Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18103
Title: การศึกษาอัตราค่าจ้างแรงงานของธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: A study on wages in construction business in Chiang Mai
Authors: ธีรวุฒิ วานิช
Advisors: มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ค่าจ้าง -- อุตสาหกรรมการก่อสร้าง
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ต้นทุน
ลูกจ้าง
แรงงาน -- ไทย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ค่าจ้างเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นที่น่าสนใจต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ค่าจ้างเป็นที่มาของรายได้อันสำคัญของลูกจ้างและเป็นสิ่งที่กำหนดสภาพความเป็นอยู่ของลูกจ้าง แต่ค่าจ้างก็เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายทางตรงที่สำคัยของนายจ้าง บ่อยครั้งที่นายจ้างลดต้นทุนการผลิตด้วยการเอารัดเอาเปรียบในเรื่องการจ่ายค่าจ้าง ดังนั้นรัฐบาลได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเพื่อเป็นหลักปรกันสำหรับรายได้ขั้นต้นให้แก่ประชากรวัยทำงาน หรือลูกจ้างไร้ฝีมือที่เข้าสู่ตลาดแรงงานให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจโดยไม่เดือดร้อน แต่บางครั้งการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมกับสภาพเสรษฐกิจนั้น จะยังผลให้นายจ้างต้องปรับค่าจ้างในตำแหน่งงานอื่นๆให้สูงขึ้น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างมากและกิจการหลายประเภทต้องประสบกับสภาวะการขาดทุนในที่สุด วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมุ่งศึกษาอัตราค่าจ้างในธุรกิจก่อสร้าง โดยแบ่งตามตำแหน่งงานและระดับฝีมือและศึกษาว่านายจ้างในธุรกิจก่อสร้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างไร้ฝีมือในอัตราที่กฎหมายบังคับหรือไม่ ตลอดจนพิจารณาความคิดเห็นของนายจ้างเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราค่าจ้าง โดยแบ่งตามระดับฝีมือข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้จากการสัมภาษณ์ และส่งแบบสอบถามไปยังนายจ้างในธุรกิจก่อสร้าง 53 คน วิศวกรหรือหัวหน้าช่างผู้ควบคุมงานก่อสร้าง 62 คน และลูกจ้างซึ่งทำงานอยู่ในธุรกิจก่อสร้างที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 502 คน ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่ว่า นายจ้างในธุรกิจก่อสร้างจ่ายค่าจ้างให้แก่แรงงานไร้ฝีมือหรือกรรมกรน้อยกว่าอัตราจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด อัตราค่าจ้างของช่างในระดับฝีมือต่างๆ คือ ระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือ และ ระดับฝีมือระดับสูง มีความแตกต่างโดยมีรายละเอียดดังนี้คือ ในระดับแรงงานไร้ฝีมือหรือกรรมกร มีค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 51.46 บาท ซึ่งน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนดไว้ ร้อยละ 20.83 และค่าจ้างเฉลี่ยในแรงงานหญิงน้อยกว่าแรงงานชาย ร้อยละ 11.61 อัตราค่าจ้างเฉลี่ยของช่างไม้ ช่างปูน ช่างกระเบื้อง ช่างเหล็ก ช่างเชื่อม ช่างประปา ช่างสี และช่างไฟฟ้า ในระดับกึ่งฝีมือมีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ระหว่างวันละ 64.30-81.79 บาท ระดับฝีมือมีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ระหว่างวันละ 79.55-106.40 บาท และระดับฝีมือระดับสูงมีค่าจ้างเฉลี่ยระหว่างวันละ 107.91-145.36 อัตราค่าจ้างในแรงงานหญิงจะน้อยกว่าแรงงานชายในทุกระดับฝีมือ จึงเห็นได้ว่ามีการแบ่งแยกระดับการจ่ายค่าจ้างระหว่างเพศชายและเพศหญิงอย่างชัดเจน การกำหนดอัตราค่าจ้างในระดับฝีมือต่างๆนั้น นายจ้างจะพิจารณาถึงลักษณะงานที่ทำ ฝีมือหรือผลงานของลูกจ้าง อัตราค่าจ้างในท้องถิ่น กำไรของบริษัท ภาวะความต้องการแรงงานของบริษัท ความต้องการของลูกจ้างหรือการเจรจาต่อรอง ค่าครองชีพ และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยจะให้ความสำคัญแก่ปัจจัยต่างเหล่านี้มากน้อยแตกต่างกันไปตามระดับฝีมือ
Other Abstract: Wage is an important matter which interests the employers, employees, and the government. Wage is not only the source of the employee’s income which determines his living but it also an important fixed cost or direct expenses of the employers. Frequently the employers decreased the cost by exploiting the workers for less pay. The government, therefore, has limited the minimum rate in order to guarantee the basic wage rate for the unskilled workers who influxed onto the labour marker so that they could live among the economic situations without difficulty. But under some circumstances, the adjustment of the minimum wage to suit the economic situations caused the employers to adjust more wages in other positions. Such adjustment effected the cost, as a result, the companies lost their profit. This thesis is mainly aimed to study the wage rate paid to the workers in construction business according to the skill levels; also study whether or not the employers in such business paid the unskilled workers legally. This thesis also includes the points of view of the employers about the factors which affect wages relied on labour skill. The data used for analyzing obtained through the interviews and some questionnaires were sent to 53 construction business employers, 62 engineers or technicians and 502 workers working in construction business. The outcome of the study serves hypothetically that the construction business employers paid the unskilled workers less than the determined minimum rate. The wage rate of the various workers, semi-skilled, skilled and highly skilled are as follow : unskilled workers are approximately paid 51.46 Baht per day which is less than the minimum wage rate 20.83% and the female’s wage rate is less than the male’s 11.61%. The approximate wage rate of carpenters, ironsmiths, welders, the plumbers, the painters and the electricians who are put into semi-skilled group is approximately paid 64.30-81.79 Baht per day. The skilled group is paid 79.55-106.40 and 107.94-145.36 Baht per day for the highly skilled ones. The wage rate of the female is less than the male’s in every level. It is obviously seen that the levels wage rate are separated in sex discrimination. The determine the wage rate in different skills, the employers considered the worth of job or the productivity of the employees, prevailing wage rate, profit, demand of labour, negotiation, cost of living, minimum wage rate, and necessitated these factors according to the skill levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18103
ISBN: 9745668311
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerawut_Wa_front.pdf324.95 kBAdobe PDFView/Open
Teerawut_Wa_ch1.pdf337.31 kBAdobe PDFView/Open
Teerawut_Wa_ch2.pdf511.48 kBAdobe PDFView/Open
Teerawut_Wa_ch3.pdf460.2 kBAdobe PDFView/Open
Teerawut_Wa_ch4.pdf900.92 kBAdobe PDFView/Open
Teerawut_Wa_ch5.pdf292.67 kBAdobe PDFView/Open
Teerawut_Wa_back.pdf680.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.