Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18104
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนันต์ อัตชู-
dc.contributor.authorเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2012-03-17T07:56:44Z-
dc.date.available2012-03-17T07:56:44Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745632953-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18104-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนพุทธจักรวิทยาลัย โรงเรียนวัดธาตุทอง โรงเรียนวัดอินทาราม โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโรงเรียนละ 34 คน รวม 408 คน ทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำการทดสอบ 2 ครั้งโดยเว้นระยะห่างกัน 1 สัปดาห์ จากนั้นผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ จำนวน 30 คน มาแบ่งเป็นทีมๆละ 5 คน ทำการแข่งขันแบบพบกันหมด นำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลงคะแนนดิบเป็นคะแนน “ที” ปกติ หาค่าสหสัมพันธ์ ทดสอบความมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ให้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ตัดสินของสมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และผู้สอนวิชาบาสเกตบอล (พ.305) ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นต่อแบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นำค่าเฉลี่ยแต่ละรายการของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 กลุ่มมาหาค่าสหสัมพันธ์ทดสอบความมีนัยที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.แบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 3 รายการทดสอบ คือ การส่งลูกสองมือระดับอก การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล และการรับลูกยิงประตูบาสเกตบอล มีค่าความเชื่อมั่น ค่าความแม่นตรง และความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.98, 0.97 และ 0.84 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01, .01 และ.05 ตามลำดับ 2.แบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ละรายการมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นตรง และค่าสัมประสิทธิ์ความเป็นปรนัย ดังนี้ 2.1 การส่งลูกสองมือระดับอก มีค่าความเชื่อมั่น ค่าความแม่นตรง และค่าความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.90, 0.51 และ 0.74 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01, .01 และ .05 2.2 การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล มีค่าความเชื่อมั่น ค่าความแม่นตรง และค่าความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.95, 0.48 และ 0.66 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01, .01 และ .05 2.3 การรับลูกยิงประตูบาสเกตบอล มีค่าความเชื่อมั่น ค่าความแม่นตรง และค่าความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.90, 0.68 และ 0.86 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01, .01 และ .05 3.เกณฑ์ปกติเฉพาะกลุ่มคะแนน “ที” รวมทุกรายการของแบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีรายละเอียดดังนี้ คะแนน “ที” ปกติ ระดับตั้งแต่ 196.86 ขึ้นไป ดีมาก 173.43-196.85 ดี 126.57-173.42 ปานกลาง 103.14-126.56 อ่อน ตั้งแต่ 103.13 ลงมา อ่อนมาก-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to construct a basketball test for secondary school boys. Therefore, 408 school boys who were studying in mathayom 3 were selected by simple random sampling method from 12 secondary schools in Bangkok Metropolis. Those schools were Srinakharintharawirot Demonstration School, Chulalongkorn University Demonstration School, Suankulab Witthayalai, Yothin Burana, Santirat Witthayalai, Samsen Witthayalai, Budhachak Witthayalai, Wat Thatthong,Wat Inthraram, Islanic College of Thailand, Thaweethaphisek and Wat Pradunai Songtham. 34 boys per each school. The basketball test for secondary school boys that was constructed by the researcher himself was used to test and retest (a week interval for each test). Then, 30 school boys were selected by systematic random sampling. These boys were equally divided into 6 teams. Each team was made to play the basketball games in the all-meet-together style. The obtained data were then analyzed in terms of means, standard deviations, t-scores and correlation coefficient by testing the implication significance at the .01 level. The groups of experts (one was from the referees of Thailand Basketball Association and the other from some basketball instructors) were required to answer the questionnaires about their opinions towards this basketball test. The obtained mean value for each questionnaires item of the two groups was analyzed in terms of correlation coefficient by testing its implication significance at the .05 level. It was found that ; 1.The basketball that for secondary school boys consisted of 3 items. They were two hand chest pass, dribbling and taking the ball to shoot. The reliability, validity and objectivity of the test were 0.98, 0.97 and 0.84 and they were significant at the levels of .01, .01 and .05 respectively 2.The coefficient of the reliability, validity and objectivity of each test item was : 2.1Two hand chest pass ; at 0.90, 0.51 and 0.74, respectively, and were significant at the .01, .01 and .05 levels 2.2 Dribbling ; at 0.95, 0.48 and 0.66, respectively, and were significant at the .01, .01 and .05 levels. 2.3Taking the ball to shoot, at 0.90, 0.68 and 0.86, respectively, and were significant at the .01, .01 and .05 levels 1.local norms of all the test items T-scores were “ T” score from 196.86 and above very good “ T” score 173.443-196.85 good “ T” score 126.57-173.42 average “ T” score 103.14-126.56 poor “ T” score 103.13 and below very poor-
dc.format.extent341179 bytes-
dc.format.extent433305 bytes-
dc.format.extent483639 bytes-
dc.format.extent354439 bytes-
dc.format.extent283698 bytes-
dc.format.extent310945 bytes-
dc.format.extent436748 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบาสเกตบอลen
dc.titleการสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe construction of basketball test for secondary school boys in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tepprasit_Gu_front.pdf333.18 kBAdobe PDFView/Open
Tepprasit_Gu_ch1.pdf423.15 kBAdobe PDFView/Open
Tepprasit_Gu_ch2.pdf472.3 kBAdobe PDFView/Open
Tepprasit_Gu_ch3.pdf346.13 kBAdobe PDFView/Open
Tepprasit_Gu_ch4.pdf277.05 kBAdobe PDFView/Open
Tepprasit_Gu_ch5.pdf303.66 kBAdobe PDFView/Open
Tepprasit_Gu_back.pdf426.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.