Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18106
Title: การศึกษาการดำเนินงานของโพลีคลีนิคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study on operations of polyclinics in Bangkok Metropolis
Authors: ธีระพงศ์ เวชวิทยาขลัง
Advisors: ชลอ คุปตวินทุ
จินตนา บุญบงการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สถานพยาบาล
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาโครงสร้าง การดำเนินงาน และปัญหาในการดำเนินงาน ของโพลี่คลินิคในเขตกรุงเทพมหานคร ตลอดจนศึกษาถึงทัศนคติของผู้มารับบริการ เพื่อทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการของโพลีคลินิค ผลการวิจัยปรากฏว่า โพลีคลินิคส่วนมากมีลักษณะกิจการในรูปบริษัทจำกัด ไม่มีโครงสร้างที่เป็นทางการ การเปิดให้บริการส่วนมากจะให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือเกือบ 24 ชั่วโมง และเป็นประเภทไม่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเป็นส่วนใหญ่ เจ้าของและผู้จัดการโพลีคลินิค ส่วนมากเป็นแพทย์ (ร้อยละ 89) จึงขาดความเข้าใจในลักษณะพื้นฐานการดำเนินงานของโพลีคลินิค ซึ่งเป็นกิจการด้านการให้บริการ โดยอาศัยคนเป็นหลักทำให้ผู้บริหารไม่มีความเข้าใจในการวางเป้าหมายและกลยุทธไปในทิศทางที่ทำให้กิจการประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น โพลีคลินิคทุกแห่งมีบริการประเภทเวชกรรม โดยมีแพทย์อยู่ประจำเพียง 1 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 82.8 สำหรับปัญหาในการดำเนินงานด้านโพลีคลินิคก็คือ การขาดแพทย์ที่ปฏิบัติงานในวันเวลาราชการ เพราะแพทย์ส่วนมากรับราชการ การขาดความร่วมมือ ประสานงานระหว่างโพลีคลีนิคกับโรงพยาบาลหรือหน่วยงานของรัฐ ปัญหาอัตราการเข้าออกของพนักงานสูง บุคลากรที่มาปฏิบัติงานในโพลีคลินิคมีทั้งที่ปฏิบัติงานอื่นและไม่ปฏิบัติงานอื่นมีจำนวนพอๆ กัน เหตุผลที่เลือกมาปฏิบัติงานก็เพื่อต้องการหาประสบการณ์และใช้เวลาว่างในการหาราดยได้ บุคลากรมีความพอใจต่อผลตอบแทนกับภาระหน้าที่โดยคิดว่าเหมาะสมกันดี สำหรับมูลเหตุจูงใจของผู้มารับบริการที่มารับการรักษา ได้รับคำตอบว่า คำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.7 นอกจากนี้ผู้มารับบริการมีทัศนคติเห็นว่าเจ้าหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อยู่ในเกณฑ์ดี การจัดสถานที่เป็นสัดส่วนเหมาะสมและสะอาด อุปกรณ์มีจำนวนเพียงพอ ทันสมัย สำหรับอัตราค่าบริการ ผู้มารับบริการมีความเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และเห็นว่าควรแยกอัตราค่าบริการออกเป็นค่ารักษา ค่าตรวจแล็บ-เอ็กซเรย์ เพื่อสามารถเปรียบเทียบกับการรักษาในลักษณะเดียวกัน
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the organization structure, operations and problems of polyclinics in Bangkok Metropolis, including the clients’ attitudes, ideas and suggestions which can lead to service improvement of polyclinics in general. The research reveals that most of the polyclinics are operated in the form of a company limited, with no formal structure. The services are opened to the public for almost 24 hours. All polyclinics provide medical service to patients but do not accommodate bedding facilities. As the majority of polyclinic owners and managers are doctors (an average of 89%) they often lack the basic knowledge and administrative skills to run the polyclinics which cater the service to the public. Besides, the polyclinic administrative teams do not possess the experience and knowledge to set the objective and goals which will lead to the progress and advancement of the business in this field. Problems that polyclinics have to encounter are that there are not sufficient doctors during normal working hours as the majority of doctors are government officers. The lack of co-operation between polyclinic and hospitals and also between government enterprises is also one of the major obstacle. Combined to all this is the high rate of turn over. Almost half of polyclinics’ personnel engage in part time jobs. Their intention of joining polyclinics’ services are to acquire more experiences and partly to earn a sum of money to supplement their monthly income. The polyclinics’ staff think that their compensation in relation to their jobs are justified. 35.7% of the questionnaires reported that the main attraction which draw the clients to the polyclinics can be credited to the fast service rendered by the polyclinics. With regards to the opinions of the polyclinics clients, they agreed that the services rendered are quite good. The place are well taken care of and hygienic. Service fees are quite reasonable but they however, suggested that the medical examination and x-ray fees should be segregated to facilitate the comparison purposes.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18106
ISBN: 9745615846
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Terapong_Va_front.pdf322.05 kBAdobe PDFView/Open
Terapong_Va_ch1.pdf306.22 kBAdobe PDFView/Open
Terapong_Va_ch2.pdf387.3 kBAdobe PDFView/Open
Terapong_Va_ch3.pdf866.89 kBAdobe PDFView/Open
Terapong_Va_ch4.pdf587.56 kBAdobe PDFView/Open
Terapong_Va_ch5.pdf295.7 kBAdobe PDFView/Open
Terapong_Va_back.pdf858.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.