Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18225
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระชัย ปูรณโชติ-
dc.contributor.authorวันทนีย์ งามพุทธแสน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-20T10:55:39Z-
dc.date.available2012-03-20T10:55:39Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18225-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับสถานภาพจัดสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร ครูผู้สอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ การวัดผลและประเมินผล สื่อการเรียน สถานที่ สภาพแวดล้อมทางสังคมและบริการต่างๆ ตลอดจนข้อเสนอแนะที่มีต่อการสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยแบบตรวจคำตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด นำแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.96ไปถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 120 คน และครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 120 คน ที่อยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 40 โรง ซึ่งเลือกโดยวิธีแบบสุ่มธรรมดา (Simple Random Sampling) ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนจากผู้บริหารโรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 95.00 และครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคิดเป็นร้อยละ 98.33 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละมัชฌิมเลขคณิต (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย 1. สภาพการจัดสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ การจัดสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้นักเรียนผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ จัดสอนในชั่วโมงที่จัดไว้สำหรับการสอนซ่อมเสริมโดยเฉพาะ คัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนโดยใช้ผลการเรียนของนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เลือกวิธีสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน มีการประเมินผล เมื่อนักเรียนเรียนครบตามที่กำหนดไว้ ถ้านักเรียนไม่ผ่านการประเมินผลก็ต้องเรียนซ้ำอีก 2. ปัญหาเกี่ยวกับการจัดสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นตรงกันว่าเป็นปัญหาในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาด้านการบริการ การวัดผลและประเมินผล สื่อการเรียน สถานที่ สภาพแวดล้อมทางสังคมและบริการต่างๆ ส่วนปัญหาที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นต่างระดับกันนั้นได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับครูผู้ซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ และนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนครูวิทยาศาสตร์ ในด้านการบริหาร ผู้บริหารโรงเรียนควรให้ความสนใจ สนับสนุนการจัดสอนซ่อมเสริมภายในโรงเรียนอย่างจริงจัง ด้านครูผู้สอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ ครูควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริม เพื่อจะได้มีความสามารถในการสอนซ่อมเสริมตามวัตถุประสงค์ของการสอนซ่อมเสริม ด้านนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ ครูควรพยามชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการจัดสอนซ่อมเสริมและความจำเป็นที่นักเรียนต้องเรียนซ่อมเสริม ด้านการวัดและการประเมินผล ครูผู้สอนซ่อมเสริมควรศึกษากลวิธีการวัดผลประเมินผลเพื่อที่จะได้สามารถนำไปใช้ในการสอนซ่อมเสริม ด้านสื่อการเรียนและสถานที่ ครูควรเตรียมหาสื่อการเรียนให้พร้อมเพรียงในการใช้สอนซ่อมเสริม ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและบริการต่างๆ ทั้งผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนซ่อมเสริมควรอธิบายให้ผู้ปกครองทราบถึงความสำคัญในการเรียนการสอนซ่อมเสริม และขอให้ช่วยส่งเสริมให้กำลังใจแก่นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริม-
dc.description.abstractalternativePurposes : The purposes of this research were to study school admini¬strators' and science teachers' opinions concerning the situation of science remedial teaching, problems-of administration, science remedial teachers, students, measurement and evaluation, instruc¬tional media, places, social environment, and services including suggestions for science remedial teaching at the lower secondary education level in Bangkok Metropolis. Procedure : The nesearcher constructed a set of questionnaires consisting of three parts, namely multiple choice, rating scale and open-ended. The questionnaires which reliability of each one was 0.96 were sent to 120 school administrators and 120 science teachers in 40 government schools in Bangkok metropolis. The 'samples were selected by simple random sampling technique. Fifty five percent of the school administrators and 98.33 percent of the science teachers returned the questionnaires. The data were then statistically analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard devia¬tion and presented in table form with explanation. Findings : 1. The condition of science remedial teaching. The purpose of science remedial teaching was to have the students passing the learning objectives. The remedial teaching offered specifically in the remedial teaching classes. Students' grades were used as criteria for entering the remedial teaching courses. The appropriate teaching methods were chosen to teach according to each groups' abilities. The students were evaluated when the remedial teaching course was over. If they failed in the evaluation, they had to repeat this learning again. 2. Problems of science remedial teaching. Both the school administrators and the science teachers had the same opinions that the problems of science remedial teaching at moderate level were the administration, measurement and evalua¬tion, instructional media, places, social environment and services. But the differing opinions wire the problems concerning science remedial teachers and students. 3. The recommendations about science remedial teaching were as follows : Administration : The school administrators should support and should be interested in remedial teaching within their schools seriously. The science remedial teachers : The science teachers should be trained about remedial teaching for being able to teach according to the objectives of remedial teaching. The students : The teachers should explain the purpose and the necessity in remedial courses to their students. Measurement and evaluation : The remedial teachers should study about the measurement and evaluation techniques in order to be able to apply in the remedial teaching classes. Instructional media and places : The instructional media should be well-prepared for the remedial teaching classes. Social environment and services : Both the school administrators and teachers should explain to the parents about the important of remedial teaching and ask for the parents to encourage the students who had to be in the remedial courses.-
dc.format.extent343736 bytes-
dc.format.extent326117 bytes-
dc.format.extent986747 bytes-
dc.format.extent282107 bytes-
dc.format.extent801060 bytes-
dc.format.extent520941 bytes-
dc.format.extent553936 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสอนซ่อมเสริมen
dc.subjectวิทยาศาสตร์ การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.titleความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการจัดสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeOpinions of school administrators and science teachers concerning science remedial teaching at the lower secondary education level in Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wantaney_Ng_front.pdf335.68 kBAdobe PDFView/Open
Wantaney_Ng_ch1.pdf318.47 kBAdobe PDFView/Open
Wantaney_Ng_ch2.pdf963.62 kBAdobe PDFView/Open
Wantaney_Ng_ch3.pdf275.5 kBAdobe PDFView/Open
Wantaney_Ng_ch4.pdf782.29 kBAdobe PDFView/Open
Wantaney_Ng_ch5.pdf508.73 kBAdobe PDFView/Open
Wantaney_Ng_back.pdf540.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.