Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1803
Title: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน : ศึกษาเฉพาะกรณี โรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Labour protection law enforcement : a case study of industrial factories in Prapradang district, Samutprakarn
Authors: สุดาศิริ วศวงศ์
Email: Sudasiri.W@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Subjects: กฎหมายแรงงาน -- ไทย
แรงงาน -- ไทย
ค่าจ้างกับแรงงาน
สวัสดิการในโรงงาน
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แรงงานเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนา ไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เช่นประเทศไทย จากการพัฒนาทางอุตสาหกรรมให้เจริญมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ที่ทำให้ปัญหาแรงงานเป็นปัญหาที่สำคัญ อันมีผลต่อการพัฒนาประเทศอีกปัญหาหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรม ย่อมเป็นธรรมดาที่จะเกิดกลุ่มบุคคลขึ้นสองฝ่ายที่ต่างมีผลประโยชน์ตรงกันข้าม กล่าวคือ กลุ่มผู้ประกอบการหรือผู้จัดการที่เรียกว่า ฝ่ายนายจ้าง ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาสูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เรียกว่าฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาด้วยกว่า ฝ่ายนายจ้างย่อมมุ่งถึงผลกำไรสูงสุดจากการประกอบการ เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป และในขณะเดียวกับฝ่ายลูกจ้าง ก็ย่อมมุ่งหวังที่จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มกับแรงงานและค่าครองชีพ แต่เนื่องจากนายจ้างมีอำนาจในการต่อรองมากกว่าลูกจ้าง นายจ้างจึงเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในการกำหนดเงื่อนไขในการจ้างและการทำงาน รัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการให้ความคุ้มครองแรงงานให้เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยการกำหนดกฎหมายขึ้นมาเป็นมาตรฐานในการใช้แรงงาน และมีการตรวจตราดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าความไม่ถูกต้องตามกฎหมายและความไม่เป็นธรรมในการใช้กฎหมาย และการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายยังคงมีอยู่ งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งที่จะศึกษา เพื่อทราบสาเหตุที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ได้ผลสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้ 1. ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อทราบความบกพร่องของตัวบทบัญญัติกฎหมายในปัจจุบัน และ 2. ศึกษาปัญหาในการตรวจตราบังคับให่มีการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล 3 ฝ่าย คือ ก. เจ้าหน้าที่ตรวจตราซึ่งมีจำนวนน้อยและไม่มีประสิทธิภาพพอในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข. นายจ้างหลีกกฎหมายทั้งโดยรู้กฎหมายและไม่รู้กฎหมาย เพื่อเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง ค. ลูกจ้างต้องจำยอมรับสภาพการจ้างงานที่นายจ้างกำหนดเพราะสถานะความจำเป็นทางเศรษฐกิจ หรือความไม่รู้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของตน มาตรการที่ได้จากการวิจัยเรื่องนี้ มิใช่แต่เพีบงการพิจารณาปรับปรุงบทบัญยัติของกฎหมายแรงงานที่บกพร่องเท่านั้น แต่จะต้องพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนี้ด้วย ทั้งด้านการให้การศึกษา การฝึกอบรมทั้งในทางกฎหมาย กฎระเบียบเกี่ยวกับแรงงาน มนุษยสัมพันธุ์และการมีจิตสำนึกที่ชอบธรรมเพื่อว่าจะได้ตระหนักในสิทธิและหน้าของตนอย่างถูกต้อง อีกประการหนึ่ง การปรับปรุงองค์กรของรัฐและการบริหารงานก็มีความจำเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการที่จะใช้แรงงานเพื่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ
Other Abstract: Labour has become an important factor for the national development especially for those countries turning to be the newly industrial one such as Thailand. The increasingly industrial development has caused the increasingly industrial development has caused the increasing labour problem, to some extent, effecting national development. During the course of industrial development, two conflicting parties naturally emerge namely the directing force or the employers having higher economic, social and educational background than the other force, the labourers or the employees. The employers aim at more and more profit from their investment, while the employees aim at higher and higher payment in order to cover their labour and cost of living, Since the employers have more bargaining power than the employees, they are in the better position to impose conditions in employment and working. The state is therefore inevitable to step in to protect the employees for fairness by enacting the law forming standard of employment and supervising its enforcement. However, illegality and unfairness in the legal application and enforcement can still be found. This research is to explore the causes of such unaccomplishment in the labor law enforcement by means of 1. Exploring existing the legal texts in order to find their loopholes and 2. Surveying the legal practical application as involved with three parties concerned namely (a) officers who may not be enough in enforcing the law and may not be efficient enough to supervise the labour matter. (b) employers who may not comply with the law cue to either their ignorance or bad intention. (c) employees who are forced to accept the employers proposal due to their status, economics necessity or ignorance of their rights. The solutions found or suggested in this research are not limited to the labour law reform only but extend to the development or reformation of all persons concerned by providing them with more education, training in law, labour regulations, human relationship and right conscience so that they can properly appreciate their rights and duties. In addition, administrative and departmental reform on the governmental side is also necessary in order to achieve the goal in using labour force for national development in both economic area and peaceful social co-existence.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1803
Type: Technical Report
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudasiri(law).pdf42.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.