Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18175
Title: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถือหุ้น
Other Titles: Legal measures for the shareholders protection
Authors: ฉัตรทิพย์ ตัณฑประศาสน์
Advisors: สุธาบดี สัตตบุศย์
นที ทองดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กฎหมายบริษัท -- ไทย
บริษัท -- ไทย
หุ้นส่วน -- ไทย
ผู้ถือหุ้น
หุ้นและการเล่นหุ้น
บริษัทมหาชน
บริษัทเอกชน
การฟ้อง
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดยเป็นที่ตะหนักอยู่แล้วว่าในปัจจุบันนี้ สภาวะทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศไทยยิ่งนับวันก็จะยิ่งขยายตัวออกไปอย่างไม่จำกัด ประชาชนมีความสนใจที่จะเข้าร่วมทุนกันเพื่อประกอบกิจการค้ามากขึ้นเป็นลำดับ โดยนิยมประกอบกิจการร่วมกันในรูปบริษัทจำกัด แต่กฎหมายเกี่ยวกับบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2468 อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับบริษัทที่ใช้มากที่สุดในประเทศไทยยังไม่มีมาตรการที่รัดกุมดีพอในการที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ถือหุ้นในบริษัท แม้รัฐจะได้ตราพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521 ออกมาใช้บังคับโดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้เป็นกฎหมายที่ใช้สำหรับการประกอบกิจการในรูปบริษัทของประชาชนหมู่มากโดยได้วางมาตรการในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ถือหุ้นในบริษัทได้อย่างเหมาะสมพอสมควร ใกล้เคียงกับกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม แต่ในปัจจุบันประชาชนเกือบทั้งหมดก็ยังคงยึดมั่นในการจัดตั้งบริษัทเป็นบริษัทเอกชนจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดใด เมื่อเป็นเช่นนี้แทนที่รัฐจะเล็งเห็นความสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท โดยเร่งรีบดำเนินการปรับปรุงให้เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนอย่างแท้จริง รัฐก็หาได้ดำเนินเช่นว่านั้นไม่ การศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นการมุ่งพิจารณาถึงมาตรการทางกฎหมายที่จะนำมาใช้ในการคุ้มครองผู้ถือหุ้นในบริษัทให้ได้ผลดีที่สุด โดยมุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการและการจัดการงานของบริษัทเป็นสำคัญ โดยผู้เขียนอาศัยหลักที่ว่าการที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับความคุ้มครองและสามารถบรรลุสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทให้ได้เป็นผลสำเร็จนั้น ก็จำต้องให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิและอำนาจในการเข้าควบคุมคณะกรรมการและการจัดการงานของบริษัทได้อย่างเต็มที่ ยิ่งผู้ถือหุ้นมีความใกล้ชิดกับการจัดการงานของบริษัทมากเท่าใดผู้ถือหุ้นก็จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้นเท่านั้น นอกจาก จะให้อำนาจควบคุมสุดท้ายอยู่กับผู้ถือหุ้นแล้ว ยังจะต้องมีมาตรการที่ทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้อำนาจนั้นๆ ได้อยู่ตลอดเวลาด้วย อีกทั้งจะต้องไม่เป็นการก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ถือหุ้นมากจนเกินควร ผู้เขียนเห็นว่า องค์กรในการควบคุมการดำเนินงานของบริษัทที่จะให้ได้ผลดีที่สุด จะต้องเป็นองค์กรภายในตัวของบริษัทเอง มิใช่เป็นองค์กรจากภายนอกบริษัทซึ่งเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น นอกจากนี้ในการศึกษาดังกล่าว ยังได้รวมถึงการวิเคราะห์ถึงตัวบทกฎหมายที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศว่ามีความเหมาะสมเพียงพอแล้วหรือไม่อย่างไร เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการที่รัฐจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในโอกาสต่อไป
Other Abstract: It has already been known that trade & economy in Thailand is now expanding widely. People who are interested in investment are gradually in the form of a company. However, company Law in the Civil and Commercial Code, B.E. 2468(A.D.1925) which is the most commonly applicable law in Thailand does not provide enough measures for the shareholders' protec¬tion. Though the Public Company Act, B.E 2521 (.A.D. 1978), has already been passed with the intention to be the law governing business in the form of public company by providing sufficient measures for the protection of shareholders to the same extent as applied in developed countries. Most of the people still prefer the formation of a private company as stated in the Civil and Commercial Code regardless of the size of their business. The Government, at the same time, does not propose the improvement to the law of partnership and company in the Civil and Commercial Code. This research is intended to explore legal measures for the shareholders' protection by placing emphasis on the relationship between the shareholders and the board of direc¬tors and also on the management of the company. The writer's theory is that the shareholders can be well protected and achieve their purpose in joining the company only when they are entitled to control the board of directors and the manage¬ment of the company. If they are close, to the management of the company, they will be well protected. Besides letting the shareholders control the board of directors, there are several other measures for their protec¬tion but such measures not put to much burden upon the shareholders. The writer also point out that the most effi¬cient organ in controlling the management of the company must be the one within the company and not one from outside. Moreover, this thesis also analyses the existing legal provisions by comparing them with those of foreign countries in order to explore whether existing laws are sufficient and in order to pave the way for amendment in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18175
ISSN: 9745614173
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chattip_Ta_front.pdf351.62 kBAdobe PDFView/Open
Chattip_Ta_ch1.pdf936.43 kBAdobe PDFView/Open
Chattip_Ta_ch2.pdf744.01 kBAdobe PDFView/Open
Chattip_Ta_ch3.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Chattip_Ta_ch4.pdf683.78 kBAdobe PDFView/Open
Chattip_Ta_ch5.pdf354.86 kBAdobe PDFView/Open
Chattip_Ta_back.pdf677.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.