Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18061
Title: | ผลของการวางผังอาคารชุดพักอาศัย ที่มีผลต่อผู้พักอาศัย : กรณีศึกษา โครงการลุมพินีเพลส นราธิวาส-เจ้าพระยา และโครงการลุมพินีวิลล์ ศูนย์วัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The affectation of condominium site planning that effect to the resident : case study of Lumpini Place Narathiwat-Chaopraya and Lumpini Ville Cultural Center, Bangkok Metropolis |
Authors: | สุระวิทย์ งอนชัยภูมิ |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.j@Chula.ac.th |
Subjects: | การวางผังอาคาร อาคารชุด โครงการลุมพินีเพลส นราธิวาส-เจ้าพระยา โครงการลุมพินีวิลล์ ศูนย์วัฒนธรรม |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปัจจัยในการเลือก ผลที่ได้จากการวางผัง และเสนอแนะแนวทางในออกแบบวางผังอาคารชุดพักอาศัยต่อไป โดยกลุ่มประชากรคือ ผู้ที่ซื้อและพักอาศัยในห้องชุดพักอาศัยในโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่สร้างเสร็จ มีผู้พักอาศัยอยู่จริงเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีการวางผังอาคารในแนวทิศเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก จำนวน 2 โครงการ รวม 2,597 ยูนิต ปัจจัยในการเลือกตำแหน่งห้องชุดพักอาศัย ผู้ซื้อให้ความสำคัญในเรื่องมุมมองประกอบกับเรื่องทิศทางแดด-ลมเป็นเรื่องหลัก เมื่อเปิดขายโครงการก็พบว่า ในช่วงแรกผู้ซื้อส่วนใหญ่จะเลือกตำแหน่งห้องชุดในด้านทิศใต้ ทิศเหนือ มากที่สุด รองลงมาคือทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกจะเป็นทิศที่ขายได้ช้าที่สุด ส่วนเหตุผลในการเลือกทิศคือ เลือกทิศเหนือเพราะได้รับแสงแดดน้อย ห้องพักเย็นสบาย เลือกทิศใต้เพราะได้รับลมเต็มที่ เลือกทิศตะวันออกเพราะแสงแดดในตอนเช้าไม่ร้อนจนเกินไป เลือกทิศตะวันตกเพราะทิศอื่นๆ ขายหมดแล้ว ผลที่ได้จากการวางผังอาคารชุดพักอาศัย ผลต่อผู้พักอาศัยพบว่า เมื่อเข้าพักอาศัยในโครงการก็พบว่า ผู้พักอาศัยในด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจทิศที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และถ้าซื้อห้องชุดพักอาศัยครั้งต่อไป ก็จะยังคงเลือกทิศเดิมอีก ยกเว้นผู้ที่พักอาศัยในห้องชุดด้านทิศตะวันตกซึ่งไม่ค่อยพึงพอใจในการอยู่อาศัย และถ้าเลือกครั้งต่อไปก็จะไม่เลือกทิศตะวันตกอีก แนวทางในออกแบบวางผังอาคารชุดพักอาศัย ผู้ประกอบการควรจะเลือกแปลงที่ดินที่มีรูปร่างที่เอื้อต่อการวางอาคารด้านยาวให้อยู่ในแนวทิศเหนือใต้ เพราะนอกจากจะทำให้สามารถขายห้องชุดได้เร็วขึ้นแล้ว ก็ยังทำให้อุณหภูมิภายในห้องพักไม่ร้อน และเย็นสบายตลอดทั้งวัน ส่งผลต่อผู้พักอาศัยให้มีจิตใจที่แจ่มใส เกิดเป็นสังคมที่น่าอยู่อาศัย ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้ประกอบการต่อไป ส่วนผู้ออกแบบควรวางผังอาคารให้อยู่แนวเหนือใต้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากมีความจำเป็นด้วยเรื่อง ขนาดและรูปร่างที่ดินเป็นข้อจำกัดทำให้จำเป็นต้องวางอาคารในแนวตะวันตก-ตะวันออก เพิ่มอุปกรณ์หรือวัสดุป้องกันความร้อนต่างๆ ตามเหมาะสม ส่วนอาคารที่วางขนานกันระยะห่างควรเป็น 2 เท่าของความสูงอาคาร จะทำให้ได้รับแสงธรรมชาติได้พอเพียง |
Other Abstract: | The objectives of this study were to investigate the factors and effects of condominium site planning and to introduce guidelines for more effective planning. The subjects were residents who lived in condominiums for at least 1 year. Two condominium sites whose buildings lie north-south and east-west were studied which housed altogether 2,597 units. In terms of factors that went into buyer decisions, the buyers prioritized the location of the unit and the exposure to the sun and wind. When the projects were launched, most of the buyers chose units on the south side and the north side, followed by the east side and the west side respectively. Those who chose the north side reasoned that their units would be exposed to the least sunlight; as a result, their units would be cool while those who chose the south side felt that their units would be cool because the wind direction was from the south. Those who chose units on the east side said that, even though their units were exposed to the sun, the sunlight in the morning was not too strong. Those who bought units on the west side said that they had no choices left when they purchased their unit. It was found that those who bought units on the north side, the south side and the east side were satisfied with their units and if they had to buy another unit, they would choose the same side. However, those who lived on the west side were not satisfied with their units and said in the future they would not buy another unit on this side. As for condominium site planning, it was determined the owner of the project should choose a plot of land where the buildings can lie from north to south because this facilitates the sale of units in the buildings which will be cool; as a result, the residents will be happy. When the residents are happy, they will feel the community will be worth living in and this will also improve the project ownerAs reputation. The architect should design buildings in line with the north-south side as much as possible. If he cannot do so because of constraints such as the size or the shape of the plot of land, he should add appropriate heat protective materials to the units. If the buildings are parallel to each other, the distance between them should be twice of the height of each building |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18061 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1480 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1480 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surawit_ng.pdf | 7.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.