Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18047
Title: | การอุดหนุนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษาการอุดหนุนผ่านการเคหะแห่งชาติ |
Other Titles: | Housing subsidies for low-income households : a case study of housing subsidies through national housing authority |
Authors: | เสรี รณรงค์ |
Advisors: | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ปรีดิ์ บุรณศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การเคหะแห่งชาติ ที่อยู่อาศัย |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การอุดหนุนจากภาครัฐมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะและมีความมั่นคงในการอยู่อาศัย โดยรัฐได้ให้การอุดหนุนผ่านการเคหะแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยมากว่า 3 ทศวรรษ แต่ขาดการบันทึกและศึกษาบทเรียนในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการของการอุดหนุนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านการเคหะฯ และศึกษาข้อดี/ข้อจำกัดของการอุดหนุนแต่ละรูปแบบ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 3 (2515-2519) จนถึงฉบับที่ 9 (2545-2549) รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ใช้เพื่อประกอบการดำเนินงานต่อไป ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ การอุดหนุนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านการเคหะฯ มี 3 รูปแบบหลัก คือ รูปแบบที่ 1 รัฐให้การอุดหนุนต้นทุนในส่วนของค่าสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เป็นรูปแบบปกติที่เกิดจากการศึกษาและนำเสนอขออนุมัติวงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลโดยการเคหะฯเอง มีการใช้ต่อเนื่องตั้งแต่แผนฯฉบับที่ 5-8 ส่วนรูปแบบที่ 2 รัฐกำหนดจำนวนหน่วยและวงเงินอุดหนุนต่อหน่วยให้การเคหะฯไปดำเนินการ เป็นนโยบายเฉพาะกิจรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดให้การเคหะฯไปดำเนินการ มีการนำมาใช้ 2 ครั้ง คือแผนฯฉบับที่ 3 ในสมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และแผนฯฉบับบที่ 9 ในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเป็นนโยบายประชานิยม สำหรับรูปแบบที่ 3 รัฐกำหนดวงเงินให้มาก้อนหนึ่งให้การเคหะฯ สร้างให้ได้จำนวนหน่วยมากที่สุด เป็นแนวคิดของรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวในช่วงแผนฯฉบับที่ 4 ทั้ง 3 รูปแบบมีวิธีการอุดหนุน 3 วิธี คือ 1) การอุดหนุนต้นทุนในส่วนค่าสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 2) การอุดหนุนดอกเบี้ยโดยการจัดหาแหล่งเงินลงทุนดอกเบี้ยต่ำให้ และ 3) การอุดหนุนโดยการให้เช่าที่ดินของรัฐในราคาถูก โดยแบ่งลักษณะโครงการออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) โครงการก่อสร้างใหม่ ให้ประชาชนเช่า หรือ เช่าซื้อ ซึ่งมีการดำเนินการในทุกช่วงแผน (2) โครงการปรับปรุงชุมชนแออัดมีในช่วงแผนฯฉบับที่ 4-8 กลุ่มรายได้ที่ได้รับการอุดหนุนมี 3 กลุ่มรายได้ คือ กลุ่มรายได้ต่ำกว่า ก.มีในช่วงแผนฯฉบับที่ 4-8 กลุ่มรายได้ ก.มีในทุกช่วงแผน กลุ่มรายได้ ข.มีเฉพาะแผนฯฉบับที่ 3 และ 4 เท่านั้น โดยบางช่วงแผนจะมีสัดส่วนการอุดหนุนแตกต่างกัน ระหว่างโครงการที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑลกับโครงการในภูมิภาคข้อดี/ข้อจำกัดของการอุดหนุนแต่ละรูปแบบ พบว่า รูปแบบที่ 1 เป็นกระบวนการดำเนินงานปกติ จึงง่ายต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติและสามารถวางแผนในระยะยาวได้ แต่รัฐบาลจะไม่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากดูเสมือนเป็นงานปกติของการเคหะฯ รูปแบบที่ 2 เป็นนโยบายประชานิยม ส่งผลให้ผู้ได้รับประโยชน์มีจำนวนมาก ส่งผลให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้น แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและ/หรือมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายตัดการอุดหนุนทันทีก็ส่งผลให้การเคหะฯ ไม่สามารถดำเนินการต่อได้และต้องรับภาระทั้งด้านการเงินและการดำเนินงานอย่างมากในเวลาต่อมา ส่วนรูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้การเคหะฯได้ใช้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเต็มที่ จากผลการศึกษา ผู้วิจัยเสนอให้การเคหะฯแยกการดำเนินงานระหว่างโครงการตามภารกิจหลัก กับโครงการตามนโยบายเฉพาะของรัฐบาล เพื่อให้การเคหะฯสามารถดำเนินงานและพัฒนางานตามภารกิจหลักได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนโครงการตามนโยบายเฉพาะของรัฐบาล การเคหะฯต้องศึกษาหาวิธีการลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เพื่อให้เกิดผลลบน้อยที่สุด |
Other Abstract: | The aimed of this research is to investigate the development of housing subsidies for low-income households through the National Housing Authority, during the National Economic and Social Development Plans (NESDP) from the third (B.E. 2515-2519) to the ninth plans (B.E. 2545-2549) individuals were interviewed. The findings, are as follows: There were three major types of housing subsidies for low-income households through the National Housing Authority. First, the government provided the costs of public utilities and facilities. This was a normal operation resulting from a study and a proposal of financial budgets to the government by the National Housing Authority. As for the second type, the government specified the units and amount of budgets of specific projects for the National Housing Authority to implement. This was applied twice —during the third NESDP plan under the government of M.R. Kukrit Pramoj and the ninth NESDP plan under the government of Pol. Lt. Col. Thaksin Shinawatra—to stimulate the economy and as a populist policy. Finally, regarding the third type of subsidies, the government specified a budget for the National Housing Authority to build as many housing units as possible, a concept of the government under the leadership of Gen. Kriengsak Chamananda in the fourth NESDP plan. Furthermore, all three types of subsidies consisted of three forms: 1) subsidies for the costs of public utilities and public facilities, 2) subsidies for interest by finding sources of loans with low interest rates, and 3) subsidies for loaning public land at low rates of rent. In addition, the subsidized housing projects can be divided into two categories: 1) new projects for sale or lease, which were carried out in all plans, and 2) improvement of slum areas. Finally, there were three groups of low-income individuals who received such subsidiaries. As regards the strengths and weaknesses of each type of the subsidies, the findings revealed that the first type involved normal operations, so it facilitated implementation and long-term planning. While the second type was a populist policy that benefited a large number of people, but when there was a government change the subsidies were cut down and the National Housing Authority became unable to carry out its operations and had to subsequently bear great financial and operational burdens. Finally, the third type of subsidies comprised those that allowed the National Housing Authority to make full use of its knowledge on housing development |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18047 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1337 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1337 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
saree_ro.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.