Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1812
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีณา จีระแพทย์ | - |
dc.contributor.author | พรรณพิไล สุทธนะ, 2517- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-16T01:49:03Z | - |
dc.date.available | 2006-08-16T01:49:03Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741701853 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1812 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิก และเปรียบเทียบความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาลระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิกกับกลุ่มที่ดำเนินชีวิตตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2544 จำนวน 36 คน ได้รับการสุ่มแบบจับคู่คะแนนความสุขสมบูรณ์ เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิก 18 คน และกลุ่มควบคุมที่มีการดำเนินชีวิตแบบปกติ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ใน 5 ท่าน และแบบประเมินความสุขสมบูรณ์ ซึ่งวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ และเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มโดยใช้วิธีการทดสอบของวิลคอกซัน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาพยาบาลที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิก มีความสุขสมบูรณ์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิก มีความสุขสมบูรณ์สูงกว่ากลุ่มที่ดำเนินชีวิตตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยครั้งนี้ที่พบว่า โปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิก สามารถเพิ่มความสุขสมบูรณ์ ของนักศึกษาพยาบาลได้ จึงควรนำโปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงและแอโรบิกมาไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตร และควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีได้เข้าร่วมโปรแกรมตามความสนใจได้ตลอดปี | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this pretest - posttest quasi-experimental research were to compare the wellness between the experiment and control groups and the score of pretest and posttest wellness of nursing students who received the qigong and aerobic exercise program and those who had normal life style. Research samples consisted of 36 third-year nursing students at Borommaratchachonnani Uttaradit Nursing College. They were matched by the wellness score and randomly assigned into either experiment or control group.There were 18 students in each group. The research instruments were the qigong and aerobic exercise program and wellness test which had been tested for their validity and reliability. The wellness test had a Cronbach's Alpha reliability of .95 . Data were analyzed by using median, quartile deviation and The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks test. Major findings were as follows : Nursing students who received the qigong and aerobic exercise program had higher wellness score than that before receiving theprogram with a significant difference at p = .05 . Nursing students who received the qigong and aerobic exercise program had higher wellness score than the control group with a significant difference at p = .05 .The results suggest that the qigong and aerobic exercise program can increase wellness of nursing students and should be integrated into the extra-curricular activities. Student in every class should have an opportunity to participate in this program all year round. | en |
dc.format.extent | 3042655 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.660 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความสุข | en |
dc.subject | นักศึกษาพยาบาล | en |
dc.subject | ชี่กง | en |
dc.subject | แอโรบิก (กายบริหาร) | en |
dc.subject | Happiness | - |
dc.subject | Nursing students | - |
dc.subject | Qi gong | - |
dc.subject | Aerobic exercises | - |
dc.title | ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบซี่กงและแอโรบิกต่อความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาล | en |
dc.title.alternative | The effects of qigong and aerobic exercise program on wellness of nursing students | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การพยาบาลศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2001.660 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PanpilaiSu.pdf | 3.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.