ม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-16T15:33:07Z-
dc.date.available2012-03-16T15:33:07Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18020-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความง่วงของผู้ป่วยโรคลมชัก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ ชนิดการเจ็บป่วยด้วยโรคลมชัก ยากันชัก สุขวิทยาการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า กับความง่วงของผู้ป่วยโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคลมชักที่มารับการรักษา ณ ศูนย์โรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินสุขวิทยาการนอนหลับ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความเหนื่อยล้า และแบบประเมินความง่วง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .70, .87,.95, .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคลมชัก ส่วนใหญ่มีความง่วงอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 39.23 2. อายุ เพศ ชนิดการเจ็บป่วยด้วยโรคลมชัก ยากันชัก สุขวิทยาการนอนหลับ ความเหนื่อยล้า ไม่มีความสัมพันธ์กับความง่วงของผู้ป่วยโรคลมชัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความง่วงของผู้ป่วยโรคลมชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.36)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study sleepiness, and to examine the relationships among age, gender, types of epilepsy, antiepileptic drugs, sleep hygiene, depression, and sleepiness among epileptic patients. The study participants consisted of 130 epileptic patients recruited from King Chulalongkorn Memorial Hospital. The instruments for this study included a demographic data form, the sleep hygiene questionnaire, the depression questionnaire, the fatigue scale, and the Epworth Sleepiness Scale. The questionnaires were reviewed by experts, and their Cronbach’s alpha coefficient were .70, .87, .95, and .70, respectively. The statistic analized by using computer software package. Results were as follows: 1.Most of epileptic patients had sleepiness at the normal level (39.23%) 2.No significant correlation were detected among age, gender, types of epilepsy, antiepileptic drugs, sleep hygiene, fatigue, and sleepiness of epileptic patients 3.Positively significant correlation was detected between depression (r=.36), and sleepiness of epileptic patients at p<.05.en
dc.format.extent11740954 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.446-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectยาแก้ชัก -- ผลข้างเคียง-
dc.subjectลมบ้าหมู-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความง่วงของผู้ป่วยโรคลมชักen
dc.title.alternativeSelected factors related to sleepiness in epilepsy patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.446-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amornrat_in.pdf11.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.