Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18188
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิพนธ์ เทพวัลย์-
dc.contributor.authorจารุณี นะวิโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2012-03-19T14:25:44Z-
dc.date.available2012-03-19T14:25:44Z-
dc.date.issued2521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18188-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและรายระเอียดของสตรีที่มารับบริการวางแผนครอบครัว ณ ศูนย์บริการสาธารสุข เขตกรุงเทพมหานคร กับวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยและยาเม็ดรับประทาน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลจากการวิจัยเรื่องอัตราการคงใช้และประสิทธิภาพของการใช้วิธีการคุมกำเนิดในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2518 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ข้อมูลจากบัตรเวชระเบียน ว.ค. 01 และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ติดตามผลขอรับบริการคุมกำเนิด จากศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 14 ศูนย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2514 – 30 มีนาคม 2518 การวิเคราะห์ใช้ค่าอัตราส่วนร้อย ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์ด้วยวิธีการจำแนกแบบพหุคูณ (Multiple Classification Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าสตรีที่มาขอรับบริการส่วนใหญ่ มีคุณลักษณะดังนี้คือ เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ มีการศึกษาระดับประถมต้น ไม่เคยรับบริการคุมกำเนินจากหน่วยงานใดมาก่อน มีอายุไม่เกิน 34 ปี แต่งงานอยู่กินกับสามีคนปัจจุบันมานานกว่า 5 ปี มีบุตรที่มีชีวิตอยู่เฉลี่ยแล้ว 3 คนมีรายได้รวมกับสามีไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,500 บาท ระยะทางจากบ้านมาถึงศูนย์บริการสาธารณสุขไม่เกิน 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า 15 นาที รายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริการคุมกำเนิดและผลของการคุมกำเนิดพบว่าสตรีที่มารับบริการคุมกำเนิดส่วนใหญ่ ได้ทราบเรื่องราวการคุมกำเนิดมาจาก ญาติ เพื่อน พนักงานเยี่ยมบ้านและพยาบาล ตามลำดับ แต่การตัดสินใจมารับบริการนั้นส่วนใหญ่ตัดสินใจมารับบริการเอง และมีความเชื่อว่าสามีเห็นด้วยกับการคุมกำเนิดของตนอาการแทรกซ้อนของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยที่พบสูง 4 อันดับแรกคือ ปวดท้องน้อยประจำเดือนไม่ปกติ ตกขาว และปวดหลัง เมื่อยตามตัวมากตามลำดับ ส่วนสตรีที่คุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทานพบว่า อาการแทรกซ้อนที่สูง 4 อันดับแรกคือ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนเวียนหัว หงุดหงิดและอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายมากตามลำดับ แต่เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเลิกคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มาขอรับบริการไปครั้งแรกพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของสตรีที่เลิกคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยมีสาเหตุมาจากห่วงหลุด มีอาการปวดต่างๆ (ตัวอย่างเช่น ปวดท้อง ปวดมดลูก ปวดหลัง) ตั้งครรภ์ และต้องการมีบุตรเพิ่ม ส่วนสาเหตุของการเลิกคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทานได้แก่ ตั้งครรภ์ ต้องการมีบุตรเพิ่ม คลื่นไส้อาเจียน และสุขภาพไม่ดี คุณลักษณะของผู้มารับบริการคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะของผู้มารับบริการคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทานพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอายุ จำนวนบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ ความต้องการมีบุตรเพิ่ม สถานภาพของการมีงานทำ รายได้อาการแทรกซ้อนอันเนื่องจากการใช้วิธีคุมกำเนิด ระยะทางและระยะเวลาจากบ้านมาถึงศูนย์บริการสาธารณสุข อนึ่งสำหรับด้านการศึกษานั้นพบว่า สตรีที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่ขอรับบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีใช้มาเปิดรับประทานมากกว่าที่จะขอรับบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีใส่ห่วงอนามัย จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยมีระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 40 พบว่า ระยะเวลาของการสมรสมีผลต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัย กล่าวคือ สตรีที่มีระยะเวลาของการสมรสไม่เกิน 5 ปี มีแนวโน้มที่จะเลิกใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยเร็วกว่าสตรีที่มีระยะเวลาของการสมรสตั้งแต่ 10 ปี และมากกว่าขึ้นไป ขณะที่ปัจจัยต่อไปนี้คือ อายุที่มารับบริการ จำนวนบุตรที่ยังมีชิวิตอยู่ สถานภาพของการมีงานทำรายได้ ระดับการศึกษา ความต้องการมีบุตรเพิ่ม อาการแทรกซ้อนอันเนื่องจากการใช้วิธีคุมกำเนิด ระยะทางระหว่างบ้านกับศูนย์บริการสาธารณสุข พบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยแต่ประการใด จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทานที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า อายุของสตรีที่มารับบริการ ระยะเวลาของการสมรสความต้องการมีบุตรเพิ่ม และอาการแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากใช้วิธีการคุมกำเนิดมีผลต่อระยะเวลาของการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทาน ส่วนปัจจัยต่อไปนี้คือ จำนวนบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน รายได้ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในโรงเรียน ระยะทาง และเวลาระหว่างบ้านกับศูนย์บริการสาธารณสุข พบว่า ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 55 ปัจจัยดังกล่าวไม่มีผลต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทาน เมื่อนำตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว ข้างต้นที่พบว่ามีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทานมาวิเคราะห์ต่อไปด้วยวิธีการจำแนกแบบพหุคูณ โดยใช้รายได้และระดับการศึกษาเป็นตัวแปรร่วม ผลการวิเคราะห์พบว่า ตัวแปรร่วมสองตัวคือรายได้และระดับการศึกษาไม่ได้ช่วยอธิบายค่าความแปรปรวนของระยะเวลาการคงใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดรับประทาน แต่พบว่าความต้องการมีบุตรเพิ่มร่วมกับอายุของสตรีที่มารับบริการ การเกิดอาการแทรกซ้อน และระยะเวลาของการสมรสสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของระยะเวลาการ คงใช้ยาเม็ดรับประทานคุมกำเนิดได้ร้อยละ 8.4-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of This research are to study the characteristics and the information of women coming to receive family planning services at the public health centres in Bangkok Metropolis, and to analyse the factors affecting the duration of the continued use of contraceptive methods by using IUD and taking oral pills. The data used in this study has been obtained from the research data of the Contraceptive Continuation Rates and Use-effectiveness in Bangkok metropolis: 1975, Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Data has also been used from that provided from the patient information cards (family planning 01) and from interviewing women (from 1/1/71-30/3/75) who had already received services from 14 public health centres in Bangkok Metropolis. The data has been analysed by using Percentage, One Way Analysis of Variance and Multiple Classification Analysis. The research has found that most of women who come to receive services are Buddhist, have elementary education, have never applied for services from any other centres, have an age of not more than 34 years are married and have lived together with their present husband for more than 5 years, have as an average 3 children, have a family income of not less than Baht 1,500 per month, live not more than 2 km from public health centres which includes a travel time of less than 15 minutes. The women receiving the contraceptive services have learned about the services from their relatives, friends, public health home-visitors and nurses respectively. But the decision to go to the centres usually is made by women themselves who believe that their husbands would agree with them. The top four side effects of women using IUD are found to be as follows: uterus pain, irregular menstruation, white menstruation and back-pains. Side effects of women taking oral pills are: headache, dizziness and vomiting, moodiness and fatigue respectively. An analysis or the causes of discontinued use of contraceptive methods is focussed on women who have received these services at the first time. It is found that about half of the women stop using IUD because of loss of the IUD, pains (eg. stomachache, uterus pain, back pain), pregnancy, and the need to have more children. While the reasons for women to discontinue taking oral pills are because of pregnancy, the need to have more children, dizziness and vomiting, and poor health. There is no difference in characteristics between women coming for IUD and oral contraceptives with regard to age, number of children, the need for more children, working status, income, side effects, and distance and timing from their home to the public health centres. However, it is found that women with higher education prefer oral gills to the IUD. From an analysis of factors affecting the duration of continued use of the IUD-it is discovered that the duration and confidence of use is related (90% confidence) to the duration of the marriage. That is, women who have been married for not more than 5 years are more readily inclined to discontinue the use of IUD than women who have been married for 10 years and more. The following factors: age, number of children, working status, income, level of education the need for more children, side effects, and distance from home to public health centre, have no influence to the duration of the use of IUD. From an analysis of factors affecting the duration of continued use of contraceptive pills - it is said, that this is dependent (95% confidence) on age, duration of marriage, the .seed for more children, and side effects that have effects on the duration of the use of oral pills. The other factors such as number of children, income, formal education, distance and timing between home and PH centre, have no influence on the duration of the use of oral pills (95% conficence). Taking the above four independent variables, which have signi¬ficant influence on the duration of contined use of oral pills, an using them in analysing by means of multiple classification analysis using income and level of education as covariates, the result of analysis is that both covariates of income and level of education do not seem to give explain the variation in the duration of continued use of oral pills. On the other hand, the need to have more children together with the age, side effects and duration of marriage can explain the variation of the duration of continued use of oral pills at the rate of 8.4%.-
dc.format.extent424499 bytes-
dc.format.extent386716 bytes-
dc.format.extent539148 bytes-
dc.format.extent382573 bytes-
dc.format.extent1237584 bytes-
dc.format.extent437052 bytes-
dc.format.extent520938 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคุมกำเนิดen
dc.subjectสตรีen
dc.subjectการวางแผนครอบครัวen
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการคงใช้วิธีการคุมกำเนิดของสตรี ที่มารับบริการวางแผนครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeFactors affecting the duration of continued use of contraceptive methods by women receiving family planning services in the Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarunee_Na_front.pdf414.55 kBAdobe PDFView/Open
Jarunee_Na_ch1.pdf377.65 kBAdobe PDFView/Open
Jarunee_Na_ch2.pdf526.51 kBAdobe PDFView/Open
Jarunee_Na_ch3.pdf373.61 kBAdobe PDFView/Open
Jarunee_Na_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Jarunee_Na_ch5.pdf426.81 kBAdobe PDFView/Open
Jarunee_Na_back.pdf508.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.