Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18166
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจูน เจริญเสียง-
dc.contributor.authorศิริญญา ธีระอนันต์ชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-03-19T11:38:14Z-
dc.date.available2012-03-19T11:38:14Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18166-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาผลการทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงต่อการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย และกลุ่มอุตสาหกรรมจำแนกตามกิจกรรมการผลิต คือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ รวมทั้งในแต่ละอุตสาหกรรม ด้วยวิธี Panel Co-integration สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม และวิธี Co-integration สำหรับแต่ละอุตสาหกรรม จากข้อมูลรายเดือนตั้งแต่ปี 2543 ถึงปี 2550 ซึ่งได้นำแนวคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างการจ้างงานกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ณ ตลาดแรงงานดุลยภาพ มาใช้ในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งกรณีสมมติให้สัมประสิทธิ์การถดถอยของทุกอุตสาหกรรมเหมือนกันและแต่ละอุตสาหกรรมมีสัมประสิทธิ์การถดถอยแตกต่างกัน ทั้งในการศึกษาอุตสาหกรรมภาพรวม และกลุ่มอุตสาหกรรมจำแนกตามกิจกรรมการผลิต ส่วนการศึกษาในแต่ละอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวเช่นเดียวกัน โดยพบว่าผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงที่มีต่อการจ้างงานในภาพรวมอุตสาหกรรม คือ -0.35 เมื่อจำแนกตามกิจกรมการผลิตอุตสาหกรรมที่มีขนาดการตอบสนองมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน คือ -0.53 รองลงมาคือ อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี คือ -0.24 และ -0.11 ตามลำดับ ส่วนในรายอุตสาหกรรมพบว่า หมวดอุตสาหกรรม ISIC 19 การฟอกและตกแต่งหนังฟอก รวมทั้งการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ อานม้า เครื่องเทียมลาก และรองเท้า คือ -0.84 ซึ่งมีการขนาดการตอบสนองมากที่สุดซึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เนื่องมาจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการสัดส่วนของทุนต่อแรงงานต่ำ มีแรงงานเป็นกำลังการผลิตที่สำคัญ และหมวดอุตสาหกรรม ISIC 27 การผลิตโลหะขั้นมูลฐานมีค่าเท่ากับ -0.08 มีขนาดการตอบสนองน้อยที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีโดยมีสัดส่วนของการทุนต่อแรงงานสูง มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนของทุนต่อแรงงานต่ำมีการใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญจะได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงมากกว่าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนของทุนต่อแรงงานสูงในด้านการจ้างงาน งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ ควรนำผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมมาประกอบการพิจารณานโยบายการควบคุมการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันปัญหาการว่างงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแรงงานเป็นกำลังสำคัญในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้ และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้นen
dc.description.abstractalternativeTo assess the effects of real exchange rate on employment in the manufacturing industry sector in Thailand. The assessment is also carried out on each type of industry, namely labor – intensive industry, technology – based industry and industry that relies on domestic raw materials. The Panel Co – integration approach and Co- integration approach and Co-integration approach are introduced in analyzing the implications on the manufacturing industry as a whole and each type of industry, respectively. In this study, monthly time – series data, from 2000 to 2008, and the concept of the relationship between employment and real exchange rate at market equilibrium labor are employed. The empirical results indicate statistically – significant, long -run relationship between real exchange rate and employment in the manufacturing industry sector. A key assumption in this analysis is that the autoregressive coefficients are similar in all types of industry. However, the findings hold through even though it is assumed that such coefficients differ by types of industry. Beside on each industry has same co – integration. The impact of real exchange rate on the employment in the overall manufacturing industry is -0.35, and by types of industry, the labor – intensive industry has the highest value of response employment at -0.53, while the resource – based industry and the technology industry are -0.24 and -0.11 respective. Furthermore, the value of response is the highest at -0.84 for ISIC 19 Products of Leather and footwear industry which is the labor intensive industry. And the lowest value of response is -0.08 for ISIC 27 Basic metal products, the technology industry. This suggests that the employment in the labor intensive industry responses more to change in real exchange rate than the technology industry. Drawn on this study’s findings, it is recommended that policymakers should take into account the potential implications of the real exchange rate on employment in the manufacturing industry sector, when they make decisions concerning the Thai currency policies. This is to provide protection to workforces in labor – intensive industry such as textile, leather products & footwear, wood & wood products, and food & beverage.en
dc.format.extent5291265 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.810-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรม -- ไทยen
dc.subjectการจ้างงานen
dc.subjectอัตราแลกเปลี่ยนen
dc.subjectIndustries -- Thailanden
dc.subjectForeign exchange ratesen
dc.titleผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงต่อการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยen
dc.title.alternativeThe effect of real exchange rate on employment of manufacturing industries in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJune.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.810-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirinya_te.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.