Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18080
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ ของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว |
Other Titles: | The effect of self efficacy and outcome expectancy promoting program on functional capacity in congestive heart failure patients |
Authors: | ปรวรรณ วิทย์วรานุกูล |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | การออกกำลังกาย หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย หัวใจวาย Exercise Heart -- Diseases -- Patients Heart failure |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม 20 คนและกลุ่มทดลอง 20 คน ได้รับการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายใช้แนวคิดของ Bandura (1986,1997) ร่วมกับรูปแบบการเดินออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวใช้แนวคิดของAmerican College of Sport Medicine (2000) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกาย แบบวัดความคาดหวังผลลัพธ์ทางด้านบวกของการออกกำลังกายและแบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย เมื่อนำไปทดสอบหาความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .87, .88 และ .90 ส่วนโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีและวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังได้รับโปรแกรม ส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -15.334, p<.05) 2. ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย หลังการทดลองมีคะแนนความสามารถในการทำหน้าที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F= 118.547, p<.05). |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of self efficacy and outcome expectancy promoting program on functional capacity of congestive heart failure patients. Samples were 40 patients admitted at Phrapokkloa Hospital, and were selected into an experimental group and a control group with 20 patients in each group .The experimental group received the perceived self efficacy and perceived outcome expectancy promoting program in exercise, while the control group received a conventional nursing care . The perceived self efficacy was developed on Bandura (1997) and perceived outcome expectancy was developed on Bandura (1986) .For the exercise was developed and based on American College of Sport Medicine (2000) and a literature review. The instruments were tested for content validity by 5 experts. The reliability of the perceived self efficacy questionnaires, perceived outcome expectancy questionnaires and exercise behaviors questionnaires were .87, .88 and .90. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation, t-test statistic and ANCOVA . Major findings were as follows: 1. The functional capacity of congestive heart failure patients after receiving the program was significantly higher than before receiving the program at the .05 level. (t= -15.334, p<.05) 2. The functional capacity of congestive heart failure patients after receiving the program was significantly higher than those who receive a conventional nursing care at the .05 level (F= 118.547, p<.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18080 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
porawan_wi.pdf | 7.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.