Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1822
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชมพูนุช โสภาจารีย์ | - |
dc.contributor.author | เยาวเรศ เอื้ออารีเลิศ, 2507- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-16T04:40:26Z | - |
dc.date.available | 2006-08-16T04:40:26Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741710585 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1822 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมในองค์การ ความคล้ายคลึงในเจตคติต่องาน กับการแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ ตามการ รับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลศูนย์ และศึกษากลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายการแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในหอผู้ป่วยใน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิจำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามความยุติธรรมในองค์การ แบบสอบถามความคล้ายคลึงในเจตคติต่องาน และแบบสอบถามการแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า มีค่าเท่ากับ .91 .71 และ .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนการแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ ตามการ รับรู้ของพยาบาลประจำการโดยรวม อยู่ในระดับสูง (X = 131.57, S.D. = 17.32) 2. ความยุติธรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับการแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .817 p < .001) ความคล้ายคลึงในเจตคติต่องาน ความยุติธรรมด้านกระบวนการและความยุติธรรมด้านผลตอบแทน มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r = .654 p < .001, .647 p < .001 และ .348 p < .001 ตามลำดับ) 3. กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความยุติธรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ความคล้ายคลึงในเจตคติต่องาน และความยุติธรรมด้านกระบวนการ โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 72 (R2 = 0.72, F = 218.42 p< .001) โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ การแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ = .584 ความยุติธรรมด้านการ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน + .238 ความคล้ายคลึงในเจตคติต่องาน + .116 ความยุติธรรมด้านกระบวนการ ผลงานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความยุติธรรมด้านผลตอบแทน ความยุติธรรมด้านกระบวนการ ความยุติธรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และความคล้ายคลึงในเจตคติต่องาน มีความสำคัญต่อการ แลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ และผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางประกอบการบริหารงาน ของผู้บริหารการพยาบาล ในองค์การพยาบาลต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to examine the relationships between organizational justice, job attitude similarity and leader-member exchange and to determine the predictors of leader-member exchange as perceived by staff nurses working in regional hospital and medical centers. Three - hundreds and forty two professional nurses working in inpatient department were selected by stratified random sampling. Three research instruments including organizational justice scale, job attitude similarity scale, and leader-member exchange scale were content validated and tested for reliability from which the Cronbach's alpha were .91, .71, and .96, respectively. Statistical techniques used were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation and multiple regression analysis. The major findings were as follows: 1. The mean score of leader-member exchange as perceived professional nurses was high. (X = 131.57, S.D. = 17.32) 2. Interactional justice as positively significantly (p < .001) related to leader-member exchange (r = .817). In addition, job attitude similarity, procedure justice, and distributive justice were also positively significantly (p < .001) associated with leader-member exchange (r = .654, .647, and .348, respectively). 3. Interactional justice, job attitude similarity, and procedure justice were found to contribute significantly to the prediction of leader-member exchange. Together, these predictors accounted for 72 percent of the variance (R2 = 0.72). The equation derived from regression analysis showed as follows: Leader-member exchange = .584 Interactional justice + .238 job attitude similarity + .116 procedure justice (standardized score). The results from this study indicate the important contribution that distributive justice, procedure justice, interactional justice, and job attitude similarity would explain leader-member exchange. It can also used as guideline for administration in nursing organization. | en |
dc.format.extent | 1633033 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พยาบาล | en |
dc.subject | การจัดองค์การ | en |
dc.subject | ความยุติธรรม | en |
dc.subject | พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย | en |
dc.subject | สัมพันธภาพในงาน | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมในองค์การ ความคล้ายคลึงในเจตคติต่องานกับการเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลศูนย์ | en |
dc.title.alternative | Relationships between organizational justice, job attitude similarity and leader-member exchange as perceived by staff nurses regional hospital and medical centers | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การบริหารการพยาบาล | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chompunut.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yaowared.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.